พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ภาษี: เหตุจำเป็น, คำสั่งไม่อนุมัติ, สิทธิในการอุทธรณ์, ศาลภาษีอากรกลาง
กรณีที่ผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาในการยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้หากอธิบดีกรมสรรพากรพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับการประเมินมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาการอุทธรณ์การประเมินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา30แต่กลับสั่งไม่อนุมัติให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปแก่ผู้รับการประเมินตามความจำเป็นแก่กรณีเป็นการขัดขวางมิให้ผู้รับการประเมินได้รับสิทธิในการพิจารณาอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และสิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้รับการประเมินมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลภาษีอากรกลางเพิกถอนคำสั่งอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวได้เพื่อให้ศาลภาษีอากรกลางแก้ไขคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรเสียใหม่ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรมาตรา3อัฏฐต่อไปโดยถือว่าคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรมิฉะนั้นผู้รับการประเมินย่อมไม่มีโอกาสที่จะได้รับสิทธิตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา3อัฎฐและมาตรา30บัญญัติไว้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อระงับเหตุรำคาญ และผลของการไม่ทราบคำสั่งโดยชอบ
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 28 วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น มาตรา 45 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ผลผูกพันเมื่อทราบคำสั่ง และการพิจารณาคำสั่งที่ไม่ชอบ
การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะเหตุว่าอุทธรณ์ของจำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมใช้แก่โจทก์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา229นั้นมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุเนื้อหาในอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์อันจะเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา236และอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับการวางเงินค่าขึ้นศาลของจำเลยด้วยซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร และอำนาจฟ้องคดีเมื่อไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42และมาตรา 43 วรรคสาม จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นต้องจัดส่งอุทธรณ์และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในภายหลัง โดยทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 52 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7098/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การอ้างว่า จำเลยเข้าใจผิดว่าเจ้าหน้าที่ศาลปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนการวางหมายแก่จำเลย ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องและไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสองจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226(1) ไม่ใช่คำสั่งที่ไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งเดิมต่อคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลอุทธรณ์เคยมีไว้
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฎว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่นั้นศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นผลก็คือโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายตรงข้ามกับจำเลยผู้ขอคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา264เป็นฝ่ายชนะคดีและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมาย่อมเป็นอันยกเลิกไปในตัวตามมาตรา264วรรคสองประกอบมาตรา260(1)จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไปศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่ใช่คำสั่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอเพิกถอน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ77มีผลเพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างลูกจ้างมิใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่กฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องปฏิบัติตามถ้าโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้การที่จำเลยที่2และที่3ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานออกคำเตือนแก่โจทก์ย่อมไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลสำคัญกว่าการตีความเองของผู้ฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์3ครั้งครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา20วันนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก15วันโดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2ครั้งรวม35วันซึ่งเมื่อนับจากวันที่8มกราคม2538อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรกโจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่12กุมภาพันธ์2538เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่3ในวันที่15กุมภาพันธ์2538จึงเป็นการยื่นคำขอขึ้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23 ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่28มกราคม2538เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่30มกราคม2538และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15วันวันที่ครบกำหนดระยะเวลา>อุทธรณ์จึงเป็นวันที่14กุมภาพันธ์2538ซึ่งเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่15กุมภาพันธ์2538ได้นั้นการนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอให้ยกคำสั่งยกฟ้อง ต้องยื่นภายใน 15 วันนับแต่วันศาลมีคำสั่ง
คำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา166ประกอบมาตรา181นั้นโจทก์จะต้องร้องขอภายใน15วันนับแต่วันศาลยกฟ้องมิใช่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเมื่อวันที่30สิงหาคม2537โจทก์มายื่นคำร้องขอเมื่อวันที่12ตุลาคม2537จึงเป็นการเกินกำหนดเวลาแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์อ้างในคำร้องว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จดวันนัดผิดและแจ้งให้ทนายโจทก์ทราบก็ไม่ใช่เหตุที่โจทก์จะไม่ต้องยื่นคำร้องภายใน15วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 47 กำหนดเรื่องการขาดงานถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลที่สมควรจะถูกพิจารณาโทษทางวินัยคือขาดงานครั้งแรกไม่จ่ายค่าจ้างในวันขาดงานและออกหนังสือเตือนครั้งที่1การขาดงานครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 จะไม่จ่ายค่าจ้าง 2 เท่าและ 3 เท่าของค่าจ้างพร้อมกับออกหนังสือเตือนทั้งสองครั้งตามลำดับการขาดงานครั้งที่4จึงจะเลิกจ้างได้และข้อ5.24กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ที่ฝ่าฝืนระเบียบของศูนย์ประกันสังคมของจำเลยจะถูกพิจารณาลงโทษดังนี้1.ตักเตือนด้วยวาจา 2.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 1 3. ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 2 4.ออกจดหมายเตือนครั้งที่ 3 พักงานโดยมีกำหนดโดยไม่ได้รับค่าจ้างและ 5.เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยดังนั้นตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเจ้าหน้าที่ที่ขาดงานโดยละทิ้งหน้าที่จำเลยจะต้องเตือนด้วยวาจา 1ครั้งก่อนหากมีการกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมหลังจากนั้นจำเลยจะต้องออกหนังสือเตือนถึง 3 ครั้งเมื่อขาดงานครั้งที่ 5 จึงให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อระเบียบข้อบังคับของจำเลยทั้งสองนี้ถือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานโดยในครั้งแรกโจทก์ได้รับคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ไปทำงานเป็นแพทย์ประกันสังคมประจำโรงพยาบาลร.แต่โจทก์ไม่ยอมปฏิบัติตามจำเลยจึงได้ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลร.โจทก์รับทราบหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมไปเมื่อตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจำเลยจะต้องตักเตือนด้วยวาจา 1 ครั้งและออกหนังสือเตือนอีก 3 ครั้งจึงจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้การที่จำเลยออกหนังสือเตือนโจทก์เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์แต่การที่โจทก์ได้รับคำสั่งจากศูนย์ประกันสังคมเอกชนในนามจำเลยที่1ให้ไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลร.แต่โจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งเมื่อจำเลยมีหนังสือย้ำให้โจทก์ไปปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนดโจทก์ก็ไม่ไปปฏิบัติงานตามหน้าที่อีกเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยทั้งสองโดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยทั้งจำเลยได้เตือนเป็นหนังสือแล้วจึงมีเหตุอันสมควรเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมส่วนลำดับขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่กำหนดให้จำเลยเตือนด้วยวาจาในครั้งแรกและออกหนังสือเตือนอีก3ครั้งจึงจะเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้นเมื่อระเบียบดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดว่าให้ใช้แก่กรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้นดังนี้จะนำระเบียบนี้มาใช้บังคับแก่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยแตกต่างจากการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 และข้อ 47 หาได้ไม่และการที่โจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานเป็นการจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างแล้วจำเลยจึงมีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583