พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีจบการศึกษานอกระบบ ต้องเข้าเรียนตามกำหนดเวลา และมีความรู้เทียบเท่า ม.ปลาย
ผู้ศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2530 เมื่อจบหลักสูตรแล้วจะมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้ที่จบจาก สถานศึกษาในระบบโรงเรียนทุกประการ ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้าน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านได้เข้าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการจึงมีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2535 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีจบการศึกษานอกระบบ: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเทียบเท่า ม.ปลายได้
ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้เข้าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 19(1)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและคุณสมบัติผู้เสียหาย: การถอนฟ้องและการสิ้นสุดสถานะทนายความ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักใบตรา-ส่งเพื่อนำไปรับสินค้า แล้วปลอมเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งสอง โดยแก้ชื่อผู้รับสินค้าจากโจทก์ที่ 1 เป็นจำเลยที่ 1 อันเป็นความเท็จ แล้วแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งสินค้าดังกล่าวของโจทก์ทั้งสอง ดังนี้ เมื่อได้ความว่าผู้รับสินค้าตามใบตราส่งคือโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่ 2 มิใช่เจ้าของสินค้าตามใบตราส่งหรือร่วมเป็นเจ้าของสินค้าตามใบตราส่งแต่อย่างใดทั้งโจทก์ที่ 2 ฟ้องในฐานะผู้แทนของโจทก์ที่ 1 มิใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัว เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้องคดีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งตามคำฟ้องที่จะถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
เมื่อตัวความคือโจทก์ที่ 1 ขอถอน ศ.กับ ค. ออกจากการเป็นทนายความของตน ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบของตัวความและศาลอนุญาตแล้วย่อมมีผลในทันที ศ.กับ ค.จึงไม่ใช่ทนายความของโจทก์ที่ 1 อีกต่อไป ถือว่าศ.กับ ค. ไม่ใช่ผู้เสียหายจากคำสั่งอนุญาตให้ถอนทนาย จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกา
เมื่อตัวความคือโจทก์ที่ 1 ขอถอน ศ.กับ ค. ออกจากการเป็นทนายความของตน ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบของตัวความและศาลอนุญาตแล้วย่อมมีผลในทันที ศ.กับ ค.จึงไม่ใช่ทนายความของโจทก์ที่ 1 อีกต่อไป ถือว่าศ.กับ ค. ไม่ใช่ผู้เสียหายจากคำสั่งอนุญาตให้ถอนทนาย จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติกรรมการอ้อยและน้ำตาล: ข้าราชการ-ผู้แทนฯ การมอบอำนาจประชุม และการตั้งคณะกรรมการ
พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล พ.ศ. 2427 มาตรา 11 กำหนดให้ผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานเท่านั้นที่จะต้องไม่เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในทางการเมือง ส่วนข้าราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งตามมาตรา 9 ไม่มีข้อห้ามเหมือนกับมาตรา 11 ฉะนั้น แม้ข้าราชการดังกล่าวจะเป็นวุฒิสมาชิกก็ไม่ขาดคุณสมบัติ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
กรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลบางส่วนเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องมาประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน กรรมการดังกล่าวย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในกระทรวงที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ได้ การประชุมที่มีผู้มาประชุมแทนดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล พ.ศ.2527 มาตรา 15
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจตั้งคณะกรรมการบริหารได้ตามมาตรา 20 และมีอำนาจตั้งคณะกรรมการน้ำตาลทรายได้ตามมาตรา41 ส่วนการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อให้คณะที่ปรึกษากฎหมายให้ความเห็นประกอบการพิจารณาเท่านั้น การตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่ขัดกฎหมายใด
กรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลบางส่วนเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องมาประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน กรรมการดังกล่าวย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในกระทรวงที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ได้ การประชุมที่มีผู้มาประชุมแทนดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล พ.ศ.2527 มาตรา 15
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจตั้งคณะกรรมการบริหารได้ตามมาตรา 20 และมีอำนาจตั้งคณะกรรมการน้ำตาลทรายได้ตามมาตรา41 ส่วนการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อให้คณะที่ปรึกษากฎหมายให้ความเห็นประกอบการพิจารณาเท่านั้น การตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่ขัดกฎหมายใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การประชุมแทน, และอำนาจคณะกรรมการ
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลพ.ศ.2427มาตรา11กำหนดให้ผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานเท่านั้นที่จะต้องไม่เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในทางการเมืองส่วนข้าราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งตามมาตรา9ไม่มีข้อห้ามเหมือนกับมาตรา11ฉะนั้นแม้ข้าราชการดังกล่าวจะเป็นวุฒิสมาชิกก็ไม่ขาดคุณสมบัติไม่ขัดต่อกฎหมาย กรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลบางส่วนเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องมาประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการดังกล่าวย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในกระทรวงที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ได้การประชุมที่มีผู้มาประชุมแทนดังกล่าวจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลพ.ศ.2527มาตรา15 คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาบทรายมีอำนาจตั้งคณะกรรมการบริหารได้ตามมาตรา20และมีอำนาจตั้งคณะกรรมการน้ำตาลทราบได้ตามมาตรา41ส่วนการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อให้คณะที่ปรึกษากฎหมายให้ความเห็นประกอบการพิจารณาเท่านั้นการตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่ขัดกฎหมายใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความเป็นผู้อนุบาลเนื่องจากการล้มละลาย และอำนาจการจัดการมรดกเมื่อผู้จัดการมรดกเดิมขาดคุณสมบัติ
การที่ศาลมีคำสั่งตั้ง ย. และผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ พ.คนไร้ความสามารถนั้นเมื่อต่อมา ย. ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมเป็นเหตุทำให้การเป็นผู้อนุบาลสิ้นสุดลง ย.ไม่เป็นผู้อนุบาลอีกต่อไปผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาลของ พ. ได้โดยลำพังคนเดียว ผู้จัดการมรดกถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการมรดกทำให้กองมรดกของผู้ตายไม่มีผู้จัดการเมื่อการจัดการแบ่งมรดกยังมีข้อขัดข้องผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของพ. คนไร้ความสามารถซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายจึงมีสิทธิขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดคุณสมบัติทนายความและการเพิกถอนกระบวนการพิจารณา
น. เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่งอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับ ดังนั้นใบอนุญาตดังกล่าวจึงมีอายุใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2528 ตามที่พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 84 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ หาก น. ประสงค์จะทำการเป็นทนายความต่อไป จะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุ แต่ น. มิได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการขาดต่อใบอนุญาตตามมาตรา 39 วรรคสอง
การที่ น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา 40 (3) ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมา ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33กระบวนพิจารณาที่ น.ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลัง ก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
ตราบใดที่ น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความ และจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้ง น. เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่ กระบวนพิจารณาที่ น. เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด
การที่ น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา 40 (3) ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมา ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33กระบวนพิจารณาที่ น.ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ และนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลัง ก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
ตราบใดที่ น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความ และจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้ง น. เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่ กระบวนพิจารณาที่ น. เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดคุณสมบัติ การกระบวนการพิจารณาคดีเป็นโมฆะ
น. เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความชั้นหนึ่งอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ใช้บังคับดังนั้นใบอนุญาตดังกล่าวจึงมีอายุใช้ได้จนถึงวันที่31ธันวาคม2528ตามที่พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา84วรรคหนึ่งบัญญัติไว้หากน.ประสงค์จะทำการเป็นทนายความต่อไปจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตฉบับเดิมสิ้นอายุแต่น. มิได้ยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการขาดต่อใบอนุญาตตามมาตรา39วรรคสอง การที่น. ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามมาตรา40(3)ทำการเป็นทนายความของจำเลยในศาลชั้นต้นต่อแต่นั้นมาย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา33กระบวนพิจารณาที่น. ดำเนินการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้น. จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและนายทะเบียนสภาทนายความได้รับใบคำขอดังกล่าวไว้ในภายหลังก็ไม่อาจทำให้การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของน. ดังกล่าวแล้วกลับเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้ ตราบใดที่น. ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งน.เป็นทนายความของจำเลยเข้ามาใหม่กระบวนพิจารณาที่น.เป็นผู้ดำเนินการย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การถอดถอนผู้จัดการมรดกและคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกก็เพราะเหตุที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องและบุตรของผู้ร้องเท่านั้นและทรัพย์มรดกที่มีอยู่ทั้งหมดถูกระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว การไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในกรณีเช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดก การที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องโอนทรัพย์มรดกอันเป็นสินสมรสของผู้คัดค้านเป็นของตน เป็นการส่อไปในทางทุจริตนั้น คดีไม่มีประเด็นให้พิจารณาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องได้รับตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านอยู่ด้วยหรือไม่ ผู้คัดค้านกับ ส. มิได้มีสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้งไม่มีประเด็นว่าทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านรวมอยู่ด้วยหรือไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลสมควรจะตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตและมีแอมเฟตามีนในครอบครอง โดยพิจารณาเจตนาและคุณสมบัติของจำเลย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภริยากัน จำเลยที่ 3 เป็นบุตรเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ที่บ้านไม่มีเลขที่พบของกลาง เครื่องมือใช้ผลิตแอมเฟตามีน 27 รายการ และค้นบ้านเลขที่ 377 ซึ่งอยู่ห่างไป 500 เมตรพบจำเลยที่ 2 ในบ้านดังกล่าวพบของกลางน้ำยาและอุปกรณ์การผลิตจำนวนมากยาม้าหรือแอมเฟตามีนที่ผลิตแล้ว 180 เม็ด ส่วนอุปกรณ์เช่น บล๊อกปั๊มยี่ห้อยาม้าค้นได้ที่ใต้ฟูกในห้องนอน บ้านไม่มีเลขที่กับบ้านเลขที่ 377 เป็นบ้านของจำเลยที่ 1 และที่ 2ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การว่า ผู้นำเครื่องมือผลิตยาม้ามาไว้ในบ้านดังกล่าวนั้นคือนายตี๋เพื่อนของจำเลยที่ 1 และได้ผลิตยาม้าไปแล้วครั้งหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2รู้เห็นยินยอมในการที่นายตี๋นำเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตยาม้าหรือแอมเฟตามีนมาทำการผลิตในบ้านของตน รวมทั้งแอมเฟตามีนที่ผลิตเป็นเม็ดแล้วก็เก็บไว้ในบ้านดังกล่าวแล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 และนายตี๋ทำการผลิตแอมเฟตามีนและร่วมกันมีแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง
จำเลยที่ 3 อายุ 19 ปี ยังอยู่ในอำนาจการปกครองของจำเลย-ที่ 1 และที่ 2 บิดามารดา และอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในบ้านเกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านของจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงใจร่วมกับนายตี๋ทำการผลิตแอมเฟตามีนในบ้านดังกล่าว จึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำการผลิตแอมเฟตามีนตามฟ้อง
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับโดยเพิ่มเติม มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่งห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2แยกจากเดิม ซึ่งบัญญัติรวมไว้ในมาตรา 13 และแก้ไขโทษปรับตามขั้นสูงตามมาตรา 89 ให้ต่ำลงมาจากปรับห้าแสนบาท เป็นปรับสี่แสนบาท ถือว่าเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้บทกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นี้มาปรับแก่คดีของจำเลยทั้งสอง ตาม ป.อ.มาตรา 3 และเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78 เห็นสมควรนำมาเป็นเหตุลดโทษแก่จำเลยที่ 2 แล้วก็ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งคดีได้เสร็จเด็ดขาดไปแล้วด้วยได้
จำเลยที่ 3 อายุ 19 ปี ยังอยู่ในอำนาจการปกครองของจำเลย-ที่ 1 และที่ 2 บิดามารดา และอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในบ้านเกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านของจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงใจร่วมกับนายตี๋ทำการผลิตแอมเฟตามีนในบ้านดังกล่าว จึงไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำการผลิตแอมเฟตามีนตามฟ้อง
ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ออกใช้บังคับโดยเพิ่มเติม มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่งห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2แยกจากเดิม ซึ่งบัญญัติรวมไว้ในมาตรา 13 และแก้ไขโทษปรับตามขั้นสูงตามมาตรา 89 ให้ต่ำลงมาจากปรับห้าแสนบาท เป็นปรับสี่แสนบาท ถือว่าเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้บทกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่นี้มาปรับแก่คดีของจำเลยทั้งสอง ตาม ป.อ.มาตรา 3 และเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ.มาตรา 78 เห็นสมควรนำมาเป็นเหตุลดโทษแก่จำเลยที่ 2 แล้วก็ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งคดีได้เสร็จเด็ดขาดไปแล้วด้วยได้