พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,024 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีหมั้นและสินสอดที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีสิทธิในครอบครัว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนของหมั้น สินสอด และชดใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญาหมั้นแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 169,500 บาท เป็นคดีมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครัว: ทุนทรัพย์เกินสองแสน และไม่ใช่สิทธิสภาพบุคคล
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนของหมั้น สินสอด และชดใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญาหมั้นแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 169,500 บาท จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง คดีเช็ค
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ซื้อบุหรี่จากโจทก์ร่วมและออกเช็คพิพาทชำระหนี้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทนของโรงงานยาสูบย่อมฟังไม่ขึ้น ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทนของโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายนั้น เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมเป็นตัวแทน เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เหตุจากประเด็นไม่ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง และฎีกาไม่ชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ แต่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อโจทก์หรือไม่และเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อปลอมจึงพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอมหรือไม่ เมื่อปัญหาว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไปใช้โดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ไม่เป็นประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะต้องวินิจฉัย ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแทนศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังมิได้วินิจฉัย จำเลยไม่อาจฎีกาโต้แย้งคัดค้านได้ แม้จำเลยฎีกาในปัญหานี้มาก็ถือว่าเป็นฎีกาที่เกินเลยมา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 247
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และการพิจารณาค่าขึ้นศาลที่ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 จำเลยจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเท่านั้น ส่วนปัญหาที่ว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังมิได้วินิจฉัย จำเลยไม่อาจฎีกาโต้แย้งคัดค้านได้ แม้จำเลยฎีกาในปัญหานี้มาก็ถือว่าเป็นฎีกาที่เกินเลยมา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ที่ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเนื่องจากไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ชอบหรือไม่ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่จำเลยไม่เสียภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ที่ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องฎีกาและส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งจึงไม่ถูกต้อง
การตรวจสั่งรับหรือไม่รับฎีกาเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นสั่งแทนศาลฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งรับและวินิจฉัยฎีกาของจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและฎีกาใหม่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเดิม รวมถึงการชำระหนี้ไม่ครบถ้วนตามกฎหมายเช็ค
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันออกเช็คเพื่อชำระหนี้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยที่ 3 จะมาโต้เพียงในชั้นฎีกาว่า มิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 3 ไม่เป็นความผิดตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีกด้วย จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยทั้งสามนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค โดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหายหนี้ที่จำเลยทั้งสามออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงยังไม่ได้รับชำระครบถ้วนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 214 จึงไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะถือว่าคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ยังไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสามนำเงินตามจำนวนในเช็คพิพาทวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค โดยมิได้ชำระดอกเบี้ยแก่ผู้เสียหายหนี้ที่จำเลยทั้งสามออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นจึงยังไม่ได้รับชำระครบถ้วนสิ้นเชิงตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 214 จึงไม่มีผลให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะถือว่าคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาภาคราษฎร
คดีราษฎรฟ้องความอาญาต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่า ก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไปเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งให้ไต่สวนมูลฟ้อง เนื่องจากยังไม่ได้เป็นคู่ความ
คดีราษฎรฟ้องความอาญาต่อศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 165 วรรคสาม ตอนท้าย บัญญัติว่าก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น ในชั้นนี้จำเลยจึงไม่มีฐานะเป็นคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องต่อไป เป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินแทนการขายทอดตลาด: ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่จำนองแทนการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสาม