คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-388/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ทำให้หนี้ระงับ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดยังคงต้องรับผิดชอบหนี้ของห้าง
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ส่วนการตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีนั้น ก็มีผลเพียงให้ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการต่างๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่จำกัดจำนวนตามมาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายหากเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เดิม และการกระทำของหุ้นส่วนผู้จัดการถือเป็นความผิดของนิติบุคคล
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อ 3 กล่าวอ้างในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 2 ขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 กลับกล่าวระบุเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยคัดลอกถ้อยคำต่างๆ ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชนิดคำต่อคำมาไว้ในฎีกา ซึ่งข้ออุทธรณ์ดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยไว้แล้วทั้งสิ้น กรณีจึงถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใดๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ส่วนการที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 ในการแต่งตั้งทนายความก็เป็นเรื่องที่มิได้มีกำหนดเป็นข้อจำกัดไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนจึงไม่อาจลบล้างผลของการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดทางอาญาร่วมกับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแรงงานจากการกระทำผิดของลูกจ้าง และความรับผิดร่วมของลูกจ้างอีกคน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าบกพร่องต่อหน้าที่ในระหว่างทำงานให้โจทก์และก่อความเสียหายแก่โจทก์ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งร่วมกับจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะที่ทำงานตามสัญญาจ้างให้โจทก์อันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทหลักทรัพย์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว
กองทุนรวมเป็นการออกหน่วยลงทุนของแต่ละโครงการจำหน่ายแก่ประชาชนเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนนั้นไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อหากำไรมาแบ่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน การจัดการกองทุนรวมเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง การขอจัดตั้งกองทุนรวมจึงต้องกระทำโดยบริษัทหลักทรัพย์ โจทก์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ทุนทวี 2 และกองทุนไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ก้าวหน้าแล้ว โจทก์ได้จัดให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทั้งสอง ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 121 และ 122 และได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสองเป็นกองทุนรวมตามเงื่อนไขในมาตรา 124 วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนในการติดตามดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติจัดการกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายโดยเคร่งครัด และมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทหลักทรัพย์ อันเป็นการใช้สิทธิควบคุมบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเท่านั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้มีอำนาจในการจัดการกองทุนรวม ส่วนการจดทะเบียนกองทรัพย์สินของทุนรวมตามมาตรา 124 วรรคสอง ที่มีผลทำให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคลนั้น เป็นเพียงการแยกหน่วยลงทุนซึ่งเป็นทรัพย์สินของแต่ละกองทุนรวมออกจากกันเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปหาผลประโยชน์ตามโครงการจัดการกองทุนรวม ผลประโยชน์ที่ได้มาจากการจัดการกองทุนรวมใดก็ตกเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมนั้น และเป็นการแยกกองทรัพย์สินของกองทุนรวมซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวมต่างหากจากกองทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดการ เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเท่านั้น การจัดการและการรับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมยังเป็นอำนาจของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามหนังสือข้อสนเทศเสนอขายหุ้นกู้ต่อกองทุนรวมทั้งสองเป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อสินค้าสูญหายหลังส่งมอบให้ท่าเรือ: สิ้นสุดเมื่อใด?
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยเป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการออกใบตราส่งเท่านั้น แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นตัวการร่วมกันขนส่งสินค้าโดยมิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการออกใบตราส่ง แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ตัวการร่วมขนส่งสินค้ากับจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการวินิจฉัยหรือพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ว่าคดีรับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ในคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น
จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่งอื่นซึ่งเป็นผู้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ได้ขนส่งตู้สินค้าที่บรรจุสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางและส่งมอบตู้สินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยชอบแล้ว หน้าที่ดูแลสินค้าของจำเลยที่ 2 ย่อมสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 40 (3) จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชอบในการสูญหายของสินค้าที่เกิดขึ้นในขณะที่สินค้าอยู่ในความอารักขาของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 1,500,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2534 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายและดอกเบี้ยคิดคำนวณถึงวันฟ้องรวมเป็นเงิน 4,429,810.90 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จทุนทรัพย์เฉพาะส่วนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงมีเพียง 2,886,660.22 บาท โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 72,167.50 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องระบุข้อตกลงครอบคลุมทุกค่าเสียหาย มิฉะนั้นหนี้ละเมิดยังไม่ระงับ นายจ้างต้องรับผิด
บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า "วันที่ 23 ธันวาคม 2539 ได้มี ป. ผู้ขับขี่รถยนต์เก๋ง และ ว. ผู้ขับขี่รถยนต์กระบะ มาพบเพื่อเจรจาค่าเสียหาย ที่ตกลงกันได้ คือ ป. ได้เรียกร้องให้ ว. ซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายให้อยู่ในสภาพเดิม และ ว. ยอมตกลงตามข้อเสนอทุกประการ" เอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความระบุถึงค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายรวมทั้งมิได้ระบุถึงค่าเสียหายอื่นๆ ที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับชดใช้จากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏข้อความให้เห็นด้วยว่าคู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น หรือข้อความว่าโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะฟ้องร้องจำเลยทั้งสองทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไป บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทละเมิด และผลกระทบต่อความรับผิดของนายจ้าง
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับตัวแทนของโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของโจทก์ไปทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่จำเป็นจะต้องเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ข้อเสนอของจำเลยที่ 1 ในการซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์ เมื่อตัวแทนของโจทก์ได้ตกลงยินยอมตามนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ยอมรับค่าเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างใด ๆ ในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 และความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย เพราะไม่มีมูลหนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับลูกจ้างในอันที่นายจ้างจะต้องรับผิดต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึงการรับฟังพยานหลักฐานทางเอกสาร
ป.วิ.พ. มาตรา 93 บัญญัติให้รับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานแต่ก็มีข้อยกเว้นให้รับฟังสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับได้ ตามอนุมาตรา (1) ถึง (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจกท์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้อง และสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบส่งของอยู่ที่จำเลย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับได้ โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 (นางประไพ) เป็นสามีภริยากันและเป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกู้เงินจากธนาคารมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและเป็นทุนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำชื่อของตนไประคนเป็นเชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่แรกเริ่มจัดตั้งห้างจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1082
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ดังนั้น บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1054 จึงบัญญัติให้รับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญเสมือนเป็นหุ้นส่วนคือต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนหนี้ ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภท คือผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งมีความรับผิดไม่เท่ากันจึงไม่อาจนำเอามาตรา 1054 มาใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ เพราะไม่อาจกำหนดได้ว่าจะต้องรับผิดเสมือนเป็นหุ้นส่วนประเภทใด จึงได้บัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อบังคับใช้กับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไว้โดยเฉพาะในมาตรา 1082 โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่ยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 4 (นางประหยัด) ไม่ใช่หุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 แม้จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้าง จำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดและการใช้ชื่อร่วมในห้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบสั่งของชั่วคราว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยทั้งสี่มิได้ร่วมกันสั่งซื้อสินค้าและ รับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบสั่งของชั่วคราวและสำเนา ใบสั่งของชั่วคราวดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบสั่งของชั่วคราว ดังกล่าวอยู่ที่จำเลยทั้งสี่ จึงเป็นกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับฟังสำเนาเอกสารใบส่งของชั่วคราวแทนต้นฉบับเอกสารดังกล่าวได้ โดยโจทก์ไม่ต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นสามีภริยา และเป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คนในห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำชื่อของตนไประคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่แรกเริ่มจัดตั้งห้างจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกันกู้เงินธนาคารมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันและเป็นทุนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1082
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ดังนั้นบุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1054 จึงบัญญัติให้รับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญเสมือนเป็นหุ้นส่วน คือต้องรับผิดโดยไม่มีจำกัดจำนวนหนี้ ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภทคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งมีความผิดไม่เท่ากัน จึงไม่อาจนำมาตรา 1054 มาใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ เพราะไม่อาจกำหนดได้ว่าจะต้องรับผิดเสมือนเป็นหุ้นส่วนประเภทใด จึงได้บัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อบังคับใช้กับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไว้โดยเฉพาะในมาตรา 1082 โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่ยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็น ชื่อห้างรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 4 ไม่ใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 แม้จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613-2614/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการสั่งจ่ายเช็คแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.เช็ค
ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจ ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย
of 498