พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10022/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากการผ่อนชำระเป็นงวด และผลของการผิดนัดเพียงหนึ่งงวด
ตามหนังสือรับชดใช้สินค้าขาดบัญชีไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่วันผิดนัดซึ่งหนังสือรับชดใช้สินค้าขาดบัญชีดังกล่าวให้ชดใช้เป็นรายเดือน กำหนดชำระเสร็จใน 12 เดือน เริ่มชดใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 เป็นต้นไป อันเป็นการผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด แม้ไม่ได้ระบุว่าผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามเวลาที่ตกลงไว้แม้แต่งวดหนึ่งงวดใดก็ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ไม่ใช่ผิดนัดเฉพาะเพียงงวดนั้นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, อัตราดอกเบี้ยสูงสุด, กฎหมายบริษัทบริหารสินทรัพย์, การบังคับคดี, หักหนี้
ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ลักษณะแห่งตราสารอันดับที่ 7 ใบมอบอำนาจ หมายถึง ใบตั้งตัวแทน และในส่วนค่าอากรแสตมป์นั้นหากมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท หากมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ซึ่งแม้การตั้งตัวแทนนั้นอาจต้องมอบให้ตัวแทนกระทำการหลายอย่างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตัวการต้องการก็เป็นเรื่องปกติของการตั้งตัวแทนให้กระทำการแทนในกิจการต่าง ๆ แล้วแต่ว่ากิจการนั้นจะต้องกระทำการอย่างเดียวหรือหลายอย่าง และหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้ค่าอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับการกระทำแทนอย่างเดียวหรือหลายอย่างในการตั้งตัวแทนครั้งเดียว หากแต่กำหนดค่าอากรแสตมป์โดยเพียงให้ขึ้นอยู่กับการตั้งตัวแทนให้กระทำการเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งหากมอบอำนาจให้กระทำการได้หลายครั้งก็ต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท เท่านั้นโดยไม่จำกัดว่าในการกระทำการแทนหลายครั้งนั้น แต่ละครั้งจะต้องมีการกระทำกี่อย่าง ดังนั้น แม้ในการกระทำการแทนแต่ละครั้ง ผู้รับมอบอำนาจจะต้องกระทำการอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ก็คงต้องเสียค่าอากรเพียง 30 บาท เท่านั้น
โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากผู้ฝากเงิน แล้วนำมาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อโดยเฉพาะหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท คดีนี้มีมูลหนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อสินค้าจากผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจึงขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อประกอบการสั่งซื้อและชำระค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้านั้น โดยโจทก์ยอมตนเข้าผูกพันชำระเงินค่าสินค้าเองตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่โจทก์เป็นผู้ออก ซึ่งเมื่อโจทก์ชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแล้วย่อมถือว่าเป็นการให้สินเชื่อแก่จำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวแก่โจทก์ จึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อรับเอกสารจากโจทก์ไปใช้รับสินค้าจากผู้ขนส่งก่อน โดยตกลงจะชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายหลังตามเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จึงเห็นได้ว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาก่อผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการให้สินเชื่อแล้วเรียกเอาหนี้จากการให้สินเชื่อนั้นโดยตรง หาใช่กรณีที่โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่ต้องส่งมอบของแก่จำเลยที่ 1 หรือทำการงานหรือดูแลกิจการให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบหรือค่าการงานที่ทำหรือค่าดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 หรือเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนแต่อย่างใด จึงมิใช่สิทธิเรียกร้องอันมีกำหนดอายุความ 2 ปี แต่เป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ถือไม่ได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ส่วนที่อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (7) ด้วย นั้น ตามคำให้การก็ไม่ได้ให้การยกอายุความตามมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และเมื่อหนี้ตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นหนี้ร่วม การชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ สมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาดังกล่าวด้วย
โจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินจากผู้ฝากเงิน แล้วนำมาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อโดยเฉพาะหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท คดีนี้มีมูลหนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ต้องการซื้อสินค้าจากผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจึงขอให้โจทก์ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อประกอบการสั่งซื้อและชำระค่าสินค้าแก่ผู้ขายสินค้านั้น โดยโจทก์ยอมตนเข้าผูกพันชำระเงินค่าสินค้าเองตามเงื่อนไขในเลตเตอร์ออฟเครดิตที่โจทก์เป็นผู้ออก ซึ่งเมื่อโจทก์ชำระเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้นแล้วย่อมถือว่าเป็นการให้สินเชื่อแก่จำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวแก่โจทก์ จึงทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อรับเอกสารจากโจทก์ไปใช้รับสินค้าจากผู้ขนส่งก่อน โดยตกลงจะชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายหลังตามเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จึงเห็นได้ว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาก่อผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการให้สินเชื่อแล้วเรียกเอาหนี้จากการให้สินเชื่อนั้นโดยตรง หาใช่กรณีที่โจทก์เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่ต้องส่งมอบของแก่จำเลยที่ 1 หรือทำการงานหรือดูแลกิจการให้จำเลยที่ 1 แล้วเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบหรือค่าการงานที่ทำหรือค่าดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 หรือเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนแต่อย่างใด จึงมิใช่สิทธิเรียกร้องอันมีกำหนดอายุความ 2 ปี แต่เป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ถือไม่ได้ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ส่วนที่อ้างว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (7) ด้วย นั้น ตามคำให้การก็ไม่ได้ให้การยกอายุความตามมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และเมื่อหนี้ตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นหนี้ร่วม การชำระหนี้ดังกล่าวจึงเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ สมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8414/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลจำนองที่ดินเพื่อกู้เงิน - ความรับผิดทางละเมิด - หลักการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงประเด็นเดียวเรื่องอายุความ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ แม้ว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์คัดค้านประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ ไว้เนื่องจากประเด็นพิพาทข้ออื่นๆ นั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งเจ็ดได้สืบพยานมาจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ที่ยังไม่ได้วินิจฉัยให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่นๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยให้คดีเสร็จไปเสียทีเดียว โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามลำดับชั้นศาลก็ได้
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการ เป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นหลักเกณฑ์คนละกรณีกัน แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของโจทก์ที่ 1 จะมีคำสั่งลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและต่อมาอธิบดีกรมการปกครองจึงมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงหมาดไทย สรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบ วันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
ความรับผิดของบุคคลในทางอาญาต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอาญา ส่วนความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนั้น แม้พนักงานอัยการจังหวัดหนองคายจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วก็ตามโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
การสอบสวนทางวินัยเพราะเหตุบกพร่องต่อหน้าที่ราชการ เป็นคนละเรื่องกับการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่ง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นหลักเกณฑ์คนละกรณีกัน แม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้แทนของโจทก์ที่ 1 จะมีคำสั่งลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แล้ว แต่โจทก์ที่ 2 ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งและต่อมาอธิบดีกรมการปกครองจึงมีบันทึกเสนอปลัดกระทรวงหมาดไทย สรุปความได้ว่า กองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครองมีความเห็นว่า ผลการสอบสวนมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะดำเนินคดีอาญาและฟ้องคดีแพ่งเรื่องละเมิดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และผู้เกี่ยวข้องได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามรับทราบ วันที่ 14 ตุลาคม 2538 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจากปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
ความรับผิดของบุคคลในทางอาญาต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายอาญา ส่วนความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง หาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ดังนั้น แม้พนักงานอัยการจังหวัดหนองคายจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วก็ตามโจทก์ทั้งสองก็ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดทางแพ่งต่อโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6165/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยประเด็นการบังคับคดีหนี้สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ประเด็นดอกเบี้ยผิดนัด และการปรับลดค่าขึ้นศาล
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ ข้อ 7 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ยังค้างชำระซึ่งเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยอาศัยข้อตกลงอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดส่งดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งตอนท้าย และข้อตกลงเช่นว่านี้หาใช่เป็นสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลจะมีอำนาจปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ/ซ้อน & ดอกเบี้ยผิดนัด: สัญญาขายลดเช็ค, มูลหนี้ต่างกัน, อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
ก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 128 ฉบับ คือ ว. ที่ศาลแพ่งธนบุรี 2 คดี ซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ ว. ชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ และโจทก์ฟ้องบริษัท น. จำกัด ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ 2 คดี เช่นกัน ซึ่งศาลจังหวัดสมุทรปราการพิพากษาให้บริษัท น. จำกัด ชำระเงินตามฟ้องให้โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.21 และ จ.22 คดีตามเอกสารหมาย จ.21 ถึงที่สุด ส่วนคดีตามเอกสารหมาย จ.22 จำเลยอุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีทั้งสี่สำนวนดังกล่าวจำเลยผู้สั่งจ่ายยังไม่ได้ชำระเงินตามคำพิพากษาให้โจทก์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามคดีนี้ให้รับผิดตามสัญญาขายลดเช็ค ส่วนคดีเดิมทั้งสี่สำนวนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานนะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้การฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นการฟ้องเกี่ยวกับเช็คพิพาทชุดเดียวกัน แต่มูลหนี้คดีนี้เป็นคนละมูลหนี้กับคดีนี้เดิมและสภาพแห่งข้อหาต่างกัน ทั้งจำเลยก็เป็นคนละคนกัน กรณีมิใช่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง และมาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีที่โจทก์ฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คไว้ที่ศาลอื่น
ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินพิพาททุกฉบับ กำหนดว่าในกรณีผู้ขายผิดนัดธนาคารโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราสินเชื่อผิดนัดที่ธนาคารโจทก์ได้ประกาศให้เรียกเก็บจากลูกหนี้สินเชื่อผิดนัดในขณะนั้น ขณะทำสัญญาธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดร้อยละ 18 ต่อปี สัญญาดังกล่าวเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ซึ่งทำให้สิทธิโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลบังคับใช้ไม่เป็นโมฆะ
ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินพิพาททุกฉบับ กำหนดว่าในกรณีผู้ขายผิดนัดธนาคารโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราสินเชื่อผิดนัดที่ธนาคารโจทก์ได้ประกาศให้เรียกเก็บจากลูกหนี้สินเชื่อผิดนัดในขณะนั้น ขณะทำสัญญาธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดร้อยละ 18 ต่อปี สัญญาดังกล่าวเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ซึ่งทำให้สิทธิโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลบังคับใช้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยผิดนัดหลังศาลรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ และการลดเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ข้อ 24.9 กำหนดให้ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการตกเป็นผู้ผิดนัดเกิดผลตามข้อ 25.1 ให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสินเชื่อคงค้างทั้งหมดคืนได้ทันที และให้เจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสินเชื่อคงค้างทั้งหมดคืนได้ทันที แต่เจ้าหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามอัตราที่กำหนดไว้ตามสัญญาสินเชื่อเดิมได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดเป็นต้นไปเท่านั้น ทั้งดอกเบี้ยผิดนัดดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดชอบความเสียหายจากบัตรภาษี การทวงหนี้ และดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยที่ 2 ให้การว่า จำเลยที่ 2 เชื่อโดยสุจริตว่าบัตรภาษีตามฟ้องถูกต้องตามกฎหมาย ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักรจริงเพราะเหตุใด ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรตามใบขนสินค้าพิพาทจริงจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจำเลยที่ 2 สัญญาว่า หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนยินยอมรับผิดต่อโจทก์โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 เป็นความรับผิดในหนี้เงินอันเกิดแต่สัญญาและไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 คืนเงินชดเชย 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ขอให้คืนเงินชดเชย 1,779,673.94 บาท ครั้งที่สองวันที่ 14 สิงหาคม 2547 ขอให้คืนเงินชดเชยเพิ่มเติม 307,017.61 บาท ซึ่งเป็นการทวงถามถึงเงินชดเชยคนละจำนวนกันและตามหนังสือทวงถามดังกล่าวไม่อาจทราบได้ว่าฉบับใดเป็นการทวงถามถึงเงินชดเชยตามมูลค่าบัตรภาษีในคดีนี้ ตามหนังสือทวงถามทั้งสองฉบับระบุให้คืนบัตรภาษีหรือชดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ในหนังสือ แต่ตามใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 18 และ 19 จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 19 สิงหาคม 2547 ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาจะให้ระยะเวลาชำระหนี้เพียงใด นับได้ว่าทั้งสองกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงต้องถือว่าโจทก์มีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ทราบถึงการทวงถามครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 4 กันยายน 2547 และเมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมูลหนี้อันเกิดแต่สัญญาตามฟ้องแล้ว ดังนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้หรือเรื่องละเมิดหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุที่จะยกประเด็นดังกล่าวตามที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่ในการขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีจำเลยที่ 2 สัญญาว่า หากปรากฏว่าการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรของผู้โอนสิทธิเกิดจากการทุจริตและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนยินยอมรับผิดต่อโจทก์โดยไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 เป็นความรับผิดในหนี้เงินอันเกิดแต่สัญญาและไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 2 คืนเงินชดเชย 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ขอให้คืนเงินชดเชย 1,779,673.94 บาท ครั้งที่สองวันที่ 14 สิงหาคม 2547 ขอให้คืนเงินชดเชยเพิ่มเติม 307,017.61 บาท ซึ่งเป็นการทวงถามถึงเงินชดเชยคนละจำนวนกันและตามหนังสือทวงถามดังกล่าวไม่อาจทราบได้ว่าฉบับใดเป็นการทวงถามถึงเงินชดเชยตามมูลค่าบัตรภาษีในคดีนี้ ตามหนังสือทวงถามทั้งสองฉบับระบุให้คืนบัตรภาษีหรือชดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ในหนังสือ แต่ตามใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 18 และ 19 จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 และวันที่ 19 สิงหาคม 2547 ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาจะให้ระยะเวลาชำระหนี้เพียงใด นับได้ว่าทั้งสองกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงต้องถือว่าโจทก์มีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ทราบถึงการทวงถามครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547 ครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 4 กันยายน 2547 และเมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมูลหนี้อันเกิดแต่สัญญาตามฟ้องแล้ว ดังนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้หรือเรื่องละเมิดหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุที่จะยกประเด็นดังกล่าวตามที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้เงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่แน่นอน เจ้าหนี้ฟ้องได้ & คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้
สัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ข้อ 1 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวนทั้งสิ้น 160,000 บาท และในวันนี้ผู้กู้ได้รับเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว" ข้อ 2 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงส่งมอบเงินกู้ตามสัญญาในข้อ 1 โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ภายในระยะเวลาที่ผู้กู้ได้ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของผู้กู้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้เห็นได้ว่า หนี้ตามสัญญาได้เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 1 ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นเงื่อนไขให้จำเลยต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนที่แบ่งแยกเป็นของจำเลยได้ก่อนตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าว ไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้วจำเลยจะสามารถขายที่ดินได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใดเพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง
ก่อนฟ้องโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องมีข้อตกลงต่อกันไว้แต่อย่างใด
ก่อนฟ้องโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องมีข้อตกลงต่อกันไว้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5609/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สัญญาซื้อขายอาคารชุด: อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา และ ป.พ.พ. มาตรา 224
ดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามสัญญาเป็นการทั่วไปกรณีจำเลยที่ 1 ผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดพร้อมจดทะเบียนอาคารชุดให้เสร็จตามที่กำหนดในสัญญา ซึ่งเป็นดอกเบี้ยคนละประเภทกับกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น กรณีของจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงิน แต่จำเลยที่ 1 ไม่คืน จึงถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัดเป็นโมฆะ หากเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด สิทธิการเรียกร้องหนี้และการหักชำระหนี้
แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ในการคิดอัตราดอกเบี้ยไม่ได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โจทก์จึงได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดมาใช้บังคับ กรณีของจำเลยอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์นั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อชฎาทองเพื่อที่อยู่อาศัยซึ่งโจทก์เรียกเก็บได้เพียงร้อยละ 13.75 ต่อปี ตามประกาศของธนาคารโจทก์ข้อ 2.1.1 เท่านั้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 2 นั้น เป็นอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ระบุไว้ตอนท้ายของเอกสารต่างหาก และยิ่งไปกว่านั้นยังปรากฏว่าโจทก์ได้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลายครั้งหลายอัตราตามตารางรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งโจทก์คิดจากจำเลยมีบางรายการในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีบ้าง ร้อยละ 19.50 ต่อปีบ้าง และร้อยละ 24 ต่อปีก็มี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตอีกต่างหาก จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์เอง อันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ ดังนั้นเงินส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ทำให้โจทก์จำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยจะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แล้วโจทก์นำไปจัดการหักชำระหนี้ต่างๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเอง ประกอบกับโจทก์เป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนย่อมมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ฉะนั้นเมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วก็เท่ากับสัญญากู้ยืมเงินมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ทำให้โจทก์จำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยจะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แล้วโจทก์นำไปจัดการหักชำระหนี้ต่างๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเอง ประกอบกับโจทก์เป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนย่อมมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับทรัพย์นั้นคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ฉะนั้นเมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วก็เท่ากับสัญญากู้ยืมเงินมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด