พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8489/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การกระทำหลายกรรมต่างกัน การลงโทษปรับ
จำเลยที่ 2 จัดสร้างพระเครื่องและโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเช่าบูชาพระสมเด็จเหนือหัวตามสื่อต่างๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ และป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ หลายวันหลายเวลาโดยอาศัยช่องทางที่แตกต่างกันทั้งสถานที่และวิธีการชำระเงิน ซึ่งโจทก์ได้นำสืบถึงผู้เสียหายทั้ง 921 รายที่หลงเชื่อตามโฆษณาดังกล่าวและเช่าพระสมเด็จเหนือหัวที่จำเลยที่ 2 จัดทำขึ้นแต่ละรายไป ผู้เสียหายแต่ละคนต่างถูกหลอกลวงคนละวันคนละเวลา จำนวนเงินที่ถูกหลอกแตกต่างกัน ความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละรายจึงเป็นการกระทำที่แยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280-7281/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน, ฟ้องซ้ำ, คำขอคืนเงิน, ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 และร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 39 ถึงที่ 46 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกคำขอของโจทก์ในส่วนที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คนนั้น เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 44 บัญญัติให้คำพิพากษาคดีอาญาต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนดังกล่าวและมาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้ให้เหตุผลและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คน อันเป็นการเกินคำขอ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 เป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงต้องร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้ง 46 ด้วย และกรณีนี้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิถอนฟ้อง
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จึงไม่อาจถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคแรก สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: การกระทำความผิดกรรมเดียว แม้มีการจ่ายเงินหลายครั้ง
การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก และความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นการกระทำโดยหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและได้เงินหรือทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวง โดยผู้กระทำความผิดมีเจตนาให้เกิดผลต่อผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้ที่ถูกหลอกลวงแต่ละคน ส่วนเหตุการณ์ในภายหลังที่ผู้กระทำความผิดได้เงินหรือทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนอีกหลายคราว ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการหลอกลวงในครั้งแรก หาใช่เป็นการกระทำใหม่อีกกรรมหนึ่งไม่
ผู้เสียหายทั้งสิบได้นำนากหญ้าจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไปเลี้ยงตามคำแนะนำเชิญชวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก โดยจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก คู่ละ 20,000 บาท แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 นำนากหญ้าไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกและจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้กล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่ การได้รับเงินในครั้งต่อมาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินไปจากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 แม้จะต่างวาระกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน รวม 10 กรรม ตามจำนวนผู้เสียหาย
ผู้เสียหายทั้งสิบได้นำนากหญ้าจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไปเลี้ยงตามคำแนะนำเชิญชวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก โดยจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก คู่ละ 20,000 บาท แม้ต่อมาผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 นำนากหญ้าไปเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากครั้งแรกและจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เพิ่มเติมอีก 1 ครั้ง 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกไม่ได้กล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่ การได้รับเงินในครั้งต่อมาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินไปจากผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และที่ 8 แม้จะต่างวาระกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน รวม 10 กรรม ตามจำนวนผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน องค์ประกอบความผิด การกระทำร่วมกัน และการบังคับคดีดอกเบี้ย
แม้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้เพียงว่าจำเลยพูดหลอกลวงชักชวน ป. ผู้เสียหายที่ 5 เพียงคนเดียวให้เข้าร่วมลงทุน ส่วนผู้เสียหายอื่นถูกผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่นพูดหลอกลวงชักชวนให้เข้าร่วมลงทุน แต่ความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนองค์ประกอบสำคัญคือ มีผู้ร่วมกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน และความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผู้กระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันโฆษณาหรือประกาศต่อประชาชนหรือกระทำการด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปในการกู้ยืมเงิน ผู้ร่วมกระทำความผิดอาจกระทำการในลักษณะแบ่งงานกันทำ ไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเอง เพียงจำเลยกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายที่ 5 โดยแนะนำตัวเองว่าเป็นผู้ช่วยผู้บริหารและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน พาผู้เสียหายที่ 5 เดินชมสถานที่ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 30 คน นั่งประจำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องจนผู้เสียหายที่ 5 หลงเชื่อและมอบเงินให้แก่จำเลย ส่วนผู้เสียหายที่ 1 ถึง 4 และที่ 6 ถึงที่ 11 ก็ถูกพวกจำเลยหลอกลวงในทำนองเดียวกัน แสดงว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกันหลอกลวงประชาชนและกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยแบ่งงานกันทำกับพวกจำเลย เป็นผลให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมอบเงินให้แก่จำเลยกับพวกตามฟ้อง จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนทั้งสิบเอ็ดกระทงตามฟ้อง
อนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปี ของต้นเงินที่จำเลยต้องคืนแก่ผู้เสียหายที่ 5 ด้วยนั้นชอบแล้ว เพราะเป็นผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิด จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวของต้นเงินแก่ผู้เสียหายทุกคนด้วย
อนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปี ของต้นเงินที่จำเลยต้องคืนแก่ผู้เสียหายที่ 5 ด้วยนั้นชอบแล้ว เพราะเป็นผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ระบุไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิด จำเลยต้องชดใช้ดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวของต้นเงินแก่ผู้เสียหายทุกคนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317-7318/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ มาตรา 4 (เดิม) โฆษณาชักชวนลงทุนอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกฎหมาย
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ในพระราชกำหนดนี้ "ผู้กู้ยืมเงิน" หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงิน และในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคล ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย" แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ป. และบริษัท ซ. แต่การที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมดำเนินกิจการกับบริษัททั้งสอง และได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกับบริษัททั้งสองดังกล่าวเป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย ทั้งนี้เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้ และเป็นผู้กู้ยืมเงินในความหมายของการกู้ยืมเงินตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 3 แล้ว
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันโฆษณาชักชวน แนะนำ แจกจ่ายเอกสารต่าง ๆ ให้แก่โจทก์ร่วมกับผู้เสียหายทั้งสี่และประชาชนทั่วไปให้นำเงินมาเปิดบัญชีลงทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนกับบริษัท ป. และบริษัท ซ. โดยจำเลยทั้งสองกับพวกรับรองว่าการลงทุนจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงในอัตราร้อยละ 1 ต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสองกับพวกรู้อยู่ว่าบริษัททั้งสองดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และไม่ได้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแต่อย่างใด อีกทั้งไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่โจทก์ร่วมกับผู้เสียหายทั้งสี่และประชาชนทั่วไปในอัตราดังกล่าวได้ จนจำเลยทั้งสองกับพวกได้เงินไป จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 4 (เดิม) แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 โดยให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่บทบัญญัติตามกฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่นำมาปรับใช้แก่คดี
การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4 (เดิม) แล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 5 อีก
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันโฆษณาชักชวน แนะนำ แจกจ่ายเอกสารต่าง ๆ ให้แก่โจทก์ร่วมกับผู้เสียหายทั้งสี่และประชาชนทั่วไปให้นำเงินมาเปิดบัญชีลงทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนกับบริษัท ป. และบริษัท ซ. โดยจำเลยทั้งสองกับพวกรับรองว่าการลงทุนจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงในอัตราร้อยละ 1 ต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสองกับพวกรู้อยู่ว่าบริษัททั้งสองดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และไม่ได้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแต่อย่างใด อีกทั้งไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายให้แก่โจทก์ร่วมกับผู้เสียหายทั้งสี่และประชาชนทั่วไปในอัตราดังกล่าวได้ จนจำเลยทั้งสองกับพวกได้เงินไป จึงเข้ากรณีเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 4 (เดิม) แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 โดยให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่บทบัญญัติตามกฎหมายใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่นำมาปรับใช้แก่คดี
การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4 (เดิม) แล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 5 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9555/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีการกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: เฉพาะรัฐเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดี
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา โดยได้บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ รวมถึงการปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าว ดังนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมทั้งแปดไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน" การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ไม่จำเป็นที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำการดังกล่าวต่อผู้เสียหายแต่ละคนด้วยตนเองทุกครั้งเป็นคราว ๆ ไป เพียงแต่จำเลยทั้งสองแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายแม้เพียงบางคน แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อนำเงินมาให้จำเลยทั้งสองกู้ยืม ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดแล้ว ข้อสำคัญที่ทำให้ความผิดสำเร็จอยู่ที่ในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้เงินกู้ยืมไปจากผู้ถูกหลอกลวง ทั้งการกระทำดังกล่าวโดยสภาพเป็นการกระทำต่อบุคคลหลายคนจึงอาจกระทำต่อบุคคลเหล่านั้นต่างวาระกันได้ การกระทำที่จะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระทำที่มีเจตนามุ่งกระทำเพื่อให้เกิดผลต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปหรือประชาชนเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง มิได้พิจารณาจากองค์ประกอบความผิดที่ต้องกระทำต่อบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้กระทำเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินจากโจทก์ร่วมทั้งสิบเจ็ด ผู้เสียหายที่ 11 และที่ 14 คนละวันเวลาและในสถานที่แตกต่างกัน โดยเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองแต่ละครั้งถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแล้ว จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การลงโทษหลายกรรม และการชักชวนผู้เสียหาย
พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืนเงินตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน" การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้น เพียงแต่จำเลยแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายบางคน แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาให้จำเลยกู้ยืม ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยไปชักชวนผู้เสียหายแต่ละคน คนละหลายครั้ง ดังนั้น การที่ผู้เสียหายแต่ละคนนำเงินมาให้กู้ยืมและจำเลยรับไว้ ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย คือ 14 กรรม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขเรื่องโทษได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6719-6720/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การโฆษณาผลตอบแทนสูงเกินจริง และความรับผิดของตัวแทนบริษัท
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5 กำหนดให้บุคคลใดก็ตาม ที่กระทำการตามองค์ประกอบความผิดในมาตรานี้เป็นผู้กระทำความผิด ไม่ได้กำหนดเป็นการเฉพาะแต่เพียงว่าผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเท่านั้น เมื่อจำเลยกับพวกในฐานะตัวแทนของบริษัท ท. ได้กระทำการในการจะกู้ยืมเงินด้วยการโฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป และจำเลยกับพวกจ่ายหรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าวว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ให้บริษัท ท. กู้ยืมเงินในอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ และจำเลยกับพวกไม่ได้พิสูจน์ว่ามีข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยกับพวกจึงมีความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5