คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดี: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด?
ป.วิ.พ.มาตรา 271 ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ย่อมมีความหมายว่าจะต้องดำเนินการเพื่อบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป
แม้จำเลยที่ 1 จะได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดร่วมกับจำเลยอื่นด้วย แต่จำเลยที่ 1 ทิ้งอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2529 จึงต้องถือว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 140 วรรคท้าย และมาตรา147 วรรคสอง หาใช่ว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดในวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2537 ก็ได้ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษจำคุกไว้2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยจำนอง: สิทธิบังคับจำนองยังคงมีอยู่ แต่จำกัดสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยย้อนหลังเกิน 5 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ติดต่อขอไถ่จำนองจากจำเลยที่ 1และที่ 2 และได้นำต้นเงินกู้ยืมไปวางไว้ ณ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว ตามใบเสร็จรับเงิน ซึ่งตามรายการวางทรัพย์เมื่อคำนวณแล้วจะเป็นต้นเงิน และรวมดอกเบี้ยค้างชำระ 5 ปีพอดี ย่อมแสดงว่าโจทก์ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในเรื่องดอกเบี้ยให้ปรากฏอยู่ในคำฟ้องแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 189 (เดิม) ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจากทรัพย์สินที่จำนองได้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกิน 5 ปี ขึ้นไปไม่ได้เมื่อโจทก์ยกอายุความเรียกดอกเบี้ยขึ้นต่อสู้แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เงินกู้และผู้รับจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันจะเรียกดอกเบี้ยจากโจทก์เกิน 5 ปี ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมจำกัดเฉพาะที่ดินสามยทรัพย์ การโอนสิทธิและหน้าที่เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดิน
โจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนภารจำยอมโดยมีเงื่อนไขว่า เจ้าของสามยทรัพย์จะเปิดให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นร่วมใช้ด้วยไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของภารยทรัพย์ และย่อมถือว่าประพฤติผิดสัญญา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับการให้ที่ดินสามยทรัพย์จากจำเลยที่ 1 ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ จำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินที่รับให้ไปจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่นผ่านที่ดินแปลงนี้มาร่วมใช้ทางภารจำยอมบนที่ดินของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ได้เปิดทางให้ผู้อื่นซึ่งมีบ้านอยู่ในที่ดินแปลงอื่นผ่านเข้ามาในที่ดินสามยทรัพย์แล้วผ่านทางภารจำยอมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะด้วย เป็นการประพฤติผิดสัญญาและ เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ภารยทรัพย์ โจทก์ขอให้เพิกถอน การจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับโอนมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำทางจำเป็นต้องพิจารณาจากทางออกสู่สาธารณะที่มีอยู่ หากมีทางออกอื่นย่อมไม่อาจบังคับทำทางจำเป็นได้
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบแต่มีทางที่โจทก์จะออกไปสู่ทางสาธารณะได้3ทางทางแรกยาว115เมตรทางที่สองยาว140.30เมตรทางที่สามยาว115.50เมตรโดยอาศัยผ่านที่ดินของผู้อื่นหากโจทก์จะทำทางผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะยาว84เมตรก็ใกล้กว่าทางอื่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นโจทก์จะถือเหตุเพียงเพื่อความสะดวกของโจทก์เท่านั้นหาได้ไม่เมื่อโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านที่ดินของจำเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอทำทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์จำกัดสิทธิฎีกาของผู้ค้ำประกัน - การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเฉพาะจำเลยหลัก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน18,327,369 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน 2,898,257.21 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ปรากฏว่าเฉพาะโจทก์เท่านั้นที่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพิ่มขึ้น จำเลยที่ 3หาได้อุทธรณ์ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 21,904,294.10 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวก็หามีผลทำให้จำเลยที่ 3ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย คือวันที่ 1 เมษายน 2534 ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8364/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ คดีเดิมห้ามฟ้องซ้ำ
ส.เคยยื่นฟ้องอธิบดีกรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยขอให้ศาลสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินโดยกล่าวหาว่าโฉนดดังกล่าวออกมาไม่ชอบทับที่ดินของตนแต่ผลที่สุดคดีตกลงกันได้ศาลได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไปแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของน. ภรรยาส. ซึ่งถึงแก่กรรมจึงมีความผูกพันตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในอันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ส.ทำไว้เมื่อข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความส. ตกลงจะไม่เรียกร้องที่ดินที่เหลือนอกเหนือจากที่ตกลงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความอีกโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกร้องหรือฟ้องกรมที่ดินหรืออธิบดีกรมที่ดินขอให้มีการเพิกถอนโฉนดที่ดินนั้นพร้อมที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกจากที่ดินโฉนดดังกล่าวซ้ำอีกและการที่จำเลยทั้งสองแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดว่าการออกโฉนดที่ดินและที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกจากโฉนดที่ดินดังกล่าวตามคำฟ้องเป็นการออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจึงไม่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีสิทธิใดๆเกี่ยวกับที่ดินตามคำฟ้องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำหลังทิ้งฟ้อง: ศาลพิจารณาฟ้องแย้งเดิมได้ และจำกัดสิทธิการบังคับคดีกับจำเลยที่ 3
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ออก น.ส.3 ก.ทับที่ดินของจำเลย ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามฟ้องแย้งต่อไป แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก.เช่นเดียวกัน แม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น หามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไป เมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้ง การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์มีผลเสมือนมิได้ยื่นอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด20ปีนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปศาลฎีกาพิพากษายืนการทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนที่จำเลยฎีกาว่าสัญญาเช่ามีกำหนด20ปีจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ใช่วันทำสัญญาจองและคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์มีผลเสมือนมิได้ยื่น และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่ที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด20ปีนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปศาลฎีกาพิพากษายืนการทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นวาระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนที่จำเลยฎีกาว่าสัญญาเช่ามีกำหนด20ปีจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ใช่วันทำสัญญาจองและคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249
of 33