พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2519/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายในสัญญาประกันภัยต่อ ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการต่างประเทศ
ถึงจำเลยจะเป็นเพียงบริษัทนายหน้าในการประกันภัย และที่ปรึกษาประกันภัย แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยแสดงออกในการติดต่อให้โจทก์นำเอาความเสี่ยงภัยที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปประกันภัยต่อแก่ผู้รับประกันภัยซึ่งอยู่ต่างประเทศนั้นเกินเลยกว่าการเป็นนายหน้า แม้ผู้รับประกันภัยต่อมิได้มีหนังสือแต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนให้กระทำในกิจการดังกล่าว แต่การปฏิบัติของผู้รับประกันภัยต่อได้ยินยอมให้จำเลยปฏิบัติงานแทนตนตลอดมา จำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้รับประกันภัยต่อในต่างประเทศโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ตัวการไม่จำต้องแต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 798 เมื่อตัวการซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต่ออยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยต่อแทนตัวการ จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยต่อตามลำพังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 จำเลยฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่ใช่บุคคลภายนอกตามความหมายในหมวดที่ว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก จำเลยไม่มีสิทธิรับประกันภัยตามกฎหมายเพราะไม่มีใบอนุญาตและไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัย จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานจำเลย แม้ไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ - สัญญาจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตหน้าที่ภาษีจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: กรณีตัวแทนจำหน่าย vs. ผู้ทำการแทน
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่าง-ประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษี-เงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎกร มาตรา 76 ทวิ
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎกร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าโดยผู้แทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่ในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าทีและความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศ: การเสียภาษีและข้อยกเว้นตามกฎหมายปิโตรเลียม
การที่สถาบันการเงินในต่างประเทศให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศกู้ยืมเงิน เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเพื่อหารายได้ในประเทศไทยนั้น เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทย ย่อมต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา70(2) โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทย ผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในต่างประเทศชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในต่างประเทศ เพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใด ก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืม บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร หรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ นั้น จะต้องเป็นบริษัทตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสถาบันการเงินในต่างประเทศที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงิน มิใช่เป็นบริษัทตามคำจำกัดความดังกล่าว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ, อำนาจฟ้อง, เครื่องหมายการค้า: การรับรองโดยโนตารีปับลิกเพียงพอ, สิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า
หนังสือมอบอำนาจที่กระทำในเมืองต่างประเทศ โดยมีโนตารีปับลิกรับรองว่า รองประธานบริษัทได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจต่อหน้าตนนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำเป็นต้องมีเจ้าพนักงานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองเป็นพยานอีกชั้นหนึ่ง แม้เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยจะรับรองหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ในภายหลัง เมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ทั้งจำเลยก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้ว ศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: เหตุเกิดในไทย แม้ฝากทรัพย์จากต่างประเทศ
จำเลยจะเดินทางจากประเทศซาอุดีอาระเบียกลับประเทศไทยผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยทราบว่าจำเลยมิได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้กับภริยาผู้เสียหายจึงได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลังแล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทยมิใช่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีจึงมีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ต่างประเทศในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย - การพิสูจน์สิทธิและการปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
มาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศส บัญญัติว่า "คนในสัญชาติอื่นมีสิทธิและหน้าที่ภายใต้กฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสเช่นเดียวกับที่คนสัญชาติฝรั่งเศสจะมีสิทธิและหน้าที่ในรัฐของคนชาตินั้นสังกัด" ดังนั้นแม้ไม่มีมาตราใดบัญญัติไว้โดยเฉพาะในกฎหมายล้มละลายของฝรั่งเศสเช่นเดียวกับกฎหมายล้มละลายแห่งประเทศไทย แต่เมื่อเจ้าหนี้นำ อ. มาเป็นพยานในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า อ. เป็นผู้ติดต่อกับประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งได้บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศสดังกล่าวแล้วมาประกอบ ซึ่งกฎหมายแพ่งของประเทศฝรั่งเศสดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติห้ามเจ้าหนี้ที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นเจ้าหนี้ในประเทศไทยก็อาจพิสูจน์หนี้ได้ทางนำสืบของเจ้าหนี้ย่อมเพียงพอรับฟังได้ว่าเจ้าหนี้ในประเทศไทยย่อมมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศฝรั่งเศสได้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายในประเทศไทยเมื่อเจ้าหนี้ไม่เคยได้รับหรือมีสิทธิรับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 นอกราชอาณาจักรถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขในมาตรา 178 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศเพื่อเอาทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาคือฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหาคนไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ได้ มีงานให้ทำจำนวนมาก รายได้และสวัสดิการดี หากประสงค์จะไปทำงานจะต้องเสียค่าบริการแก่จำเลยคนละ 15,000 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ เพราะความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่คนงานในต่างประเทศได้ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงมอบเงินให้จำเลยไป และจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้ผู้เสียหายทำได้ เป็นคำฟ้องที่แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจัดหางานให้ผู้เสียหาย เพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายเงินกำไรออกจากประเทศไทยโดยผ่านสาขาของบริษัทต่างชาติ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคแรก การพิจารณาว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีในประเภทการค้าใด ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงของลักษณะการกระทำของผู้ประกอบการค้าที่เกิดขึ้น จะเอาวัตถุที่ประสงค์ในตราสารหรือการที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้กระทำการนั้นมาเป็นตัวกำหนดในการวินิจฉัยไม่ได้ โจทก์เป็นเพียงผู้ได้รับประโยชน์บางส่วนในจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับมูลค่าของการขายระหว่างคู่กรณี โดยโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนประมาณร้อยละสี่ของราคาขาย เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการจัดจำหน่ายสินค้า อันเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนในการเป็นตัวแทนที่เข้าทำสัญญากับคู่กรณี ดังนี้ต้องถือว่า โจทก์กระทำการประกอบการค้าในประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า โจทก์ทำสัญญาหรือทำการใด ๆ อันเกี่ยวกับการประกอบการค้าในราชอาณาจักรแทนบริษัท อ. ผู้อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องถือว่าโจทก์มีสถานะเป็นสาขาของบริษัท อ. อันมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 76 ทวิ เมื่อโจทก์ส่งเงินกำไรของบริษัท อ. ซึ่งเกิดจากการซื้อขายในประเทศไทยออกไปจากประเทศไทย โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ในจำนวนเงินที่จำหน่ายนั้นตามมาตรา 70 ทวิ.