พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในคดีเดิมแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมรับมรดกของม. คือที่นาตาม ส.ค.1 และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่นาแปลงนี้จำเลยให้การว่า ม. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จึงมีประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์ครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลเชื่อ ว่า ม. ได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้จำเลย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองมาย่อมได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้ที่ดินพิพาทโดยสัญญาประนีประนอมตามเอกสารหมาย จ.8(ตรงกับหมาย จ.14 ในคดีก่อน)ในคดีนี้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิ์ครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อนซึ่งศาลต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์โดยอาศัยเอกสารดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยก็เป็นคู่ความรายเดียวกัน คดีก่อนกับคดีนี้ก็มีประเด็นข้อพิพาทโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาว่าสัญญาเป็นโมฆะแล้ว ฟ้องใหม่เรียกเงินมัดจำจากสัญญานั้น ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีเดิม
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเบิกความเท็จ: การฟ้องร้องซ้ำในข้อหาเดิม แม้ต่างคราวกัน ย่อมไม่รับฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาเบิกความเท็จในคดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ โดย ข้อความที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จในคดีนี้ เป็นข้อความในเรื่องเดียวกันมีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกับที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยในคดีก่อน แม้การเบิกความดังกล่าวเป็นคนละคราวกันแต่ ข้อความที่เบิกความมีมูลเหตุอันเดียวกันและเป็นการกล่าวตาม ครรลอง ของเรื่องเท่านั้น การที่โจทก์นำมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จซ้ำ อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยย่อมถูก ฟ้องร้องไม่มีวันสิ้นสุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเบิกความเท็จ: การฟ้องซ้ำในข้อหาเดิม แม้ต่างคราว หากมีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาเบิกความเท็จในคดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้ โดย ข้อความที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จในคดีนี้ เป็นข้อความในเรื่องเดียวกันมีเนื้อหาสาระอย่างเดียวกับที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยในคดีก่อน แม้การเบิกความดังกล่าวเป็นคนละคราวกันแต่ ข้อความที่เบิกความมีมูลเหตุอันเดียวกันและเป็นการกล่าวตาม ครรลอง ของเรื่องเท่านั้น การที่โจทก์นำมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จซ้ำ อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะมิฉะนั้นแล้วจำเลยย่อมถูก ฟ้องร้องไม่มีวันสิ้นสุด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่บนที่ดินแบ่งแยก: ไม่เป็นฟ้องซ้ำหากเป็นคนละแปลง แม้เคยมีคดีขับไล่บนที่ดินเดิม
ที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 ได้มีการแบ่งแยกในนามเดิมออกไป 12 แปลง คงเหลือเนื้อที่ 28 ตารางวา คดีก่อน ส.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่า จำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ต่อมา ส. ได้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 127496 เนื้อที่ 50 ตารางวา ซึ่งเป็นโฉนดใหม่ที่แบ่งแยกออกมาดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองขณะที่ ส. ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง ที่ดินโฉนดเลขที่ 44558 กับโฉนดเลขที่ 127496 เป็นที่ดินคนละแปลงกันอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 127496 มาจาก ส. และยื่นฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีเลิกจ้าง: การเปลี่ยนเหตุแห่งการเลิกจ้างไม่ทำให้คดีใหม่แตกต่างจากคดีเดิม
ฟ้องโจทก์คดีนี้ และคดีก่อนมีมูลมาจากการเลิกจ้างตามคำสั่งเลิกจ้างฉบับเดียวกัน เป็นแต่เพียงโจทก์กล่าวอ้างในฟ้องคดีก่อนว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการเลิกจ้างที่ถูกปรักปรำและถูกบีบคั้นของจำเลย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างอย่างในคดีก่อนหรือคดีนี้ก็ตาม คดีทั้งสองก็มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างได้หรือไม่เมื่อคดีก่อนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษายกฟ้องแล้ว การฟ้องคดีใหม่ด้วยเหตุเดิม แม้เรียกค่าเสียหายต่างกัน ก็เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการเลิกจ้าง พิพากษายกฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟ ฯ เช่นเดียวกับคดีก่อนอันเป็นการผิดสัญญาจ้าง ดังนี้ เหตุที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้จึงเป็นเหตุเดียวกับคดีก่อน เพียงแต่อ้างเหตุแห่งการเรียกค่าเสียหายต่างกันเท่านั้น ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษายกฟ้องแล้ว การฟ้องคดีใหม่ด้วยเหตุเดิม แม้เรียกค่าเสียหายต่างกัน ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นการผิดสัญญาจ้างและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการเลิกจ้าง พิพากษายกฟ้องคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าจำเลยให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาการรถไฟ ฯ เช่นเดียวกับคดีก่อนอันเป็นการผิดสัญญาจ้าง ดังนี้ เหตุที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้จึงเป็นเหตุเดียวกับคดีก่อน เพียงแต่อ้างเหตุแห่งการเรียกค่าเสียหายต่างกันเท่านั้น ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคดีเดิมที่จำเลยเคยเป็นจำเลยร่วม การพิจารณาคดีอาญา
จำเลยกับพวกถูกฟ้องในคดีก่อนว่ากระทำความผิดที่โจทก์ฟ้อง ในคดีนี้ แต่เมื่อสืบพยานโจทก์ดังกล่าวไปแล้วศาลชั้นต้นสั่งให้แยกฟ้องจำเลยซึ่งให้การปฏิเสธและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ กรณี จึงถือได้ว่าเป็นการพิจารณาและสืบพยานโดยเปิดเผยต่อหน้า จำเลยแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องพยานที่ได้สืบไว้แล้วอีกและให้นำสำนวนคดีเดิมมารวมกับคดีนี้เพื่อจะได้พิจารณาประกอบกับคดีนี้ จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวศาลหยิบยกเอาคำเบิกความของพยานในคดีเดิมขึ้นวินิจฉัย ประกอบพยานหลักฐานอื่น ๆ ของโจทก์ในคดีนี้แล้วฟังลงโทษจำเลยได้