พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2822/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้: การแปลงหนี้และการรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ทำบันทึกรับสภาพหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และมีข้อตกลงด้วยว่า แม้จำเลยที่ 1ตกลงแปลงหนี้ด้วยประการใด ๆ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังคงยอมรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่แปลงด้วยตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันมีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะยอมรับเป็นผู้ค้ำประกันเฉพาะกรณีที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงแปลงหนี้ใหม่เท่านั้น ดังนั้นแม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาดังกล่าวยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนยอดเงิน114,619 บาท บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นสัญญาที่เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้แต่เป็นเพียงบันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดใช้ค่าเสียหายในจำนวนยอดเงิน 114,619 บาท เท่านั้นย่อมไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 รับสภาพหนี้ และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยินยอมค้ำประกันในหนี้จำนวนดังกล่าว เพราะจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ เช่นว่านี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค้ำประกันหลังชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: สิทธิของผู้ค้ำประกันในการยกข้อต่อสู้
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 จะบัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเรียกหนี้สินเฉพาะที่ห้างหุ้นส่วนหรือผู้เป็นลูกหนี้อยู่ในฐานะเช่นนั้นเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีก็ตาม แต่ตามมาตรา 694ก็ได้บัญญัติไว้ว่านอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันหรือจำเลยที่ 1 มีต่อเจ้าหนี้หรือโจทก์นั้น ผู้ค้ำประกันอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้หรือห้างดังกล่าวมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้ข้อสัญญาข้อ 2 และข้อ 5 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งเป็นลูกหนี้ในหนี้สินที่ลูกหนี้ยังคงมีอยู่ต่อธนาคารโจทก์ก็ตาม ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ซึ่งห้างลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ตามมาตรา 694 ไม่ ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างจึงชอบที่จะยกอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้และเมื่อนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ก. จนถึงวันฟ้องเกินกำหนด2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด & ค้ำประกัน: เจ้าหนี้มีสิทธิหักเงินเดือนผู้ค้ำประกันได้
สัญญาเช่าซื้อที่ ส. ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือนรวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนที่ระบุไว้ อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส. ไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ ส. ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส.หากไม่สามารถหักได้ส. มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่าส. ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส. และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อซึ่ง ส. จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส. ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้นจำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส. ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, อากรแสตมป์, และดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามเอกสารพิพาท เอกสารดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นการค้ำประกันเงินกู้และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้วงเงินสินเชื่อในหนี้ประเภทเงินกู้และกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้รายนี้โดยสิ้นเชิง หาใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กันไม่
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ในอนาคต: เอกสารรับรองความสามารถทางการเงินและการชำระหนี้แทน
ข้อความในเอกสารซึ่งมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3ขอรับรองจำเลยที่ 1 ว่ามีฐานะสมควรที่จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทนนั้น เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในอนาคตและเป็นการค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองฐานะทางการเงินที่มีข้อความยินดีชำระหนี้แทน ถือเป็นหนังสือค้ำประกัน
ข้อความในเอกสารซึ่งมีความหมายว่า จำเลยที่ 2และที่ 3 ขอรับรองจำเลยที่ 1 ว่ามีฐานะสมควรที่จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทนนั้น เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ในอนาคตและเป็นการค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันสัญญาค้ำประกัน: การบังคับชำระหนี้จากหลักประกันต้องสอดคล้องกับหนี้ของลูกหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 222, 368, 377, 378, 391
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย จำเลยที่ 2เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สำหรับค่าผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดในวงเงิน 478,500 บาท และค้ำประกันสำหรับขวดเปล่าขนาด 20 ลิตร ในวงเงิน180,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดตามสัญญา ซึ่งในแต่ละเดือนหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ควรได้รับผลกำไรจากน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 950 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน150,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 0.42 บาท เป็นเงินจำนวน 63,000 บาท ส่วนน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 20 ลิตร จำนวน 15,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 1.15 บาทเป็นเงินจำนวน 17,250 บาท รวมเป็นผลกำไรเดือนละ 80,250 บาท เมื่อตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวด กำหนดให้จำเลยที่ 1 รับน้ำดื่มบรรจุขวดของโจทก์ไปจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมา โจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญาเมื่อผลจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนี้ย่อมทำให้โจทก์ขาดผลกำไรและหากปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไรก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 10 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่ส่งหนังสือฉบับนี้ให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้จำเลยที่ 1ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หากโจทก์จะเลิกสัญญาก็ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงวันที่มีผลเป็นการเลิกสัญญาตามที่โจทก์เรียกร้อง
ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่ำจำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง 220,735 บาท กับดอกเบี้ยมีเพียงใด จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเพียงเท่านั้น
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดกับโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ต้องซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่าย จำเลยที่ 2เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สำหรับค่าผลิตภัณฑ์น้ำดื่มบรรจุขวดในวงเงิน 478,500 บาท และค้ำประกันสำหรับขวดเปล่าขนาด 20 ลิตร ในวงเงิน180,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายขาดผลกำไรจากการจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดตามสัญญา ซึ่งในแต่ละเดือนหากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ควรได้รับผลกำไรจากน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 950 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน150,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 0.42 บาท เป็นเงินจำนวน 63,000 บาท ส่วนน้ำดื่มบรรจุขวดขนาด 20 ลิตร จำนวน 15,000 ขวด อัตรากำไรขวดละ 1.15 บาทเป็นเงินจำนวน 17,250 บาท รวมเป็นผลกำไรเดือนละ 80,250 บาท เมื่อตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวด กำหนดให้จำเลยที่ 1 รับน้ำดื่มบรรจุขวดของโจทก์ไปจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2535 เป็นต้นไป ซึ่งปรากฏว่าในเดือนเมษายน 2535 จำเลยที่ 1 ก็เริ่มผิดสัญญา โดยรับน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้และหลังจากนั้นก็ผิดสัญญาตลอดมา โจทก์ก็มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ก็ยังคงไม่ปฏิบัติตามสัญญาเมื่อผลจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่นนี้ย่อมทำให้โจทก์ขาดผลกำไรและหากปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไรก็ยิ่งขาดประโยชน์มากขึ้น หากโจทก์รีบบอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 และจัดหาวิธีการจำหน่ายทางอื่นแล้วก็น่าจะมีโอกาสแก้ไขปัญหาความเสียหายดังกล่าวได้ แต่โจทก์กลับปล่อยเวลาล่วงเลยต่อไป จึงมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 10 วัน มิฉะนั้นให้ถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา แต่ส่งหนังสือฉบับนี้ให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2535 ถึงโจทก์ แจ้งถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้จำเลยที่ 1ขาดทุนและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ หากโจทก์จะเลิกสัญญาก็ขอให้ลดค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปแต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ยังปล่อยเวลาเนิ่นนานออกไปอีกระยะหนึ่ง จึงมีการปิดประกาศแจ้งหนังสือบอกเลิกสัญญาเพื่อให้จำเลยที่ 1 ทราบ พฤติการณ์ที่โจทก์ปล่อยให้ความเสียหายพอกพูนเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลายาวนานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ไม่พยายามบรรเทาความเสียหายตามที่สมควรจะกระทำได้ จึงไม่สมควรได้รับค่าเสียหายดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงวันที่มีผลเป็นการเลิกสัญญาตามที่โจทก์เรียกร้อง
ตามสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดที่พิพาทระบุว่า จำเลยที่ 1 ได้นำหลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2จำนวน 2 ฉบับ จำนวนเงินรวม 658,500 บาท มอบไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา และในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์ริบหลักประกันสัญญาหรือเรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้แล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควร ส่วนหนังสือค้ำประกันที่ำจำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์มีข้อความระบุว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนหลักประกันตามข้อสัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดดังกล่าวไม่ใช่กรณีที่คู่สัญญามีความมุ่งหมายให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำที่อาจริบได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377และ 378 และการที่สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดให้จำเลยที่ 1ต้องวางหลักประกันซึ่งกำหนดได้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนเนื่องจากจำเลยที่ 1มีหนี้ที่ต้องซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยต้องชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแก่โจทก์ และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็ต้องชำระค่าเสียหายซึ่งมีการกำหนดอัตราค่าปรับไว้ในสัญญาด้วยเช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีหลักประกันเพื่อความมั่นใจในการบังคับชำระหนี้เงินจากจำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1ไม่ชำระค่าน้ำดื่มบรรจุขวดหรือค่าเสียหายตามสัญญาได้โดยง่าย โดยสามารถบังคับจากหลักประกันนั้นได้ การจะพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากหลักประกันตามสัญญาได้เพียงใด จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่เป็นข้อสำคัญเสียก่อน หากปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์แล้ว จึงพิจารณาต่อไปถึงการบังคับชำระหนี้จากหลักประกัน กรณีที่สัญญาการเป็นตัวแทนจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดและหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2ระบุให้โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันได้โดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน เป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเท่านั้น หาใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 โดยไม่คำนึงว่าจำเลยที่ 1 จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่เพียงใดอันทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์เกินไปกว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ เมื่อหนี้ตามฟ้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียง 220,735 บาท กับดอกเบี้ยมีเพียงใด จำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามความรับผิดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเพียงเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมภริยาในหนี้ค้ำประกัน: การสัตยาบันและหนี้ร่วม
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยินยอมคู่สมรส ถือเป็นการสัตยาบันหนี้ร่วมค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้อันเกิดจากสัญญากู้เงินต่อโจทก์โดยจำเลยที่ 2 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในหนังสือให้ความยินยอมไว้โดยระบุว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ จำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 3 ทำนิติกรรมทุกอย่างกับโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าวหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(4) ซึ่งจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คพิพาทร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยมีระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย