พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมจากการถูกกลฉ้อฉล: สิทธิบอกล้างเป็นของผู้แสดงเจตนาวิปริต ไม่ใช่คู่สมรส
มาตรา 137 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2519 มาตรา 4 สามีไม่มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมที่ภรรยาเป็นผู้กระทำไว้ สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นของภรรยาผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดยวิปริต กฎหมายมิได้กำหนดแบบการบอกล้างโมฆียะกรรมไว้ การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยทำเอกสารดังกล่าวเพราะถูกกลฉ้อฉลสำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติธรรมจึงไม่ผูกพันจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจนำเอกสารดังกล่าวมาฟ้องจำเลย ขอให้ยกฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนทรัพย์สินของจำเลยและคู่สมรสเพื่อบังคับคดี การออกหมายเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้อง
คำร้องของโจทก์มีข้อความว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านหลังหนึ่งของจำเลย แต่ไม่ทราบเลขโฉนดที่ดินที่บ้านตั้งอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถขายทอดตลาดได้บ้านราคาเพียง 50,000 บาทไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเป็นต้องยึดทรัพย์สินอื่น เพิ่มเติมซึ่งโจทก์เชื่อว่ายังมีอยู่อีก แต่จำเลยหลบหนี มีบุคคล ที่อยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์ในการไต่สวนคือ ช. สามีจำเลย ทั้งในคำร้องฉบับแรกก็ระบุว่า ช. มีฐานะมั่นคงและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสหลายโฉนด ดังนี้เป็นคำร้อง ที่แสดงเหตุอันสมควรที่จะขอให้ศาลออกหมายเรียก ช. มาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและการกระทำทางร่างกาย ศาลพิจารณาเหตุผลและความเดือดร้อนของคู่สมรส
โจทก์ทะเลาะกับจำเลยแล้วออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นต่อมาเมื่อจำเลยทราบว่าโจทก์ไปติดพันหญิงที่อื่นฉันชู้สาวย่อมก่อให้จำเลยเกิดความหึงหวงและจำเป็นต้องป้องกันเพื่อมิให้โจทก์ทอดทิ้งตนและบุตรการที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวหาโจทก์ในเรื่องดังกล่าวเพื่อขอความเป็นธรรมให้แก่จำเลย โดยไม่ปรากฏว่าได้ขอให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ จึงเท่ากับเป็นเชิงขอให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนให้โจทก์สำนึกในการกระทำอันอาจจะก่อความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวการกระทำของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์อย่างร้ายแรงและยังไม่ถึงขนาดที่ก่อ ความเดือดร้อนเกินควรต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการตายของคู่สมรสกรณีไม่มีสินเดิมและก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ล. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้โจทก์และ ล.แยกกันอยู่แต่ไม่ปรากฏว่าได้หย่าขาดจากกัน ทั้งโจทก์และ ล. ต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน ดังนั้นเมื่อ ล. ตายสินสมรสต้องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โจทก์ได้ 1 ส่วน ล. ได้ 2 ส่วน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 655/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องจัดการสินสมรสแทนคู่สมรส ต้องมีมอบอำนาจชัดเจน หรือมีเหตุขัดข้องตามกฎหมาย
ผู้ร้องกับสามีจองซื้อบ้านและที่ดินไว้ ต่อมา อ.สามีทิ้งร้างไปผู้ร้องไม่อาจกู้เงินและจดทะเบียนจำนองบ้านและที่ดินที่จองไว้ จึงร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ อ. จัดการขอกู้เงินพร้อมกับจดทะเบียนจำนองบ้านและที่ดินไว้กับบริษัท ค.และอนุญาตให้อ. จัดการโอนสิทธิการจองบ้านและที่ดินดังกล่าวให้กับบุคคลภายนอกต่อไป ดังนี้ เป็นการยื่นคำร้องขอแทน อ.โดยที่อ. มิได้มอบอำนาจให้ผู้ร้องกระทำการแทน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะยื่นคำร้องขอดังกล่าวได้
คำว่า"อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1478 นั้น หมายความถึงให้ฝ่ายที่ต้องการได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่มีเหตุขัดข้องตามที่บัญญัติไว้มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจัดการเกี่ยวกับสินสมรสแต่ฝ่ายเดียวแทนการให้ความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้ มิใช่ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องแทน อ.โดยอ.มิได้มอบอำนาจไม่
คำว่า"อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1478 นั้น หมายความถึงให้ฝ่ายที่ต้องการได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่มีเหตุขัดข้องตามที่บัญญัติไว้มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจัดการเกี่ยวกับสินสมรสแต่ฝ่ายเดียวแทนการให้ความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นได้ มิใช่ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องแทน อ.โดยอ.มิได้มอบอำนาจไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้รับผิดในค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน
ในคดีละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายบุญมาก มั่งคั่ง (ลูกจ้างขับรถของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถึงแก่ความตายในอุบัติเหตุครั้งนี้) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะขาดอุปการะจากจำเลย ในฟ้องแย้งของจำเลยก็ไม่ได้แสดงว่าตนมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรที่จะเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 2 ทั้งในคำขอก็ไม่ได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะให้โจทก์ที่ 1 หรือที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่ตน จึงต้องถือว่าจำเลยประสงค์ให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของนายบุญมาก มั่งคั่ง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีก่อนผูกพันคู่ความและคู่สมรสในการฟ้องคดีใหม่ที่มีประเด็นข้อพิพาทซ้ำ
คดีก่อนศาลแพ่งได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินรายพิพาทมาจากนายพงษ์และนางถวิล สังข์เลี้ยง โดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิแล้วและต่อมายกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรายพิพาทโดยชอบโจทก์ไม่อาจยกการได้กรรมสิทธิ์โดยทางครอบครองซึ่งมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นต่อสู้ โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านประการใด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณามิให้โต้เถียงเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ส่วนโจทก์ร่วมนั้นในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 พิพาทกันในคดีก่อน โจทก์ร่วมยังเป็นภริยาของโจทก์อยู่ ถึงแม้โจทก์ร่วมจะได้ร่วมกับโจทก์ครอบครองที่ดินรายพิพาทมา ที่ดินรายพิพาทก็เป็นสินสมรสซึ่งโจทก์ในฐานะสามีมีอำนาจจัดการ การที่โจทก์เข้าต่อสู้คดีเกี่ยวกับที่ดินรายพิพาทย่อมเป็นการกระทำแทนโจทก์ร่วมด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 ดุจเดียวกัน ดังนั้นโจทก์และโจทก์ร่วมจะฟ้องคดีใหม่ว่า จำเลยที่ 1 มิได้ซื้อที่ดินและจำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์อันเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาในคดีก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนคู่สมรสฐานประพฤติชู้ ไม่ถือเป็นการเป็นปฏิปักษ์ร้ายแรงต่อการเป็นสามีภริยา
การที่จำเลยร้องเรียนกล่าวโทษโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาเป็นการกระทำด้วยอารมณ์หึงหวงอันเนื่องมาจากถูกโจทก์ทอดทิ้งแล้วโจทก์ไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น การกระทำของจำเลยยังไม่เพียงพอที่จะถือว่า ได้ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีโดยความยินยอมของคู่สมรส: ฟ้องสมบูรณ์เมื่อได้รับการแก้ไขตามกฎหมาย
ภริยามิได้ให้ความยินยอมในขณะสามีฟ้องคดี แต่มาให้ความยินยอมแก้ไขข้อบกพร่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วฟ้องของโจทก์สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย แม้จะแยกกันอยู่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของช. โดยสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5และไม่ได้หย่าร้างกัน ช. คงอยู่ร่วมบ้านกับจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ กับโจทก์ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมคงได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 โดยขณะที่ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับ อยู่ ขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบัญญัติว่า "ผู้ที่จะรับ บุตรบุญธรรม ... ฯลฯ .... ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอม ของคู่สมรสนั้นก่อน เว้นแต่คู่สมรสนั้นวิกลจริตหรือสูญหายไป ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" เห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์จะคุ้มครองสิทธิ ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเมื่อโจทก์เป็นภริยาคนหนึ่งของ ช. การที่ ช.รับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมจึงจำต้องได้รับความ ยินยอมจากโจทก์ด้วย จะได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้อยู่ร่วมบ้านกับ ช. โจทก์ก็ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตหรือสูญหาย ไม่เป็นเหตุให้ ช.รับจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมของ ช. ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2524)