คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
งดสืบพยาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 298 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7103/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการวินิจฉัยประเด็นไม่ครบถ้วนในคดีแรงงาน
ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ข้อ และให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานในประเด็นอื่น ๆนอกจากประเด็นข้อที่ 1 เพียงประเด็นเดียวว่า ค่าอาหารต้องนำมารวมคิดเป็นค่าจ้างด้วยหรือไม่ เมื่อประเด็นข้อนี้โจทก์มิได้แถลงรับข้อเท็จจริงใด ๆ ในคดี ทั้ง-ไม่มีข้อเท็จจริงที่จะฟังเป็นยุติที่ศาลแรงงานจะนำมาวินิจฉัยคดีของโจทก์ได้ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 เอกสารหมาย ล.2 และ ล.3 ที่ศาล-แรงงานนำมาวินิจฉัยก็เป็นพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งโจทก์มิได้รับว่าถูกต้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 85 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31และการที่โจทก์มิได้แถลงสละประเด็นข้อใด ประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานกำหนดไว้ 5 ข้อ จึงยังคงมีอยู่และศาลแรงงานต้องวินิจฉัย ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อที่ 1 เพียงข้อเดียวก็ไม่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง เมื่อคดียังมีประเด็นอื่นที่จะต้องวินิจฉัยอยู่เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยประเด็นข้อที่ 1 ข้อเดียวแล้วพิพากษา-ยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความ ข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาล เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วย ดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสองแล้ว
ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยความเพียงพอของข้อเท็จจริงและกำหนดประเด็นตามฟ้อง
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลเมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วยดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองแล้ว ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท อย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงยุติ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลมีอำนาจงดสืบพยานได้ในเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลเมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว จำเลยฎีกาโต้แย้งว่ายังไม่ควรยุติ ย่อมเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมามีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ แต่คำฟ้องระบุว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดและจำเลยได้บุกรุกเข้าไปโค่นยางพาราและปลูกยางพาราขึ้นใหม่ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยโค่นยางพาราและปลูกยางพาราในที่ดินของจำเลยเอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การนั่นเอง และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้วก็ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยจะต้องวินิจฉัยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันซึ่งจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ตามแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ในขณะที่จำเลยอ้างว่ามีสิทธิเพียงครอบครองเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยเพราะโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ เมื่อฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกนั่นเอง ดังนั้น การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ก็หาทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิมไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5146/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากและเช่า การงดสืบพยานไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับซื้อฝากมาจากจำเลยและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต่อมาจำเลยเช่าจนครบกำหนดตามสัญญา โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางซึ่งทำขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันเงินที่นาย บ. กู้ยืมไปจากโจทก์ต่อมานาย บ. ชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝาก จำเลยไม่เคยรับเงินตามสัญญาขายฝากหรือเช่าที่ดินพิพาทขอให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนให้ ดังนี้แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งยอมรับว่าสัญญาขายฝากและสัญญาเช่าทำขึ้นเพื่อประกันการกู้ยืมของนาย บ. ข้อเท็จจริงก็ยังฟังไม่ถนัดเสียทีเดียวว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด และสัญญาขายฝากกับสัญญาเช่าเป็นโมฆะหรือไม่ ทั้งสัญญาขายฝากถึงหากจะเป็นนิติกรรมอำพรางตกเป็นโมฆะแต่เอกสารสัญญาก็ยังเป็นหลักฐานการค้ำประกันการกู้ยืมได้สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจำเลยก็ปฏิเสธว่าไม่ทราบว่าเป็นการเช่าซึ่งต้องฟังข้อเท็จจริงโดยการสืบพยานหลักฐานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานเสียนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม, เอกสารสิทธิ, การงดสืบพยาน, และผลกระทบจากการถอนฟ้อง
ในวันสืบพยานจำเลยแต่ละนัด จำเลยนำพยานเข้าสืบครั้งละ1 ปาก คงมีการสืบพยาน 2 ปากเพียงครั้งเดียว และเลื่อนไปขอสืบพยานประเด็นอีกหลายปาก ซึ่งรวมพยาน 2 ปาก ที่ศาลชั้นต้นงดสืบด้วยศาลที่รับประเด็นไม่ได้สืบเพราะจำเลยไม่ไปศาล เมื่อส่งประเด็นคืนจำเลยขอเลื่อนคดีและแถลงรับรองว่าถึงวันนัดจำเลยไม่มีพยานมาสืบก็จะไม่ติดใจสืบ พอถึงวันนัดจำเลยไม่สามารถนำตัวพยานมาสืบได้ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วเห็นว่า พยานที่จำเลยจะขอสืบเป็นพยานแวดล้อมไม่ใช่ประเด็นหลักไม่เสียเปรียบในการต่อสู้คดี จึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานทั้งสองปาก ตามเหตุผลดังกล่าวพอถือได้ว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจงดสืบพยาน 2 ปากดังกล่าวจึงชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิเป็น3 กระทง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 โดยปรับบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ด้วยนั้นเห็นว่า เมื่อผิดบทเฉพาะตามมาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบททั่วไปตามมาตรา 264 อีก เอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) หมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบเสนอราคาเป็นเพียงคำเสนอที่จะขายหินให้แก่โจทก์ร่วมยังไม่แน่ว่าโจทก์ร่วมจะตกลงซื้อหินหรือไม่ ใบเสนอราคาดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ มิใช่เอกสารสิทธิตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยซึ่งปลอมใบเสนอราคาและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 850,000 บาท แก่โจทก์ร่วม แต่โจทก์ร่วมได้ถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความและพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้ความโดยงดสืบพยาน ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ซึ่งถือว่าไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์เห็นว่าชอบที่จะมีการสืบพยานต่อไป ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ ปรากฎว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 มิถุนายน 2533 โดยที่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา226 (2) แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องสืบพยานประเด็นเพิ่มเติม หากมีข้อพิพาทนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล.ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้ความชัดเจน
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล. ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานจากความผิดพลาดเรื่องวันนัด และผลกระทบต่อการประวิงคดี
ทนายจำเลยเคยขอเลื่อนคดี เพราะไม่มีพยานมาศาลโดยไม่ทราบเหตุขัดข้องมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีและกำชับให้จำเลยมาตามนัด ฝ่ายจำเลยก็ไม่มีผู้ใดมาตามนัดจะฟังได้ว่าทนายจำเลยจดวันนัดผิดและเมื่อมีการขอออกหมายเรียกพยานโดยระบุวันนัดผิด ศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้ออกหมายตามนั้นได้ ก็ไม่เป็นเหตุผลที่จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวได้ เพราะการให้ถือเหตุทำนองนี้เป็นข้อแก้ตัวอาจเป็นช่องทางให้คู่ความประวิงคดีได้ง่าย ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานฝ่ายจำเลย และนัดฟังคำพิพากษาจึงเหมาะสมแก่รูปเรื่องแล้ว
of 30