พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5803/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่ และการใช้ดุลพินิจศาลในการไม่รอฟังผลคดีอื่น
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้รอฟังผลคดีอื่นให้ถึงที่สุดก่อน ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งการใช้ดุลพินิจของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการสั่งไม่รอฟังผลคดีอื่น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามมาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่งดสืบพยาน การประวิงคดี และการใช้ดุลพินิจของศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณาบันทึกว่าศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อเวลา 9.30 น. ต่อมาวันเดียวกันเวลา 14.45 น. ทนายจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ศาลสั่งรวมสำนวน ถือว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งศาลแล้วจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ จำเลยเคยขอเลื่อนคดีมา 2 นัดแล้ว นัดแรกจำเลยอ้างว่าป่วยครั้นถึงวันนัดที่สอง จำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ศาลได้ให้โอกาสจำเลยเลื่อนคดีนัดที่สองไปโดยกำชับให้จำเลยนำพยานที่จะสืบทั้งหมดมาศาลในวันนัดและเลื่อนคดีไปเป็นเวลาหนึ่งเดือนเศษ จำเลยยังไม่นำพยานมาศาลในวันนัดถือว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีศาลจึงชอบที่จะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การพิสูจน์สถานะผู้กระทำการแทนและดุลพินิจศาลที่ไม่รับฟังพยาน
ข้อเท็จจริงว่า นายอาษายังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างและไม่ใช่ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา84(1) เมื่อโจทก์ไม่นำสืบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้นำพยานมาเบิกความเพื่อยืนยันว่านายอาษายังคงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นเรื่องที่ศาลจะรู้ได้เองไม่จำต้องสืบพยานแล้วบันทึกเพียงว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 นั้นเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์นำพยานเข้าสืบในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการบังคับคดี: ไม่จำต้องรอผลคดีอื่น
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านโจทก์ชั้นบังคับคดีผู้ร้องยื่นคำร้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านที่โจทก์บังคับคดีร่วมกับจำเลย จำเลยได้ปลอมลายมือชื่อ ผู้ร้องนำที่ดินพร้อมบ้านไปขายฝากแก่โจทก์ ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และกรมที่ดินเป็นจำเลยขอให้เพิกถอน การที่จำเลยขายฝากที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีนี้ไว้เพื่อรอฟังผลคดีดังกล่าวก่อนเช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นจะรอฟังผลของคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องดังกล่าวหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ศาลชั้นต้นจำต้องรอฟังผลของคดีอื่นก่อนแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องรอฟังผลของคดีดังกล่าวจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เรื่องการรอการลงโทษในคดีอาญา
โจทก์ยื่นฎีกาขอไม่ให้รอการลงโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษปรับ 1,400 บาทอีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปีจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษ จำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมาก ก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: พิจารณาความจำเป็นและมิเป็นการเอาเปรียบ
แม้จำเลยจะคัดค้านการถอนฟ้อง แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่ประการใด เป็นการถอนฟ้องไปเพื่อที่จะฟ้องใหม่ โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ฟ้องของโจทก์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่มีข้อบกพร่องปรากฏให้เห็นว่าจะเป็นการถอนฟ้องไปเพื่อฟ้องใหม่อันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีแต่โจทก์มีความจำเป็นสำหรับจำเลยอื่นที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อน โดยข้อเท็จจริงที่เป็นที่มาแห่งความจำเป็นนี้ปรากฏแก่โจทก์หลังจากฟ้องคดีไปแล้วถ้าจะถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่จำเป็นโดยไม่ถอนฟ้องจำเลยในคดีนี้ทั้งหมด ก็จะทำให้ต้องมีการพิจารณาคดีในหนี้ที่โจทก์ฟ้องถึงสองครั้ง เป็นการเสียเวลาในการดำเนินคดีโดยไม่จำเป็น ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องรวมถึงจำเลยที่ 4ได้ แม้จำเลยที่ 4 จะคัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-สถาบันการเงิน-ความรับผิด-ค่าเสียหาย-ดุลพินิจศาล: การบ่ายเบี่ยงหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อของสถาบันการเงินทำให้ผู้เช่าซื้อเสียหาย
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1(ผู้ให้เช่าซื้อ) กับจำเลยที่ 2(ธนาคารผู้รับจำนองที่ดินที่ให้เช่าซื้อ) มีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1ยอมให้จำเลยที่ 2 รับเงินมัดจำ และเงินค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อทุกงวดแทนจำเลยที่ 1 ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อรายใดชำระเงินตามสัญญาเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 2 ยอมปลดจำนองให้แก่ผู้เช่าซื้อรายนั้นทันที เช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นเป็น3 ฉบับ โดยโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถือไว้คนละฉบับแสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้แล้วว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ดินจึงถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 2ที่เป็นลูกหนี้แล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและแจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนอง เพื่อให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ดำเนินการให้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์โดยตรง แต่ก็ยอมผูกพันตนในอันที่จะปลดจำนองและจัดการให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อที่ชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ดังนี้เมื่อโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อที่ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 ครบถ้วนแล้ว และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ปลดจำนองเพื่อจะได้รับโอนโฉนดที่ดินแปลงที่เช่าซื้อแต่จำเลยที่ 2 บ่ายเบี่ยงและต่อมากลับปลดจำนองให้จำเลยที่ 1โดยไม่จัดการให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ละเลยในการปฏิบัติการเพื่อร่วมชำระหนี้ตามสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้รับโอนที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่โจทก์เช่าซื้อให้แก่บุคคลอื่นไปทำให้สภาพแห่งการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาไม่อาจบังคับได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้รับโอนที่ดินตามสัญญา การที่โจทก์ไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเพราะจำเลยที่ 2 ทำผิดหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกดังกล่าว ความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการไม่ได้ที่ดินตามที่เช่าซื้อทั้งหมดจึงเป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญาของจำเลยที่ 2 โดยตรง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดในความเสียหายทั้งหมดร่วมกับจำเลยที่ 1 มิใช่รับผิดเพียงไม่เกินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 2 รับไว้เท่านั้น เจตนาของโจทก์ที่เช่าซื้อที่ดินก็ต้องการได้ที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเป็นสำคัญ การที่โจทก์ไม่อาจบังคับตามสัญญาเพื่อให้ได้ที่ดินนั้นมาตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์เสียหายมากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์มากกว่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไปแล้วดังกล่าวได้ ค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 วรรคแรกเมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 หวังว่าจะได้รับค่าเช่าซื้อ แต่ไม่ยอมรับรู้หน้าที่ตามสัญญาที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้ง ๆ ที่การที่โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อเพราะความเชื่อถือจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่อยู่ในความไว้วางใจของประชาชน แต่จำเลยที่ 2 กลับบ่ายเบี่ยงเลี่ยงละหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าคดีมีทุนทรัพย์ถึง 513,300 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ใช้ค่าทนายความเป็นเงิน 20,000 บาท ย่อมเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจศาลในการบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย และความรับผิดของเจ้าของที่ดินกับผู้ก่อสร้าง
บทบัญญัติตามมาตรา 42 วรรคสามแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมิได้บังคับเป็นการเด็ดขาดว่า ศาลจะต้องให้เจ้าของอาคารร่วมรับผิดในการรื้อถอนเสมอไปแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีว่าสมควรจะให้ผู้ใดเป็นผู้รับผิดในการรื้อถอน เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารมิได้ยินยอมอนุญาตให้มีการปลูกสร้างอาคารโรงจอดรถที่ต้องถูกรื้อถอน ทั้งเป็นผู้มาแจ้งให้เจ้าพนักงานทราบถึงการปลูกสร้างที่ผิดแบบ จึงไม่สมควรให้จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการรื้อถอนด้วย ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวต้องรับผิดในการรื้อถอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงดุลพินิจศาลในข้อเท็จจริง และการขอรอการลงโทษในความผิดที่มีโทษจำคุกเกินห้าปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 265 ให้จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า คำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในชั้นศาลไม่จำเป็นต้องรอคำพิพากษาคดีหลัก การเดินเผชิญสืบเป็นดุลพินิจศาล
การฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองเบิกความเท็จหาจำต้องรอให้ศาลพิพากษาคดีที่จำเลยเบิกความเท็จเสียก่อนไม่ เพราะความผิดเกิดตั้งแต่จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาลในคดีนั้นแล้ว
เมื่อจำเลยทั้งสองแถลงหมดพยานบุคคล และขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท โจทก์แถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีความจำเป็น แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้ทนายของคู่ความถ่ายภาพบ้านพิพาททั้งสองหลังส่งศาลแสดงว่าจำเลยทั้งสองพอใจคำสั่งศาลชั้นต้นและไม่ติดใจขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท การที่ศาลจะไปเดินเผชิญสืบหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 แสดงว่าบ้านพิพาทไม่ได้เป็นส่วนควบกับบ้านเลขที่ 75 อยู่ในตัว ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นเรื่องส่วนควบแล้ว
เมื่อจำเลยทั้งสองแถลงหมดพยานบุคคล และขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท โจทก์แถลงคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีความจำเป็น แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้ทนายของคู่ความถ่ายภาพบ้านพิพาททั้งสองหลังส่งศาลแสดงว่าจำเลยทั้งสองพอใจคำสั่งศาลชั้นต้นและไม่ติดใจขอให้ศาลชั้นต้นเดินเผชิญสืบบ้านพิพาท การที่ศาลจะไปเดินเผชิญสืบหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 แสดงว่าบ้านพิพาทไม่ได้เป็นส่วนควบกับบ้านเลขที่ 75 อยู่ในตัว ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นเรื่องส่วนควบแล้ว