คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: การคำนวณเงินบำเหน็จ
จำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่โจทก์เป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ให้บทนิยาม คำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ว่า'หมายความว่า ค่าจ้างที่โรงงานน้ำตาลจ่ายให้แก่ พนักงานและคนงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่ไม่รวมถึง เงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงหรือประโยชน์ อย่างอื่น' ค่าครองชีพจึงเข้าลักษณะเป็นค่าจ้าง หาใช่ประโยชน์อย่างอื่นอันจะไม่ต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จตามข้อบังคับบริษัท
จำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ให้บทนิยาม คำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ว่า'หมายความว่า ค่าจ้างที่โรงงานน้ำตาลจ่ายให้แก่ พนักงานและคนงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่ไม่รวมถึง เงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงหรือประโยชน์ อย่างอื่น' ค่าครองชีพจึงเข้าลักษณะเป็นค่าจ้างหาใช่ประโยชน์อย่างอื่นอันจะไม่ต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ: เศษปีถึง 6 เดือนนับเป็น 1 ปี
ขณะลาออกโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานรวม 4 ปี 9 เดือน 9 วันจำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ลาออกหากมีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปีแล้วให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ และวิธีคำนวณระยะเวลาปฏิบัติงานตามข้อบังคับกำหนดว่า เศษของปีถ้าถึงหกเดือนให้นับเป็น 1 ปี ดังนี้ ถือว่าโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปี และมีสิทธิได้รับบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาทำงานเพื่อรับเงินบำเหน็จ เศษของปีเกิน 6 เดือนนับเป็น 1 ปี
ขณะลาออกโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานรวม 4 ปี 9 เดือน 9 วัน จำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ลาออกหากมีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปีแล้วให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จและวิธีคำนวณระยะเวลาปฏิบัติงานตามข้อบังคับกำหนดว่าเศษของปีถ้าถึงหกเดือนให้นับเป็น 1 ปี ดังนี้ ถือว่าโจทก์มีระยะเวลาปฏิบัติงานครบ 5 ปี และมีสิทธิได้รับบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานคำนวณอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องใช้ 'อัตรากลาง' ตามตารางที่ 1 ไม่ใช่อัตราลด/เพิ่ม
การที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนกฎหมายได้คำนึงถึงลักษณะและประเภทกิจการของนายจ้างว่าลูกจ้างมีการเสี่ยงภัยที่จะได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมากน้อยเพียงใด จึงได้กำหนดรหัสประเภทของกิจการนั้นไว้ว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละเท่าใดของค่าจ้างไว้ อันเป็นการกำหนดอัตราเงินสมทบกลางไว้เป็นหลักตามสมควรแก่กิจการนั้น ๆไว้เป็นการทั่วไปเสียก่อน ถ้าอัตราการสูญเสียลดลงกฎหมายจะลดอัตราเงินสมทบให้ และอัตราเงินสมทบจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนการสูญเสียสูงขึ้น ดังนั้นการลดหรือเพิ่มจึงต้องคำนวณโดยถืออัตราเงินสมทบกลางหรืออัตราเงินสมทบหลักตามที่ตารางที่ 1กำหนดไว้เป็นฐานคำนวณ มิใช่ถือเอาอัตราลด/เพิ่ม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นฐานคำนวณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องใช้ฐานจากอัตรากลาง (ตารางที่ 1) ไม่ใช่อัตราลด/เพิ่ม
การที่นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนกฎหมายได้คำนึงถึงลักษณะและประเภทกิจการของนายจ้างว่าลูกจ้างมีการเสี่ยงภัยที่จะได้รับอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างมากน้อยเพียงใด จึงได้กำหนดรหัสประเภทของกิจการนั้นไว้ว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละเท่าใดของค่าจ้างไว้ อันเป็นการกำหนดอัตราเงินสมทบกลางไว้เป็นหลักตามสมควรแก่กิจการนั้น ๆไว้เป็นการทั่วไปเสียก่อน ถ้าอัตราการสูญเสียลดลงกฎหมายจะลดอัตราเงินสมทบให้ และอัตราเงินสมทบจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราส่วนการสูญเสียสูงขึ้น ดังนั้นการลดหรือเพิ่มจึงต้องคำนวณโดยถืออัตราเงินสมทบกลางหรืออัตราเงินสมทบหลักตามที่ตารางที่ 1กำหนดไว้เป็นฐานคำนวณ มิใช่ถือเอาอัตราลด/เพิ่ม ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเป็นฐานคำนวณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง การคำนวณค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดต้องรวมค่าครองชีพด้วย
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ลูกจ้างกับจำเลยนายจ้าง ให้เรียกค่าครองชีพว่า 'เงินสวัสดิการ' ก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างการที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่ให้นำ 'เงินสวัสดิการ' มาคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างในการทำงานในวันหยุด จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 34,39 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดโดยคำนวณจากค่าจ้างซึ่งหมายถึงค่าจ้างทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักผลขาดทุนสุทธิในการคำนวณโบนัส: เจตนาของคู่สัญญาและสิทธิตามประมวลรัษฎากร
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะกำหนดว่าเมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจตกลงกันในปัญหาการตีความข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งสองฝ่ายตกลงเสนอให้กรมแรงงานเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุดก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าคู่กรณีไม่อาจนำปัญหาดังกล่าวไปขอให้กรมแรงงานวินิจฉัยได้อีก ไม่มีความหมายถึงกับว่าหากคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่กรณีจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ใช่กฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง คำนวณบำเหน็จได้
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพที่โจทก์ได้รับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง: หลักฐานจากคำสั่งจ่ายและมติคณะรัฐมนตรีใช้คำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
จำเลยจ่ายเงินค่าครองชีพให้พนักงานที่มีเงินเดือนไม่เกินที่กำหนดไว้โดยเสมอหน้ากัน เป็นจำนวนแน่นอนประจำทุกเดือน มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินเดือนของพนักงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย' เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้
of 14