พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดี: ไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้อง, ไม่ต้องแจ้งอีกฝ่าย
สหกรณ์แท็กซี่ร่วมมิตร จำกัด จำเลยในคดีนี้กับสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตรจำกัด เป็นนิติบุคคลเดียวกัน การที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร จำกัด เข้ามาในชั้นบังคับคดีจึงมิใช่เป็นกรณีที่ฟ้องจำเลยผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกัน และมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่ หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษา ทั้งกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และ 181 ที่จะต้องยื่นคำร้องก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน และไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดีเมื่อเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ไม่เป็นการแก้ไขคำฟ้องและไม่อยู่ในบังคับมาตรา 180/181
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสหกรณ์แท็กซี่ร่วมมิตร จำกัด กับสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร จำกัด เป็นนิติบุคคลเดียวกัน การขอแก้ไขเพิ่มเติมชื่อสหกรณ์แท็กซี่รวมมิตร จำกัด เข้ามาจึงมิใช่เป็นกรณีฟ้องจำเลยผิดตัวหรือฟ้องคดีต่างบุคคลกันและมิใช่เป็นการเพิ่มเติมข้อหาใหม่หากแต่เป็นการเพิ่มเติมในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงตามความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดีแต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใด ทั้งกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ฉะนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 180 และ 181 ที่จะต้องถูกจำกัดระยะเวลาการยื่นคำร้องว่าต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานและไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอาญาอื่น แม้ไม่ได้ระบุหมายเลขคดีในคำฟ้อง ศาลสามารถพิจารณาจากรายงานสืบเสาะและพินิจได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งที่ฟ้องมาพร้อมกัน ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโจทก์จำเลยในคดีอาญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ระบุหมายเลขคดีไว้เนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบหมายเลขคดีจนกว่าโจทก์จะได้ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นได้นัดฟังคำพิพากษาในวันอื่น ข้อเท็จจริงที่ได้จากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลชั้นต้นให้คู่ความทราบแล้วคู่ความไม่ติดใจคัดค้านปรากฏว่าจำเลยถูกดำเนินคดีในความผิดตามคดีอาญาของศาลชั้นต้น เท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงใน ข้อที่ว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยถูกฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีนี้ภายหลังจากที่มี คำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของคำฟ้องคดีเบียดบังทรัพย์สิน: การบรรยายรายละเอียดความผิด
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ หน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาที่เกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท พ.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียว ได้จำหน่ายสินค้าของบริษัทโดยระบุประเภท น้ำหนักของสินค้า และจำนวนเงินที่จำหน่ายสินค้าได้แต่ละวัน แล้วเบียดบังเงินที่จำหน่าย สินค้าได้นั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว ยังได้บรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุด้วย คำบรรยายฟ้องเช่นนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไร แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินของบริษัทไปอย่างไรด้วยวิธีการใดมาด้วย ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ศาลยืนคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยอันเป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบกับสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ค. และ ง. ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 16 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยทางรถยนต์: การพิสูจน์ความรับผิดของบริษัทประกันจากเอกสารประกอบคำฟ้อง
แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากผู้ใด แต่ตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง คือสัญญาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว ระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัย และ จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัย ดังนี้ ถือว่าคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ และการใช้ยานพาหนะเป็นองค์ประกอบความผิด
++ เรื่อง ชิงทรัพย์ ++
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้รถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ยังไม่สามารถแปลความหมายว่า จำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดชิงทรัพย์เพราะตามคำฟ้องได้ความเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์ผู้เสียหายจำเลยทั้งสองใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การเดินทางมาทำการชิงทรัพย์เท่านั้น จำเลยทั้งสองอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์คันนี้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลหรือเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5999/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำฟ้องเกี่ยวกับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดชิงทรัพย์ และการพิสูจน์เจตนาของผู้กระทำผิด
คำฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า ก่อนชิงทรัพย์จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกในการเดินทางมาทำการชิงทรัพย์ จะแปลข้อความไปในทางที่เป็นผลร้ายว่า จำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ไม่ได้ เพราะจำเลยอาจเพียงแต่ใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมาและจอดรถไว้แล้วเดินไปยังที่เกิดเหตุซึ่งอยู่อีกแห่งหนึ่งแล้วทำการชิงทรัพย์โดยไม่ใช้รถจักรยานยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลยก็ได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่อาจแปลได้ว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เพื่อกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ที่จะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5815/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยรับข้อเท็จจริงดอกเบี้ยค้างชำระตามคำฟ้อง ทำให้ไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องเอกสารปลอม
โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระให้แก่โจทก์คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 541,563.65 บาท จำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าว ถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยค้างชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จำนวน 541,563.65 บาท โดยไม่ต้องสืบพยาน เมื่อบัญชีเงินกู้เอกสารที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบัญชีเงินกู้เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้เพราะเป็นเอกสารปลอมและเป็นสำเนาไม่ถูกต้องหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยไม่ชอบในศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างของข้อเท็จจริงในคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ศาลรับฟัง ส่งผลให้ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ก่อให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดด้วยการใช้ จ้าง วานให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ร่วมกันฆ่าผู้ตายเมื่อข้อเท็จจริงในการพิจารณารับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้ จ้าง วาน ให้ผู้อื่นไปฆ่าผู้ตาย จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง