พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN และ LION MAN เพื่อตัดสินว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN (ไลท์ แมน) ของโจทก์ไว้ 4 แบบ ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ตัวอักษรขนาดต่างกันและลักษณะของตัวอักษรก็ต่างกันด้วยตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่ตามแบบที่ 3 เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่าง ตามแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN ส่วนตามแบบที่ 4 นั้นเป็นรูปสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIHGT MAN อยู่ด้านบนคำว่า FOR WORK AND PLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างใช้กับกางเกงยีน ส่วนเครื่องหมายการค้า LION MAN (ไลออน แมน) ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 5-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3 กับแบบที่ 9 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่า ไลท์ แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษร ไลออน แมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์ แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้นก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่เฉพาะและมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่าไลท์ กับคำว่า ไลออน นั้นมีความหมายแตกต่างกันมาก ทั้งคำว่า ไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียวส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้ว เห็นได้ชัดว่าลักษณะของตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมาก เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความคล้ายคลึงจนทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่น สีพ่นรถ ภาชนะใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมันอยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลงของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาว รูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกัน ด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกัน ขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝากระป๋องก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้ จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้" กับ "สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน "TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงจนทำให้สาธารณชนสับสน จำเป็นต้องพิจารณาภาพรวมและองค์ประกอบทั้งหมด
ในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ ศาลฎีกาได้พิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า LIGHTMAN ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า LAWMAN ของจำเลยไม่มีลักษณะคล้ายกันจนถึงกับทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด ดังนั้นโจทก์จึงจะยกขึ้นกล่าวอ้างในคดีนี้อีกว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันหาได้ไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะใช้คำว่า LAWMAN เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ยื่นคำขอใช้ได้ตามกฎหมาย เครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากจะมีอักษรโรมันคำว่าLAWMAN ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมีอักษรโรมันว่า ANGEL ขนาดโต เท่ากับคำว่าLAWMAN และมีรูปประดิษฐ์ดอกไม้กับหมวกอยู่ระหว่างอักษรโรมันสองคำดังกล่าวทั้งหมดอยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันว่า LIGHTMAN กับคนสวมหมวก เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าแตก ต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันได้ก็สามารถเห็นความแตก ต่างกันได้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนเครื่องหมายการค้าที่ทำให้ประชาชนหลงผิด แม้มีรายละเอียดต่างกัน
เครื่องหมายการค้าคำว่า'VIXOL'ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า'VITOL'ของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันอย่างเดียวไม่มีรูปหรือลวดลายประกอบการที่จำเลยนำเอารูปจิงโจ้อยู่ในวงกลมมาประกอบเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ภาชนะบรรจุสินค้าหาใช่สาระสำคัญในการนำมาประกอบการวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่เพราะรูปภาพดังกล่าวมิได้จดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมี2พยางค์เหมือนกันตัวอักษร5ตัวแท่ากันและเหมือนกันถึง4ตัวต่างกันเฉพาะตัวกลางเท่านั้นและแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดส่วนของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกอีก4ตัวเป็นตัวพิมพ์เล็กแต่เมื่ออ่านออกเสียงมีสำเนียงใกล้เคียงกันทั้งที่ภาชนะบรรจุสินค้าของจำเลยใช้ภาษาไทยว่า'วิตอล'ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศย่อมอาจจะฟังหรือเรียกขานเป็นสำเนียงเดียวกันได้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้ประชาชนหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงจนทำให้สับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลายและคำว่าหัวม้าลายกับอักษรโรมันว่าHEADZEBRAส่วนของจำเลยที่1เป็นรูปม้าลายทั้งตัวยืนอยู่ในวงกลมและคำว่าตราม้าลายและอักษรโรมันว่าZEBRABRANDสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่1คือรูปม้าลายประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกว่าตราม้าลายเมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้ อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยที่1จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่13ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143-1144/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้เจ้าของเครื่องหมายเดิมยินยอมก่อนหน้า ก็ไม่อาจจดทะเบียนได้
เดิมโจทก์และ ส. ต่างเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ต่อมาโจทก์และส. ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์สิน โดย ส. ยินยอมให้โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ดังกล่าวแต่ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขอจดทะเบียนนั้น ส. ได้โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ให้แก่บริษัทจำเลยซึ่งมี ส. เป็นกรรมการแล้วบริษัทจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปน้ำเต้าคู่ของบริษัทจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 วรรคแรกแล้วนายทะเบียนมี สิทธิที่จะไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เพราะนอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเดียวกันหรือเกือบเหมือนกันดังเช่นที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 แล้ว มาตรา 16 วรรคแรกมีเจตนารมณ์ต้องการคุ้มครองประโยชน์ของสาธารณชนเมื่อเครื่องหมายการค้าใดเข้าลักษณะที่บัญญัติไว้แล้วห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียนโดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ก่อนมีสิทธิคัดค้านการจดทะเบียนของโจทก์หรือไม่รวมทั้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือผู้รับโอนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน: การพิจารณาความแตกต่างของลักษณะเครื่องหมายและการเน้นจุดเด่นของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันล้วนๆ ส่วนของจำเลยมีอักษรไทยปนอยู่กับอักษรโรมัน ทั้งคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็แตกต่างกันเกือบทั้งหมดมีตรงกันเฉพาะคำว่า "DEOCOLOGNE"เท่านั้น แต่ลักษณะการเขียนและความใหญ่ของตัวอักษรก็แตกต่างกันมากสำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ตัวพิมพ์เล็ก(DEOCOLOGNE) เขียนตัวอักษรโตมากและเล่นตัวอักษรด้วยแสดงถึงการเน้นตรงคำนี้ ส่วนของจำเลยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่(DEOCOLOGNE) และตัวอักษรก็ไม่โต ทั้งยังไม่ได้เล่นตัวอักษรซึ่งแสดงถึงไม่ได้มุ่งที่จะเน้นถึงคำนี้เลย แต่ไปเขียนตัวอักษรโตและเล่นตัวอักษรเน้นตรงคำว่า "ARCHE" คำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันจะชี้ให้เห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์อยู่ตรงคำว่า "DEOCOLOGNE" แต่ของจำเลยอยู่ตรงคำว่า ARCHE' ทั้งอักษรโรมันและอักษรไทยเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่แสดงสำหรับสินค้าสบู่ก็ระบุว่าทำในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนของจำเลยหาปรากฏข้อความเช่นนั้นไม่ ไม่อาจทำให้สาธารณชนหลงผิดไปในลักษณะของเครื่องหมายการค้า หรือลวงผู้ซื้อในแหล่งกำเนิด หรือทำให้เกิดสับสนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อใช้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนคือ 'ORAVIT-M' ออกสำเนียงว่า 'โอราวิท-เอ็ม'กับเครื่องหมายการค้าโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้คือ 'AROVIT' ออกสำเนียงว่า 'อะโรวิท' นั้นไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน.เพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีสำเนียงเพียง 3 พยางค์และขึ้นต้นด้วยคำว่า 'อะ' ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนมีสำเนียงถึง 4 พยางค์ และขึ้นต้นด้วยคำว่า 'โอ' ไม่ทำให้ผู้เรียกขานสับสน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานการ์ตูน: การคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ และการพิจารณาความคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้า
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อเดียวว่าภาพการ์ตูนที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เหมือนหรือคล้ายกับภาพการ์ตูนสนูปปี้ของโจทก์หรือไม่ หากเหมือนหรือคล้ายกันจะเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์หรือไม่ โดยโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานต่อไป เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่นๆ แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานว่าสิทธิของโจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ฯลฯ ลิขสิทธิในศิลปกรรมจะมีขึ้นได้ก็ต้องเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นในแผนกศิลป เช่น รูปศิลป ดังนี้ รูปการ์ตูนสุนัขของโจทก์ซึ่งเป็นเพียงรูปคล้ายสุนัขธรรมดาทั่วๆ ไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งการขีดเขียนอาจเหมือนหรือคล้ายกันได้เป็นธรรมดา จึงไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ฯลฯ ลิขสิทธิในศิลปกรรมจะมีขึ้นได้ก็ต้องเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นในแผนกศิลป เช่น รูปศิลป ดังนี้ รูปการ์ตูนสุนัขของโจทก์ซึ่งเป็นเพียงรูปคล้ายสุนัขธรรมดาทั่วๆ ไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งการขีดเขียนอาจเหมือนหรือคล้ายกันได้เป็นธรรมดา จึงไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อร้านคล้ายคลึงกันทำให้สับสนและเกิดความเสียหายต่อธุรกิจเดิม ผู้กระทำผิดต้องรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลใช้ชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจมพลาซ่า ต่อมาจำเลยตั้งร้านค้าชื่อว่า เจ.พลาซ่า และต่างก็จำหน่ายเพชรพลอยและเครื่องประดับซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันชื่อทั้งสองดังกล่าวคล้ายคลึงกัน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ว่า "เจ" เป็นชื่อย่อของ "เจม" และร้านจำเลยก็คือห้างของโจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อห้างโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ การขายสินค้าลดลงและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาว่าห้างโจทก์มีเพียงแห่งเดียว การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 18 และมาตรา 421 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยระงับกานใช้ชื่อร้านดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ขายสินค้าลดลงและค่าโฆษณาให้ลูกค้าทราบว่าห้างโจทก์มีเพียงแห่งเดียว เป็นค่าเสียหายเกิดจากการใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยโดยตรง จำเลยจึงต้องรับผิด
ค่าเสียหายที่โจทก์ขายสินค้าลดลงและค่าโฆษณาให้ลูกค้าทราบว่าห้างโจทก์มีเพียงแห่งเดียว เป็นค่าเสียหายเกิดจากการใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยโดยตรง จำเลยจึงต้องรับผิด