พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องและการโอนสิทธิครอบครองจากผู้ครอบครองเดิมเพื่อใช้เป็นหลักฐานสิทธิ
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยจำเลยซื้อมาจากบุคคลภายนอกนั้นประเด็นข้อพิพาทมีว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองทั้งศาลจะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้เพราะขัดแย้งกับที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องและต่างท้องที่: ผู้รับผิดชอบในการสอบสวน
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามที่โจทก์นำสืบ กับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน กรุงเทพมหานครและสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) (4) และวรรคสอง ฉะนั้น พันตำรวจโท ว. พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขันในขณะเกิดเหตุ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วเช่นนี้จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสาม (ก) การที่พันตำรวจโท ว.ได้ทำการสอบสวนคดีนี้หลังจากจับจำเลยทั้งสองได้แล้ว พันตำรวจโท ว.คงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเท่านั้น แต่พันตำรวจโท ว.มิได้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งมิใช่กรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา19 วรรคสาม (ข) ได้ เมื่อพันตำรวจโท ว.มิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จ ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องและต่างท้องที่: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและความผิดดังกล่าวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นและข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันรวมทั้งท้องที่สถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันและสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ท่ามะกา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคหนึ่ง(3),(4)และวรรคสองพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนแต่จำเลยทั้งสองถูกจับที่อำเภอ ท่ามะกา พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในกรณีจับผู้ต้องหาได้แล้วคือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ามะกา ซึ่งเป็นท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ก)พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันคงเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจเท่านั้นทั้งไม่เข้ากรณีที่จับผู้ต้องหายังไม่ได้อันจะถือว่าพนักงานสอบสวนท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจเป็น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา19วรรคสาม(ข)เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาล บางยี่ขันซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งมีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนเพื่อให้อัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา140,141แม้จะดำเนินการสอบสวนต่อไปจนเสร็จก็ถือไม่ได้ว่าได้มี การสอบสวนในความผิดนั้นก่อนโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคำขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหายย่อมตกไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเมื่อผู้ซื้อรู้ถึงสัญญาจะซื้อขายก่อนหน้า และประเด็นคำขอหลักต่อเนื่อง
ตามคำฟ้องโจทก์สามารถแยกข้อหาและคำขอบังคับออกได้เป็นสองส่วนส่วนหนึ่งคือจำเลยที่2ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่1โดยรู้ว่าจำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งคือจำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนไปแล้วขอให้บังคับจำเลยที่1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์พร้อมทั้งรับค่าที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้นย่อมจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลักคำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่องคดีนี้โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1และที่2เมื่อเพิกถอนแล้วจึงให้จำเลยที่1โอนขายให้โจทก์พร้อมรับชำระราคาส่วนที่เหลือจึงถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็นคำขอหลักคำขอให้จำเลยที่1ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเป็นคำขอต่อเนื่องจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10259/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเปิดเผย แสดงเจตนาเป็นเจ้าของ และต่อเนื่อง หากเจ้าของที่ดินแสดงกรรมสิทธิ์แล้วยอมคืน ย่อมไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาดูแลที่ดินทุกปีมิได้ทอดทิ้งส่วนผู้ร้องเมื่อเห็นว่าเจ้าของที่ดินมาดูแลที่ดินนานๆครั้งเนื่องจากอยู่ห่างไกลจึงถือโอกาสเข้าไปทำประโยชน์เป็นครั้งคราวที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นอื่นอีกหลายคนผู้ร้องไม่ได้ร้องขอครอบครองปรปักษ์ทั้งหมดเมื่อเจ้าของที่ดินรายใดแสดงกรรมสิทธิ์ผู้ร้องก็ยอมคืนที่ดินส่วนนั้นให้ไปโดยไม่ได้โต้แย้งแสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้ภารจำยอมต้องมีหลักฐานการใช้ทางต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ในที่ดินของตนเอง และต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ทั้งสองอ้างว่าได้ภารจำยอมมาโดยอายุความจากการเดินผ่านทางพิพาทซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401ประกอบด้วยมาตรา1382โจทก์ที่1จะต้องใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านออกไปจากที่ดินของโจทก์ที่1หรือผ่านเข้าไปในที่ดินของโจทก์ที่1ติดต่อกันเป็นเวลา10ปีจึงจะได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยตามที่ฟ้องแต่ปรากฏว่าในคำฟ้องมิได้กล่าวว่าโจทก์ที่1ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกในที่ดินของโจทก์ที่1มาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้คงกล่าวมีใจความเพียงว่าทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนและเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นใช้มาเป็นเวลาหลายสิบปีมีสภาพเป็นทางภารจำยอมที่ประชาชนใช้ร่วมกันตามคำฟ้องโจทก์นี้ไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์ที่1ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ที่1ดังกล่าวข้างต้นส่วนประชาชนจะได้ใช้ทางพิพาทนี้อย่างไรย่อมไม่เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ที่1แต่อย่างใดสำหรับโจทก์ที่2แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายว่าโจทก์ที่2เป็นผู้ใช้เส้นทางภารจำยอมบนที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ทะเลเป็นปกติประจำนานเกินกว่า40ปีแต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่2มีที่ดินที่จะได้รับประโยชน์จากทางภารจำยอมนั้นด้วยหรือไม่หากโจทก์ที่2ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองโจทก์ที่2จะอ้างว่าใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ในการออกสู่ทะเลไม่ได้เนื่องจากภารจำยอมจะเกิดขึ้นต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงมิได้กล่าวถึงข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการที่จะบังคับจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางพิพาทและไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8399/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมเกิดขึ้นจากการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้มีการตกลงร่วมกันก่อนหน้า
โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม จำเลย และผู้ร่วมซื้อที่ดินทุกคนตกลงกันว่ายอมให้จำเลยเลือกเอาที่ดินด้านที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 941 ของจำเลยตลอดแนวเป็นเนื้อที่ 2,400 ส่วน โดยไม่ต้องจับสลาก และจำเลยยอมให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม และผู้ร่วมซื้อคนอื่น ๆ ผ่านเข้าออกที่ดินโฉนดเลขที่ 941ของจำเลยไปสู่ถนนสามัคคีได้ เมื่อมีการทำแผนที่แบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยและถนนแล้วให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ร่วม และผู้ซื้อทุกคนตรวจดูเห็นว่าถูกต้องจึงได้จับสลากเป็นของแต่ละคน จำเลยได้จัดการถมดินในที่ดินแปลงย่อยทั้งสองของจำเลยและทำถนนต่อจากถนนที่ใช้ร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 875 ผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 941ไปสู่ถนนสามัคคี ซึ่งเป็นถนนสาธารณะ โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ใช้ประโยชน์จากถนนดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะตลอดมาตั้งแต่ปี 2520 โจทก์ที่ 3 ได้เข้าไปปลูกต้นไม้ และโจทก์ที่ 4 ได้เข้าไปปลูกบ้านและขุดบ่อเลี้ยงปลา ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ถนนดังกล่าวตามสิทธิตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้ภาระจำยอมมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดต่อเนื่องจากการคัดค้านหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ไม่ขาดอายุความ
แม้การที่จำเลยยื่นคำคัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์และสามีโจทก์เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ไม่ใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อคำคัดค้านของจำเลยยังไม่มีการเปรียบเทียบ ต้องถือว่าคำคัดค้านนั้นยังมีอยู่ตลอดไปการที่จำเลยไม่ยอมถอนคำคัดค้าน ทำให้คำคัดค้านนั้นยังมีอยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดต่อเนื่อง: การคัดค้านการออก น.ส.3ก. จนกว่าจะมีการถอนคำคัดค้าน
แม้การที่จำเลยยื่นคำคัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์และสามีโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยถอนคำคัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ไม่ใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 คดีของโจทก์จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อคำคัดค้านของจำเลยยังไม่มีการเปรียบเทียบ ต้องถือว่าคำคัดค้านนั้นยังมีอยู่ตลอดไปการที่จำเลยไม่ยอมถอนคำคัดค้านทำให้คำคัดค้านนั้นยังมีอยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7637/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมและการใช้ประโยชน์ที่ดินรถไฟ: ที่ดินรถไฟไม่อาจตกเป็นภาระจำยอม แม้มีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ข้อตกลงที่หม่อมหลวง ด.ยอมให้บริษัทรถไฟสร้างถนนผ่านที่ดินของหม่อมหลวง ด.เป็นทางเข้าออกจากสถานีรถไฟคลองสานสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยของบริษัทรถไฟโดยบริษัทรถไฟ มิได้ตกลงให้หม่อมหลวง ด.มีสิทธิใช้ที่ดินของบริษัทรถไฟ อันจะเป็นเหตุให้ถือได้ว่าหม่อมหลวง ด.มีสิทธิภาระจำยอมในที่ดินของบริษัทรถไฟ ดังนั้นไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะยังคงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองผู้รับโอนที่ดินของหม่อมหลวง ด. กับการรถไฟแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกิจการและทรัพย์สินของบริษัทรถไฟหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 เป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากโจทก์ทั้งสองและจากบุคคลอื่น โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้คำมั่นหรือรับรองว่าจะซื้อมาทำเป็นถนนหรือทางสาธารณะ แต่ทำถนนพิพาทขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 2ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ถนนสาธารณะ แต่ถือได้ว่าเป็นที่ดินรถไฟตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 3(2) และเป็นที่ดินที่ห้ามมิให้บุคคลใดยกกำหนดอายุความขึ้นต่อสู้เหนือที่ดินรถไฟดังกล่าว ตามมาตรา 6(1) ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงยังมีผลใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 3และ 16 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะใช้ถนนพิพาทมาแล้วนานเพียงใดถนนพิพาทซึ่งเป็นที่ดินรถไฟก็ไม่อาจตกเป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากโจทก์ทั้งสองและจากบุคคลอื่น โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้คำมั่นหรือรับรองว่าจะซื้อมาทำเป็นถนนหรือทางสาธารณะ แต่ทำถนนพิพาทขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 2ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ถนนสาธารณะ แต่ถือได้ว่าเป็นที่ดินรถไฟตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 มาตรา 3(2) และเป็นที่ดินที่ห้ามมิให้บุคคลใดยกกำหนดอายุความขึ้นต่อสู้เหนือที่ดินรถไฟดังกล่าว ตามมาตรา 6(1) ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ขัดหรือแย้งกับ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 จึงยังมีผลใช้บังคับได้ตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 3และ 16 ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์ทั้งสองและบริวารจะใช้ถนนพิพาทมาแล้วนานเพียงใดถนนพิพาทซึ่งเป็นที่ดินรถไฟก็ไม่อาจตกเป็นภาระจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสอง