พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสมรสที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้นการที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จะเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69-70/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ยังไม่สิ้นสุดแม้แยกกันอยู่ และผลของการจดทะเบียนสมรสใหม่
สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แยกกันอยู่โดย ไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดกัน ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างสมรส แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หากมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน ถือเป็นสินเดิม
การที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกันเช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้นแม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกันและเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกันเช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้นแม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกันและเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างจดทะเบียนสมรส: เจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน แม้ฝ่ายหนึ่งออกเงินซื้อ
การที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. แม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย. ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีพิงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่.
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน.แต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกัน. เช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง. ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน. และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน. แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา. ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน. ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน. พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้น แม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญ.ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน. และเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกัน. ทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน.
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน.แต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกัน. เช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง. ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน. และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน. แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา. ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน. ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน. พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้น แม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญ.ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน. และเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกัน. ทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สิทธิในการรับมรดก
บิดามารดาของผู้เยาว์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตรและมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป ว่า บิดามารดาผู้เยาว์เป็นสามีภริยากัน อยู่ร่วมเรือนเดียวกันโดยเปิดเผย บิดาผู้เยาว์ได้แนะนำมารดาผู้เยาว์ต่อบุคคลอื่นว่าเป็นภริยา บิดาผู้เยาว์ เคยไปที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเพื่อแจ้งการเกิดของผู้เยาว์แต่ไม่สบาย จึงต้องกลับเสียก่อนแล้วให้คนอื่นไปแจ้งการเกิดแทน ดังนี้ ฟังได้ว่า บิดาได้รับรองผู้เยาว์เป็นบุตรแล้ว จึงถือได้ว่าผู้เยาว์เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดจากการเป็นสามีภริยา, การกลับมาอยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส, และสิทธิในมรดก
ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยมา เมื่อมิได้อุทธรณ์คัดค้านหรือมิได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งไว้โดยชัดแจ้ง อันจะให้ถือได้ว่าได้ตั้งประเด็นคัดค้านไว้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นยุติ จะฎีกาโต้เถียงต่อไปมิได้
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น โดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น โดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสามีภริยาที่สิ้นสุดลงและการไม่มีสิทธิในมรดกเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยมา เมื่อมิได้อุทธรณ์คัดค้านหรือมิได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งไว้โดยชัดแจ้ง อันจะให้ถือได้ว่าได้ตั้งประเด็นคัดค้านไว้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นยุติ จะฎีกาโต้เถียงต่อไปมิได้
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกันเมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นโดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้ โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกันเมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นโดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้ โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีสิทธิแบ่งครึ่ง
โจทก์จำเลยแต่งงานกันตามประเพณีนิยม(ไม่ได้จดทะเบียนสมรส) อยู่กินกันฉันสามีภริยาทำมาหากินร่วมกัน มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมานี้ย่อมเป็นของโจทก์จำเลยร่วมกันจำเลยมีสิทธิขอแบ่งได้ครึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุตรเสียชีวิต: กรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและรับรองบุตร
โจทก์ทำการสมรสโดยมิได้จดทะเบียน การสมรสนั้นจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์ เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรตาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 แล้ว โจทก์จึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร อำนาจปกครองจึงตกอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1538(5) และมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำให้บุตรตาย
บุตรนอกสมรสที่บิดายังมิได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่มีพฤติการณ์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุตรนั้น มาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิเพียงรับมรดกบิดาได้ตามมาตรา 1629(1) เท่านั้น ส่วนบิดาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิและหน้าที่ต่อบุตรนอกสมรสที่ยังมิได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแต่ประการใด
บุตรนอกสมรสที่บิดายังมิได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่มีพฤติการณ์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุตรนั้น มาตรา 1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิเพียงรับมรดกบิดาได้ตามมาตรา 1629(1) เท่านั้น ส่วนบิดาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิและหน้าที่ต่อบุตรนอกสมรสที่ยังมิได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบิดาที่ไม่จดทะเบียนสมรสและการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกสมรส
โจทก์ทำการสมรสโดยมิได้จดทะเบียน การสมรสนั้นจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรนอกสมรสของโจทก์ เมื่อโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1526 แล้ว โจทก์จึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร อำนาจปกครองจึงตกอยู่แก่มารดาตามมาตรา 1538(5) และมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำให้บุตรตาย
บุตรนอกสมรสที่บิดายังมิได้จดทะเบียนรับรองบุตรแต่มีพฤติการณ์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุตรนั้น มาตรา1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิเพียงรับมรดกบิดาได้ตามมาตรา1629(1) เท่านั้น ส่วนบิดาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิและหน้าที่ต่อบุตรนอกสมรสที่ยังมิได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแต่ประการใด
บุตรนอกสมรสที่บิดายังมิได้จดทะเบียนรับรองบุตรแต่มีพฤติการณ์เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าเป็นบุตรนั้น มาตรา1627 บัญญัติให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิเพียงรับมรดกบิดาได้ตามมาตรา1629(1) เท่านั้น ส่วนบิดาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิและหน้าที่ต่อบุตรนอกสมรสที่ยังมิได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรแต่ประการใด