พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ที่ไม่ชัดเจนและขาดเหตุผลสนับสนุน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารและพยานบุคคลของฝ่ายโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่จำเลยมิได้อ้างเหตุให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร และหากมีการพิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร แม้จะกล่าวมาด้วยว่าจำเลยมีหลักฐานเอกสารที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างของโจทก์ ก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดเผยทายาทและทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกไม่ต้องระบุทรัพย์สินทั้งหมดในคำร้อง
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่าส.น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คน บุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้นเมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงินจากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอี่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด และตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงินจากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอี่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ราคาต่ำกว่าเกณฑ์ และระยะเวลาในการยื่นคำร้องเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาด หรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดี แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพาราปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาท ทั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดี แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพาราปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาท ทั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3389/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อยู่ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยไม่มีเหตุผลอันควร อาจถูกมองว่าเป็นการประวิงคดี
จำเลยทั้งสองเคยร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งประสงค์ จะสืบเป็นพยานเพียงปากเดียว ติดภาระหน้าที่ราชการถึงสองนัดศาลชั้นต้นก็ได้เห็นความสำคัญของภาระหน้าที่ที่จำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติด้วยการอนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนมาแล้วทั้งสองนัดการที่จำเลยที่ 1 ไม่มาศาลในนัดที่สามโดยการโทรศัพท์แจ้งให้ทนายความจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1ติดประชุมโดยจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานที่ควรแก่การเชื่อถือมาแสดงว่ามีการประชุมเรื่องดังกล่าวกันจริงและจำเลยที่ 1จำเป็นจะต้องไปร่วมประชุมด้วยตนเอง ถือว่าจำเลยที่ 1ไม่ให้ความสำคัญแก่คำกำชับและวันเวลานัดของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเวลานัดของหน่วยงานราชการที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งเช่นกัน ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการชั่วคราว: ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต.เป็นกรรมการของบริษัทม.ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม.แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต.คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70, 73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต.ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัทม.แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา142 (5), 243, 247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจไต่สวนคำร้องถอดถอนกรรมการชั่วคราว การส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์โดยไม่ไต่สวนไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและ ต. เป็นกรรมการของบริษัท ม. ชั่วคราวคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ แม้ในคำร้องจะขอให้ศาลอุทธรณ์ไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งก็ตาม แต่จากข้ออ้างในคำร้องประกอบด้วยพฤติการณ์แห่งคดีเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านประสงค์ที่จะให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทน ซึ่งผู้ร้องและ ต. คัดค้านคำร้องดังกล่าวของผู้คัดค้าน เมื่อมูลคดีเป็นเรื่องผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของนิติบุคคล กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70,73 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนข้อเท็จจริงให้ได้ความว่ามีเหตุสมควรที่จะถอดถอนผู้ร้องและ ต. ออกจากการเป็นกรรมการชั่วคราวแล้วตั้งผู้คัดค้านเป็นกรรมการชั่วคราวของบริษัท ม. แทนหรือไม่ และมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งงดการไต่สวนและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คดีจะขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งนี้ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ แต่คดีนี้กลับขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา และศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งยกคำร้องของผู้คัดค้านโดยไม่มีการวินิจฉัยถึงคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาแม้ผู้คัดค้านจะไม่ฎีกามาก็ตาม แต่ก็เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),243,247 ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และให้ยกคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้คัดค้าน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้าน แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนผู้จัดการมรดกหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด และผลกระทบต่อการพิจารณาคำร้อง
++ เรื่อง ขอจัดการมรดก
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดจำนวนเงินชำระหนี้ตามคำร้อง ผู้ร้องไม่คิดดอกเบี้ยจนถึงวันยื่นคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง โดยขอให้ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองโดยปลอดจำนองแล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง แต่ผู้ร้องคิดคำนวณหนี้เพียงวันที่ 30 มกราคม 2524 โดยไม่ได้คิดคำนวณหนี้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 อันเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง เห็นเจตนาได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องคำนวณมาในคำร้องเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยก็ได้วางเงินจำนวนดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เมื่อผู้ร้องมิได้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้อง และไม่ได้เรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้องจนถึงวันขายทอดตลาดมาในคำร้องกรณีเช่นนี้ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ เพราะเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามคำร้องเดิม ผู้ร้องต้องระบุดอกเบี้ยให้ชัดเจนในคำร้องแรก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองโดยขอให้ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองโดยปลอดจำนองแล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องแต่ผู้ร้องคิดคำนวณหนี้เพียงวันที่ 30 มกราคม 2524โดยไม่ได้คิดคำนวณหนี้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 อันเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง เห็นเจตนาได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะให้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องคำนวณมาในคำร้องเท่านั้นเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยก็ได้วางเงินจำนวนดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เมื่อผู้ร้องมิได้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้อง และไม่ได้เรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้องจนถึงวันขายทอดตลาดมาในคำร้องกรณีเช่นนี้ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ เพราะเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกถูกจำกัดเนื่องจากสถานะทายาทลำดับที่ 4 และการอ้างสิทธิเกินขอบเขตคำร้อง
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียวโดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฎตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3)ซึ่งยัง มีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทอันดับ 4 ตามมาตรา 1629(4)ดังนี้ ผู้ร้องจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่งและเมื่อผู้ร้องมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713(1) จึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ และแม้ทายาทของเจ้ามรดกที่มีชีวิตอยู่ดังกล่าวถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และทายาทนั้นไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ และหากไม่มีผู้จัดการมรดกจะทำให้ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเกิดความเสียหายได้ก็ตามแต่เมื่อผู้ร้องอ้างสิทธิในการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตามมาตรา 1713(1) ชัดแจ้งอยู่แล้ว การที่จะไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องยังมีสิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของการเป็นทายาทโดยธรรม ย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกคำร้องขอและนอกประเด็น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน