พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินค่าเสียหายระหว่างบังคับคดี ไม่ถือเป็นการยอมรับว่าไม่มีการฉ้อฉล
การที่โจทก์รับเงินที่จำเลยที่1วางเป็นค่าเสียหายที่ต้องชดใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นการดำเนินการชั้นบังคับคดีเมื่อจำเลยที่1ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์นั้นหาใช่เป็นการยอมรับว่าจำเลยทั้งสองมิได้ฉ้อฉลโจทก์ดังที่โจทก์ฟ้องและไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยฉ้อฉลและความประมาทเลินเล่อของผู้ซื้อ
โจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกับ อ.และเป็นมารดาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และ อ. โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจาก อ. จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีบ้านอยู่ในที่พิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 3 รู้ว่า อ.ไม่ยินยอมจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับส่วนแบ่งเงินจากการขาย เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทเฉพาะส่วนของ อ. จึงฟังว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือรู้เห็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขายที่พิพาทอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ แต่โจทก์มิได้สอบถาม อ.เมื่อพบกัน และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทักท้วงเกี่ยวกับลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจโจทก์ยังรับรองลายมือชื่อ อ.ทั้งที่ไม่เคยเห็น โจทก์จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
ค่าทนายความเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายแพ้คดีต้องรับผิดเพียงใดหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล
ค่าทนายความเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายแพ้คดีต้องรับผิดเพียงใดหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดต่อผู้ทรง แม้จะมีความสัมพันธ์กับผู้รับเช็คก่อนหน้า หากไม่มีหลักฐานการฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่บุคคลอื่น ดังนี้แม้จะรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยต่อสู้ แต่เมื่อเช็คพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์ในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ทรงต้องเสียไป จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้เงิน จ. และออกเช็คให้ จ. โดยมีข้อตกลงว่า จ. จะไม่โอนเช็คพิพาทให้แก่ผู้ใดและต่อมาจำเลยชำระหนี้แล้ว จ. ไม่คืนเช็คพิพาทให้ดังนี้ จำเลยจะยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับ จ. ขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คมิได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่สุจริต จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซื้อขณะสมรสโดยมิได้จดทะเบียน และการฉ้อฉลในการโอนขาย
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงานเงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วยอีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้ายเจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบการโอนทรัพย์ผ่านตัวแทน
โจทก์ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท.สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ. ไปดำเนินการการที่ อ. สืบทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบความดังกล่าวด้วยเพราะ อ. มีหน้าที่เพียงสืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปซึ่งเมื่อ อ.ทราบต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบเพื่อรายงานต่อไปยังโจทก์ ดังนี้แม้จะปรากฏว่า อ. ได้ทราบเรื่องการทำนิติกรรมโอนทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 แต่โจทก์ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2530กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันที่ 8 มิถุนายน2531 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบถึงการโอนทรัพย์สินผ่านผู้รับมอบหมาย
เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท. สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้โจทก์ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ.เป็นผู้ไปสืบหา เมื่อ อ. ไปสืบและทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร การที่อ.ทราบก็ต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบ และสำนักงานกฎหมาย ท.ต้องรายงานให้โจทก์ทราบเพียงแต่อ. ทราบมิได้ถือว่าโจทก์ทราบด้วย เพราะ อ. มีหน้าที่เพียงแต่สืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลย เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปอ. มีหน้าที่เพียงแต่จะต้องรายงานต่อไปตามลำดับจนถึงตัวโจทก์ในวันที่ 10 มิถุนายน 2530 ถือว่าโจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลวันที่ 8 มิถุนายน 2531 ยังไม่พ้น 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำสืบพยานนอกคำให้การ: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการฉ้อฉล
จำเลยเบิกความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพื่ออำพรางสัญญาโครงการบูรณะโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่จำเลยร่วมทุนกับ ส.และพวก เป็นการนำสืบนอกคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เพราะการฉ้อฉลของ ส. กับพวก ทำให้จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา การรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยจึงต้องจำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การฉ้อฉล, นอกคำให้การ, และขอบเขตการรับฟังพยานหลักฐาน
จำเลยเบิกความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพื่ออำพรางสัญญาโครงการบูรณะโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่จำเลยร่วมทุนกับ ส. และพวก เป็นการนำสืบนอกคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เพราะการฉ้อฉลของ ส. กับพวก ทำให้จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยจึงต้องจำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้มีข้ออ้างเรื่องพินัยกรรมปลอม และจำเลยไม่เข้าข่ายผู้ถูกกำจัดมรดกเนื่องจากไม่มีหลักฐานการฉ้อฉล
คำฟ้องโจทก์แม้จะมีข้อความว่าพินัยกรรมปลอม แต่ก็มีข้อความต่อไปซึ่งเป็นการอธิบายว่าพินัยกรรมทำขึ้นขณะเจ้ามรดกมีอายุ94 ปี ไม่มีสติรู้สึกผิดชอบ หลงลืมและฟั่นเฟือน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้แล้ว และไม่ทำตามแบบจึงตกเป็นโมฆะ หรือเสียเปล่ามิใช่คำฟ้องหลายนัยขัดกัน คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยฉ้อฉลให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมแต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่าเป็นเช่นนั้น คงมีพยานปากหนึ่งอ้างว่า ผ่านไปเห็นการทำพินัยกรรมโดยบังเอิญ ขณะเห็นก็ยังไม่ทราบว่าที่บ้านจำเลยทำอะไรกัน และพยานปากนี้ก็ไม่ได้ระบุว่าจำเลยฉ้อฉลเจ้ามรดกในการทำพินัยกรรมแต่อย่างใด เช่นนี้พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า จำเลยได้ฉ้อฉลเจ้ามรดกให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(4) การที่พินัยกรรมระบุว่า ทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากที่ได้ดำเนินการตามข้อ 2 รวมทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งมีภายหลังจากที่ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ทั้งหมดขอแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่ากันและยกให้ผู้รับพินัยกรรมนั้น เป็นการระบุให้ทรัพย์สินอื่นที่ได้มาภายหลังทำพินัยกรรมให้เอามาแบ่งแก่ผู้รับพินัยกรรมฉบับนี้ จึงไม่รวมที่ดินพิพาทซึ่งเจ้ามรดกทราบว่าตนมีสิทธิก่อนทำพินัยกรรมและไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้ชัดเจนเช่นเดียวกับทรัพย์รายอื่น ๆดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์นอกพินัยกรรม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยนำผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกเป็นเงินเดือนละ 2,500 บาท ชำระแก่โจทก์นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นต้นไปจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องฎีกาในประเด็นนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือเช็คโดยชอบธรรมมีสิทธิฟ้องบังคับคดี แม้จะมีการโอนเช็คจากผู้ทรงคนก่อน โดยไม่มีเหตุฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คผู้ถือ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง และโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904และมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า ได้ให้เช็คพิพาทแก่มารดาโจทก์เพื่อเป็นประกันหนี้ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ เป็นคำให้การที่กล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลกับมารดาโจทก์ เท่ากับไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ขึ้นต่อสู้ จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คโดยไม่ต้องวินิจฉัยว่าเช็คมีมูลหนี้หรือไม่