คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และใช้ทางโดยความยินยอม
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ20 ปีแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมา ถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภาระจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลย ฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปี ย่อมถือได้ว่าภาระจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช้ภาระจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงไม่เป็นทางภาระจำยอมอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมในการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นเข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ร่วมกัน
จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุญาตหรือยินยอมให้จำเลยที่ 1 เอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไปซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ทราบดีแล้วว่าโฉนดที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายและยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจให้คำอนุญาตหรือยินยอมได้ เมื่อจำเลยที่ 1 เอาโฉนดที่ดินของผู้เสียหายไปด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7) วรรคหนึ่งและมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมภรรยาในหนี้สิน: การร่วมรับผิดในหนี้จากการลงลายมือชื่อให้ความยินยอม
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอม โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1คู่สมรสของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3ได้ร่วมรับรู้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามสัญญากู้เงิน และจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี แม้ชั่วคราวและเด็กเต็มใจไปด้วย ก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317
องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 คือการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล คำว่า "พราก"หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกจากความปกครองดูแล แม้จะชักชวนแนะนำเด็กให้ไปกับผู้กระทำโดยมิได้หลอกลวงและเด็กเต็มใจไปด้วย ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้
จำเลยมีอาชีพรับจ้างโดยขับรถรับจ้างรับส่งผู้โดยสารทั่วไปได้รับส่งเด็กหญิงทั้งสาม พาไปเลี้ยงไอศกรีม พาไปเที่ยวแล้วจึงส่งกลับบ้านเป็นการชั่วคราวก็ตาม แต่เมื่อไปถึงบ้านของเด็กหญิง เด็กหญิงจะลงจากรถ จำเลยก็ชักชวนให้ไปกับจำเลยจนกระทั่งล่วงเลยเวลากลับบ้านตามปกติ รุ่งขึ้นก็ชักชวนเด็กหญิงดังกล่าวไปกับจำเลยอีกโดยสัญญาว่าจะพาไปเลี้ยงไอศกรีม ทั้งยังเล่าเรื่องร่วมเพศให้เด็กหญิงฟังและนัดหมายจะพาไปเรียนว่ายน้ำและสอนขับรถในวันต่อมา ซึ่งในวันดังกล่าวจำเลยได้พาเด็กหญิงไปกินไอศกรีม โดยจำเลยเป็นผู้จ่ายเงิน นอกจากนี้จำเลยยังให้เงินและเสี้ยมสอนให้เด็กหญิงทั้งสามโกหกบิดามารดาในการกลับบ้านผิดปกติและล่วงเลยเวลา เด็กหญิงทั้งสามอายุเพียง 10 ปี ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา การกระทำของจำเลยแม้จะพรากไปเพียงชั่วคราว แต่ก็มิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ทั้งไม่ปรากฏว่าการพาไปดังกล่าวเพราะเหตุสมควรประการใด จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม เพราะลำพังการเล่าเรื่องลามกอนาจารยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดตามตัวบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคสามโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่งด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง ศาลก็ปรับบทลงโทษตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คแก้ไขวันที่สั่งจ่ายโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้เช็คเป็นโมฆะ และไม่มีผลผูกพันทางหนี้
หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทจำเลยก็น่าจะเขียนวันที่สั่งจ่ายใหม่ด้วยลายมือของตนเองเหมือนกันที่ได้กรอกข้อความลงในรายการตามเช็คต่อหน้าโจทก์ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องใช้ตราประทับลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คในเมื่อวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกจำเลยก็เขียนด้วยลายมือของตนเองและเมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อที่กำกับไว้ใต้ตราประทับกับลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกและประทับตราลงวันที่ใหม่เมื่อเช็คพิพาทมีแก้ไขวันที่สั่งจ่ายโดยไม่ปรากฏตัวผู้แก้ไขและการแก้ไขดังกล่าวถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยจำเลยผู้ต้องรับผิดตามเช็คมิได้ยินยอมด้วยเช็คดังกล่าวจึงเป็นอันเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเมื่อเช็คอันเป็นมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คได้จำเลยจึงมิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา9ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมายต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาตามกฎหมาย
ป.พ.พ.มาตรา 1548 วรรคแรก บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ.(ฉบับที่ 10)พ.ศ.2533 มาตรา 32 โดยข้อความเดิมได้บัญญัติถึงการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะกระทำได้ต่อเมื่อเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมว่าการที่บิดาจะจดเบียนบุตรนอกกฎหมายให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะกระทำได้ต่อเมื่อทั้งเด็กและมารดาเด็กให้ความยินยอม มิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาดังบัญญัติไว้เดิม นอกจากนี้ป.พ.พ.มาตรา 1548 ได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ไว้ในวรรคสามและวรรคสี่ โดยวรรคสามว่า "ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ไช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" และวรรคสี่ว่า "เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้" อันเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นชัดเจนว่า ตามมาตรา 1548 วรรคแรก ประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัว จึงได้บัญญัติทางแก้ไขในกรณีเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ดังกล่าวมาแล้ว โจทก์ที่ 2 ซึ่งแม้เป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 3 จึงไม่อาจให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่ 3 ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้โจทก์ที่ 2 ทำการแทนโจทก์ที่ 3 ในกรณีดังกล่าวได้ ดังนั้น กรณีที่โจทก์ที่ 3ต้องให้ความยินยอมในการที่โจทก์ที่ 1 จะจดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1548 วรรคแรก จึงเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 3 ต้องกระทำด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต้องได้รับความยินยอมจากเด็กโดยตรง ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่สามารถให้ความยินยอมแทนได้
บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเด็ก การให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัว ผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนเด็กไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย: ต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาโดยตรง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548วรรคแรกบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่าบิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็กมิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้นดังข้อความที่บัญญัติไว้เดิมแสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมนอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548ยังได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมไว้ว่าการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรจะกระทำได้ต้องมีคำพิพากษาของศาลและให้บิดานำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้อันเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นชัดเจนว่าประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัวดังนั้นที่โจทก์ทั้งสามฎีกาอ้างว่าโจทก์ที่2เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ที่3โจทก์ที่2จึงให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่3ได้นั้นจึงฟังไม่ขึ้นเพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้โจทก์ที่2ทำการแทนโจทก์ที่3ในกรณีดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมายต้องได้รับความยินยอมจากเด็กด้วยตนเอง ผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนไม่ได้
บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเด็กการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนเด็กไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนกำแพงวัดต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าอาวาส สัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หากจำเลยไม่รื้อถอนตามสัญญาถือเป็นผิดสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน 40 วัน นับแต่วันทำหนังสือนั้น เมื่อตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันบุคคลบุคคลธรรมดา กำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัดซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้ หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอม จำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้ การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2(จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
of 57