พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148-3149/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับบัญชีระบุพยานและการฎีกาในปัญหาข้อจำกัดการสืบพยาน รวมถึงค่าขึ้นศาลสำหรับคำขอพิจารณาคดีใหม่
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ และไม่อนุญาตให้โจทก์สืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แม้โจทก์จะได้ยื่นคำแถลงแจ้งเหตุขัดข้องและจำเป็นที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนด และขอยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลชั้นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226(2)แล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้หยิบยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวมาในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
แม้ผู้ร้องจะนำสืบพยานฝ่ายเดียว แต่ถ้าเป็นพยานที่มีน้ำหนักและเหตุผลเป็นที่เชื่อถือได้ ศาลก็ย่อมจะรับฟังพยานเช่นว่านั้นแล้ววินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายชนะคดีได้
โจทก์ฎีกาเพียงแต่ขอให้พิจารณาคดีใหม่ มิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำนวนละ 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ข).
แม้ผู้ร้องจะนำสืบพยานฝ่ายเดียว แต่ถ้าเป็นพยานที่มีน้ำหนักและเหตุผลเป็นที่เชื่อถือได้ ศาลก็ย่อมจะรับฟังพยานเช่นว่านั้นแล้ววินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายชนะคดีได้
โจทก์ฎีกาเพียงแต่ขอให้พิจารณาคดีใหม่ มิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำนวนละ 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ข).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3008/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์แล้ว
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์โดย อ้างว่าจำเลยบุกรุกและเรียกค่าเสียหายเป็นเงินเดือนละ 50 บาท ถือได้ ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ ไม่เกินเดือน ละ 5,000 บาท เมื่อจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของสามีจำเลยซึ่ง มีที่ดินติดต่อ กับที่ดินของโจทก์ มิได้กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วย กรรมสิทธิ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จำกัดเฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ไขจำนวนเงินเพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษมิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาคดีไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีกคนหนึ่งจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น
การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีกคนหนึ่งจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดทรัพย์สิน: ค่าเสียหายจำกัดเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ไม่รวมค่ารื้อถอน
การกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้ทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เมื่อจำเลยกระทำละเมิดทำให้ตอม่อสะพานของโจทก์เสียหาย จำเลยก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการกระทำดังกล่าวเท่านั้น โจทก์จะให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการรื้อสะพานนั้นหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งข้อเท็จจริงในปัญหาความผิดทางอาญา และข้อจำกัดในการฎีกา
ฎีกาของโจทก์ที่โต้เถียง ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตาม ข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์ตามศาลชั้นต้นโดย อาศัยข้อเท็จจริง จึงต้องห้าม ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัดตามคำฟ้องและคำให้การ การนำสืบพยานนอกประเด็นทำไม่ได้
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญากู้ปลอมหรือไม่ และฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ ซึ่งศาลต้องสืบพยานตามประเด็นในคำฟ้องและคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 185 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นจดบันทึกคำแถลงของจำเลยในรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ 70,000 บาท และได้ชดใช้ให้โจทก์ที่โรงพยาบาลแล้วนั้น เป็นการบันทึกหลังจากมีการสืบพยานโจทก์แล้ว และโจทก์ไม่ได้ยอมรับ จึงไม่ทำให้คดีเกิดประเด็นเพิ่มเติมว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วหรือไม่ และจำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช็ค และการเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง กรณีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์โดยชอบศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย บริษัท ส. ผู้รับเช็คพิพาทจากจำเลยเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัท แม้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย ก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์จะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น โดยเฉพาะประเด็นค่าเสียหายที่จ่ายไปแล้ว
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันที่ถูกรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ชนเสียหายและเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวในขณะที่ถูกชน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดได้
จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ให้การว่า หากจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ก็รับผิดชอบไม่เกินจำนวน 100,000 บาท ของความเสียหายบุคคลภายนอกทั้งหมดที่เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ มิได้ให้การถึงว่าจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าทำรั้วที่เสียหายไปแล้ว 15,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 จะแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่า จำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่ารั้วไปแล้ว ก็เป็นเรื่องนอกประเด็น จำเลยที่ 2 จะฎีกาว่าความรับผิดของจำเลยที่ 2ต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกยังคงเหลือเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 85,000 บาทไม่ได้ เป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ให้การว่า หากจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ก็รับผิดชอบไม่เกินจำนวน 100,000 บาท ของความเสียหายบุคคลภายนอกทั้งหมดที่เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ มิได้ให้การถึงว่าจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าทำรั้วที่เสียหายไปแล้ว 15,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 จะแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลว่า จำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่ารั้วไปแล้ว ก็เป็นเรื่องนอกประเด็น จำเลยที่ 2 จะฎีกาว่าความรับผิดของจำเลยที่ 2ต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกยังคงเหลือเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 85,000 บาทไม่ได้ เป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.