พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบจนสับสนและการจดทะเบียนก่อนย่อมได้รับความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 3 แบบ ปรากฏอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกันสีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า "CREAMCRACKERS" และคำว่า "EXTRALIGHT"ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือของโจทก์ใช้คำว่า "JACOB&COS"ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHITCHATCO.,LTD." ของโจทก์ใช้คำว่า"JACOB'S" ของจำเลยใช้คำว่า "DRAGONBRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้เลย เครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากกว่ากฎหมายแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง โดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้นกลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองไว้ ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยค้ำจุนยังคงมีผลแม้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หากรถยังอยู่ในอายุการคุ้มครองและมีการโอนมรดก
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น เว้นแต่รถยนต์เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้ยังอยู่ในอายุการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยและ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว.นายจ้างว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต่างประเทศต้องแสดงว่ากฎหมายของประเทศนั้นคุ้มครองลิขสิทธิ์เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามกฎหมายของบริษัทอ.กับบริษัทท. ประเทศฮ่องกงซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของเกาะฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัยยังคงคุ้มครองแม้มีการประนีประนอมยอมความ ความรับผิดของจำเลยไม่ระงับ
จำเลยผู้รับประกันภัยยินยอมให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย เพราะเหตุรถยนต์ของโจทก์ที่ประกันภัยไว้ชนกับรถยนต์คนอื่น ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย แม้ความรับผิดของโจทก์ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อผู้เสียหายจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์ที่มีอยู่แล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยเปลี่ยนแปลงระงับสิ้นไปไม่ จำเลยยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคุ้มครองประกันภัยอัคคีภัยจำกัดเฉพาะเพลิงไหม้/ฟ้าผ่า/การระเบิดแก๊สเพื่อแสงสว่าง/อยู่อาศัยเท่านั้น
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยจะต้องรับผิดในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยต้องสูญเสียหรือเสียหายไปเฉพาะ"เนื่องจากเพลิงไหม้หรือฟ้าผ่า หรือการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น" เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ทรัพย์ที่โจทก์ได้เอาประกันภัยไว้ต้องสูญเสียหรือเสียหายเนื่องมาจากการระเบิดของแก๊สที่ใช้จุดสำหรับหุงต้มอาหารเพื่อจำหน่ายที่ภัตตาคาร ช. ซึ่งอยู่ติดกับสำนักงานของโจทก์ จึงมิใช่การระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย การสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในความคุ้มครอง ทั้งยังเข้าข้อยกเว้นความรับผิดที่กำหนดไว้ว่าการประกันภัยรายนี้ไม่คุ้มครองการสูญเสียหรือการเสียหายอันเกิดจากหรือเนื่องมาจากการระเบิดทุกชนิดรวมทั้งการระเบิดของแก๊สที่ใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือการผลิตจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว.
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2532)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407-3408/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองในไทยต้องจดทะเบียน แม้เป็นเจ้าของต่างประเทศ
เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของบริษัท ว. แห่งประเทศอังกฤษก็ตาม แต่เมื่อบริษัทดังกล่าวมิได้เข้ามาเป็นคู่ความ และไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนเครื่องหมายยการค้าดังกล่าวในประเทศไทย อันจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 27,29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนและเลิกใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังไม่ได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการ และจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จข้าราชการได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี หากยังมิได้ปะปนกับเงินอื่น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเนื่องจากลาออกจากราชการและจำเลยเพิ่งได้รับเงินบำเหน็จมาจากเจ้าหน้าที่การเงินโดยที่เงินบำเหน็จนั้นยังมิได้ปะปนกับเงินอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกเช่นนี้ โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเงินบำเหน็จดังกล่าวจากจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาหาได้ไม่. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2532)