พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9657/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) กรณีเพิกถอนการขายทอดตลาด
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอน การขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้เพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง จะยังไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดก็ตาม แต่ในขณะที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นฎีกาต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 นั้น ป.วิ.พ. ได้ถูกแก้ไข เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 แล้ว โดยมาตรา 296 วรรคสอง กำหนดให้ความในวรรคนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง กับวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เนื่องจากราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยัง ศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นอันต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้เพิกถอนการขายทอดตลาดแม้ในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง จะยังไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดก็ตามแต่ในขณะที่ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นฎีกาต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน 2542 นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 แล้วโดยมาตรา 296 วรรคสองกำหนดให้ความในวรรคนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง และในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง กับวรรคสี่ ซึ่งบัญญัติขึ้นใหม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเนื่องจากราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควรนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด ฎีกาของผู้ซื้อทรัพย์จึงเป็นอันต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 309 ทวิวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7602/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อโต้แย้งเป็นดุลพินิจของศาล
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจเป็นฎีกาใน ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: ทุนทรัพย์น้อยเกินไป แม้โต้เถียงข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่และด้านทิศใต้อีกประมาณ 2 งาน ขอให้ขับไล่และใช้ค่าเสียหายจำเลยให้การว่า ที่ดินเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ฟังว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์พิพากษาให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ 600 บาทจำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาที่ดินพิพาทคือทุนทรัพย์ชั้นฎีกามีเพียง 101,500 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำท้า และประเด็นค่าอุปการะเลี้ยงดู
ข้ออ้างในฎีกาของจำเลยไม่มีข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ละเมิดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นไปตามคำท้า อันจะเป็นเหตุให้ฎีกาได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดไปตาม ประเด็นที่คู่ความตกลงท้ากัน และไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายหรือเป็นไปโดยไม่ชอบแล้ว จำเลย จะฎีกาโต้เถียงเพียงแต่ขอให้ลดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู ไม่ได้ ฎีกาจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด และพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 ก็ได้บัญญัติให้ผู้ที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องมาให้บันทึกในทะเบียนได้ จึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4451/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายโดยมีเหตุฉกรรจ์ เป็นความผิดฐานเดิมโดยไม่มีเหตุฉกรรจ์ ทำให้ฎีกาต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษา แก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก เป็นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้จาก ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตายโดยประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือกระทำโดยทรมาน และทารุณโหดร้ายมาเป็นความผิดฐานเดิมโดยไม่ประกอบด้วย เหตุฉกรรจ์ และแก้โทษที่ลงจาก 6 ปี เป็น 5 ปี จึงเป็นกรณี ที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำเลยจำคุกไม่เกิน ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท & ฎีกาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ประมาณ 17 ไร่ จำเลยมีคำสั่งให้แก้ไขเนื้อที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา โดยอ้างว่าน.ส.3 ของโจทก์เฉพาะที่ดินส่วนนั้นออกทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3ที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง เท่ากับกล่าวอ้างว่าคำสั่งเพิกถอนของจำเลยมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอน ซึ่งถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไข น.ส.3 ของโจทก์และขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไปก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท & ฎีกาข้อเท็จจริง – ที่ดินสาธารณประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ประมาณ 17 ไร่ จำเลยมีคำสั่งให้แก้ไขเนื้อที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือเป็นเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา โดยอ้างว่าน.ส.3 ของโจทก์เฉพาะที่ดินส่วนนั้นออกทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ 20 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3ที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง เท่ากับกล่าวอ้างว่าคำสั่งเพิกถอนของจำเลยมีผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินส่วนที่ถูกเพิกถอน ซึ่งถ้าหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมมีผลให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้แก้ไข น.ส.3 ของโจทก์และขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไปก็ตาม แต่การที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยต้องได้ความก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ มิใช่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ดังนั้น คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคำขออันเป็นประธาน เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 82,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณประโยชน์ และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 นั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาเรื่องใหม่ในข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในชั้นอุทธรณ์ แม้มีการชำระหนี้บางส่วนก็ไม่รับพิจารณา
ฎีกาจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกา แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจะปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์บางส่วน ก็ไม่เป็นเหตุที่ศาลฎีกาจะรับฎีกาของจำเลยไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องค่าทนายความโดยไม่ยกเหตุความผิดพลาดในการคำนวณค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยฎีกาว่า คดีนี้มีทุนทรัพย์สูงและเป็นคดีมีข้อยุ่งยาก ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความ 1,000,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 50,000 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในชั้นอุทธรณ์จำเลยทำคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว และข้ออ้างในฎีกาของจำเลยล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าทนายความที่โจทก์ผู้แพ้คดีต้องใช้แทนจำเลย นอกจากนี้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้แทนจำเลย ก็เป็นจำนวนที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว เมื่อจำเลยมิได้ฎีกายกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นกำหนดหรือคำนวณไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168 ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย