พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ไพ่' ตาม พ.ร.บ.ไพ่ พ.ศ. 2486 แม้ไพ่ไม่ครบสำรับ แต่รวมกันแล้วใช้เล่นการพนันได้ ถือเป็นความผิด
ปัญหาว่าไพ่ของกลางเป็นไพ่ตามความหมายของ พระราชบัญญัติไพ่พ.ศ. 2486 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 แม้จำเลยไม่ได้ยกต่อสู้มาแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ คำว่าไพ่ตาม พระราชบัญญัติไพ่ฯ มาตรา 4 ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึงไพ่ซึ่งทำด้วยกระดาษหรือหนัง หรือซึ่งทำด้วยวัตถุอื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามพจนานุกรมให้ความหมายว่าหมายถึงเครื่องเล่นการพนันทำเป็นแผ่นบาง ๆ ของกลางในแต่ละถุงจะมีไพ่ไม่ครบสำรับอันจะมีลักษณะเป็นไพ่ แต่เมื่อรวม 2 ถุงแล้วจะมีไพ่ครบ 52 ใบ สามารถใช้เป็นเครื่องเล่นการพนันได้อย่างไพ่แม้จะทำด้วยกระดาษแผ่นบาง ๆ เล็กกว่าไพ่ป๊อกก็อยู่ในความหมายของคำว่าไพ่ตามพระราชบัญญัติไพ่ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฯ เกี่ยวกับการถอนสัญชาติไทย ต้องตีความตามกฎหมายหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ที่ว่า ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น คำว่า 'บิดา' ในประโยคที่ว่า 'บิดาเป็นคนต่างด้าว' กฎหมายมิได้กล่าวว่าให้หมายรวมทั้งบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายกฎหมายบทนี้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด คำว่า 'บิดา' ในที่นี้เป็นคำในกฎหมาย จึงต้องตีความว่าหมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
บ. คนสัญชาติญวนซึ่งเป็นบิดาโจทก์มิได้เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย บ. จึงมิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
บ. คนสัญชาติญวนซึ่งเป็นบิดาโจทก์มิได้เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย บ. จึงมิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508มาตรา 7(3) จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติ 'ขาย' ในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ครอบครองเพื่อขาย และความชอบด้วยกฎหมายของการฟ้องสองข้อหา
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำ เข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์" มีโทษตาม มาตรา 89 นั้น ไม่มีข้อความใดบัญญัติถึงโทษฐานมีไว้เพื่อขายก็ตาม แต่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้นิยามว่า "ขาย" ไว้ว่า หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ดังนั้น เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และพิพากษาลงโทษตาม มาตรา 89 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายก็โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายอันอันถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 13 ซึ่งมีบทบัญญัติลงโทษไว้ในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และขณะเดียวกันก็ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องที่ขัดแย้งหรือฟ้องที่ไม่มีบทบัญญติของกฎหมายให้ลงโทษและไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายก็โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายอันอันถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 13 ซึ่งมีบทบัญญัติลงโทษไว้ในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และขณะเดียวกันก็ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องที่ขัดแย้งหรือฟ้องที่ไม่มีบทบัญญติของกฎหมายให้ลงโทษและไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติด การตีความคำว่า 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ และความชอบด้วยกฎหมายของการฟ้อง
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย นำ เข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์" มีโทษตาม มาตรา 89 นั้น ไม่มีข้อความใดบัญญัติถึงโทษฐานมีไว้เพื่อขายก็ตาม แต่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ได้นิยามว่า "ขาย" ไว้ว่า หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยนส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ดังนั้น เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีน ซึ่งออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย จึงเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13และพิพากษาลงโทษตาม มาตรา 89 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายก็โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายอันอันถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 13 ซึ่งมีบทบัญญัติลงโทษไว้ในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และขณะเดียวกันก็ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องที่ขัดแย้งหรือฟ้องที่ไม่มีบทบัญญติของกฎหมายให้ลงโทษและไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายก็โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 4 ซึ่งให้คำนิยามของคำว่า "ขาย" ให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายอันอันถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 13 ซึ่งมีบทบัญญัติลงโทษไว้ในมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และขณะเดียวกันก็ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขายเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นฟ้องที่ขัดแย้งหรือฟ้องที่ไม่มีบทบัญญติของกฎหมายให้ลงโทษและไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าผสม: สินค้ามีส่วนประกอบพลาสติกเกิน 50% จัดเป็นพลาสติก ไม่ใช่กระดาษ
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 2 หมวด 10 ตอนที่48 ว่าด้วยกระดาษและกระดาษแข็ง ของที่ทำด้วยเยื่อกระดาษ ทำด้วยกระดาษหรือกระดาษแข็ง ได้มีหมายเหตุไว้ในข้อ 1 (จ) ใจความว่า ตอนนี้ไม่คลุมถึงของที่ทำด้วยวัตถุจำพวกพลาสติกหรือไฟเบอร์แข็ง ตามพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 เมื่อปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมีส่วนประกอบของพลาสติกเกินกว่าร้อยละ 50 การที่จำเลยจัดให้สินค้ารายพิพาทของโจทก์อยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 39.07 จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของที่ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 1 ข้อ 2 วรรคท้าย ประกอบด้วยข้อ 3(ข) สินค้ารายพิพาทจึงเป็นสินค้าประเภทแผ่นพลาสติก อันจะต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 อัตราร้อยละ 60 มิใช่กระดาษแข็งสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.09
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับสินค้าผสม: สินค้ามีส่วนประกอบพลาสติกเกินร้อยละ 50 จัดเป็นพลาสติกตามพิกัดอัตรา
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2503 ภาค 2 หมวด 10 ตอนที่48 ว่าด้วยกระดาษและกระดาษแข็ง ของที่ทำด้วยเยื่อกระดาษทำด้วยกระดาษหรือกระดาษแข็ง ได้มีหมายเหตุไว้ในข้อ 1(จ)ใจความว่าตอนนี้ไม่คลุมถึงของที่ทำด้วยวัตถุจำพวกพลาสติกหรือไฟเบอร์แข็ง ตามพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 เมื่อปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมีส่วนประกอบของพลาสติกเกินกว่าร้อยละ 50การที่จำเลยจัดให้สินค้ารายพิพาทของโจทก์อยู่ในพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 39.07 จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับของที่ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ.2503 ภาค 1 ข้อ 2 วรรคท้าย ประกอบด้วยข้อ 3(ข) สินค้ารายพิพาทจึงเป็นสินค้าประเภทแผ่นพลาสติก อันจะต้องเสียอากรขาเข้าในพิกัดอัตราประเภทที่ 39.07 อัตราร้อยละ 60 มิใช่กระดาษแข็งสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 48.09
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'เนย' ในพระราชกฤษฎีกาภาษีอากร และหน้าที่ในการชำระภาษีที่ถูกต้อง
การที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฯ(ฉบับที่ 28)พ.ศ.2511 และ (ฉบับที่ 57) พ.ศ.2518 นำคำว่า "นอกจากมันเนย" ไปต่อท้ายคำว่า "เนย" แสดงว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามประมวลรัษฎากรถือว่า "เนย" มีความหมายถึง "มันเนย" ด้วย จึงกำหนดข้อยกเว้นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ประสงค์จะเก็บภาษีการค้าสำหรับมันเนยในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ ฉะนั้นโจทก์นำสินค้ามันเนยเข้ามาในราชอาณาจักรช่วงเวลาที่พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่43) พ.ศ.2516 ซึ่งไม่ได้กำหนดยกเว้นสำหรับสินค้ามันเนยไว้บังคับ โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าร้อยละ 7 ของรายรับ
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89, 89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้ว มิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
โจทก์ผู้นำเข้ามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์ยื่นแสดงรายการค้าเพื่อเสียภาษีไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ทำให้จำนวนที่ต้องเสียภาษีคลาดเคลื่อน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจเรียก ให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89, 89 ทวิ
การที่โจทก์เสียภาษีนำสินค้าผ่านพิธีการศุลกากร โดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการค้าแล้ว มิได้หมายความว่าโจทก์ได้ชำระภาษีการค้าตามใบแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินในภายหลังว่าโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์ก็หาพ้นจากหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ "อัตราเดิม" ในข้อตกลงปรับค่าจ้าง: อ้างอิงค่าจ้างขั้นต่ำเดิม 47 บาท ไม่ใช่อัตราค่าจ้างปัจจุบันของลูกจ้าง
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยในการปรับค่าจ้างเป็นรายเดือนแก่ลูกจ้างรายวันมีว่า'ลูกจ้างรายวันที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันละ 47 บาทขึ้นไปทั้งนี้หากต่อไปมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่เป็นวันละเกิน 35 บาทแล้ว การพิจารณาปรับค่าจ้างเป็นรายเดือนแก่ลูกจ้างรายวันจะถือเอาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดที่บริษัทปรับให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่รวมกับอัตราเดิมเป็นเกณฑ์การพิจารณา' คำว่าอัตราเดิมตามข้อตกลงดังกล่าว หมายถึงอัตราค่าจ้างวันละ47 บาท ที่กำหนดไว้ในตอนต้นนั้นเอง ไม่ใช่อัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างหรือโจทก์แต่ละคนได้รับขณะทำข้อตกลง เพราะค่าจ้างที่โจทก์แต่ละคนได้รับไม่ได้ถูกนำมาระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงอันจะถือให้เห็นว่าเป็นอัตราเดิมเมื่อมีการปรับค่าจ้างใหม่จึงต้องนำค่าจ้างขั้นต่ำที่สุดที่ปรับให้มารวมกับอัตราค่าจ้าง 47 บาท และกลายเป็นอัตราเดิมตามข้อตกลงนี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337: ต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มีความว่า 'ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว ฯลฯ' คำว่า 'บิดา' ดังกล่าวน่าจะหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า 'บิดา'ที่ใช้ในพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 7,8,14,15,17,21 และ 24 ซึ่งมีความหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ได้ระบุใช้คำว่า 'บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย' ไว้แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีใดประสงค์จะเน้นให้แตกต่างจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นในมาตรา 18 ที่ระบุว่า มารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นคำว่าบิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงหมายความถึงว่าบิดาที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงขึ้นค่าจ้าง: การตีความขอบเขตและระยะเวลาของข้อผูกพัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีความว่านายจ้างตกลงขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประจำที่ทำงานครบ180 วันทุกคนวันละ 4 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2518 ฝ่ายลูกจ้างจะไม่เรียกร้องขึ้นค่าจ้างอีก จนถึงกำหนดการพิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีดังนี้หมายความว่าลูกจ้างที่ทำงานครบ 180 วัน ในวันทำข้อตกลงคือวันที่ 20 กันยายน 2518 จะได้ขึ้นค่าจ้างวันละ4 บาท โดยเริ่มขึ้นค่าจ้างให้ในวันที่ 21 กันยายน2518 ไม่มีข้อความตอนใดมีความหมายว่านายจ้างจะต้องขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกต่อไปทุกปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างในพ.ศ.2518 แล้วกรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยขึ้นค่าจ้างอีก