คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ที่ดินพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: แนวเขตที่ยึดถือครอบครองเป็นหลัก แม้มี น.ส.3 ก. ก็ไม่ผูกพัน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า ความเป็นเจ้าของต้องพิจารณาจากแนวเขตที่ดินที่ทั้งสองฝ่ายยึดถือครอบครองน.ส.3 ก. ของจำเลยเป็นเพียงคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินส่วนที่มิได้ยึดถือครอบครอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดิน น.ส.3 ก. ด้านทิศตะวันออกที่อยู่นอกเขตการยึดถือครอบครองของฝ่ายจำเลย และเมื่อโจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของตน ดังนี้ ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ในส่วนที่จำเลยมิได้ยึดถือครอบครองจึงเป็นที่ดินของโจทก์ จำเลยคงเป็นเจ้าของที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยยึดถือครอบครองในกรอบเส้นสีดำประในแผนที่พิพาท ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ที่พิพาทในกรอบเส้นสีแดงดำในแผนที่พิพาท เว้นแต่ที่ดินในกรอบเส้นสีดำประและให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของจำเลยด้านทิศตะวันออกเฉพาะส่วนที่โจทก์ครอบครองที่ดิน กับห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าที่ดินพิพาทและการเกี่ยวพันของฟ้องแย้งกับการฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยซื้อจากโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายกับเงินค่าเสารั้วล้อมรอบที่ดินพิพาท ซึ่งจำเลยให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อน จำเลยให้การว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์เนื่องจากโจทก์หลอกลวงว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ต่อมาเมื่อจำเลยทราบความจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกจะดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โจทก์ จำเลยและบุคคลภายนอกจึงตกลงกันให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่บุคคลภายนอก ทั้งโจทก์ยังต้องชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกแต่โจทก์ไม่มีเงิน จึงขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแทนไปก่อนจำเลยไม่มีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์อีกต่อไปนั้น แม้ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าที่ดินและค่าเสารั้วที่โจทก์ออกทดรองไปก่อนแต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของบุคคลภายนอกดังนั้น คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่า โจทก์ จำเลยและบุคคลภายนอกมีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่บุคคลภายนอกและโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอก โดยจำเลยเป็นฝ่ายออกเงินทดรองไปก่อน เพื่อนำไปสู่ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุคคลภายนอกหรือไม่ ดังนั้นแม้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการเรียกร้องให้โจทก์คืนเงินซึ่งจำเลยชำระให้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์เนื่องจากการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทก็ตาม แต่ก็เป็นประเด็นสืบเนื่องมาจากการซื้อขายที่ดินพิพาทรายเดียวกัน ฟ้องแย้งกับคำฟ้องเดิมจึงมีความเกี่ยวพันกัน ชอบที่จะพิจารณารวมกันได้ ฟ้องแย้งจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8294/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท & การวินิจฉัยผิดสัญญา: ศาลฎีกาเน้นการพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา & สิทธิของผู้เช่าที่ดิน
คชก.ตำบล ค. วินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดที่ 3 เป็นผู้เช่าทำนาของจำเลยแต่ผู้เดียว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะ คชก.จังหวัดยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์บุคคลอื่นที่อ้างว่าตนเป็นผู้เช่านาของจำเลยด้วย การที่ผู้ร้องสอดที่ 3 อาศัยสิทธิของ คชก.ตำบล ค.ที่ยังไม่ถึงที่สุดมาฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนขายที่พิพาทให้ จึงเป็นการฟ้องโดยที่ผู้ร้องสอดที่ 3ยังไม่มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 แม้จำเลยเจ้าของที่ดินไม่ได้แจ้งให้ผู้เช่านาทราบก่อนว่าจะขายที่พิพาทเป็นการละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นความผิดของโจทก์ที่ 1กับที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 โจทก์ที่ 1 และที่ 2 หรือผู้ร้องสอดที่ 1 ก็ยังมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยคืนมัดจำและชดใช้ค่าเสียหายด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา อันเป็นประเด็นข้อพิพาทสำคัญที่คู่ความจะต้องนำสืบให้ได้ความ และคดียังมีข้อโต้แย้งอีกมาก ซึ่งหากคู่ความยังติดใจในปัญหาเรื่องผิดสัญญาก็อาจนำคดีไปฟ้องร้องกันใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกมัดจำคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 1 กับที่ 3อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง คดีนี้แม้ผู้ร้องสอดที่ 2 จะไม่ได้ฎีกา แต่ผู้ร้องสอดที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยจึงเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ผู้ร้องสอดที่ 1 จะฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงผู้ร้องสอดที่ 2ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247 และสำหรับคดีนี้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกายังไม่ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ทำให้ผู้ร้องสอดที่ 1 มีสิทธิยื่นฎีกา แต่ โจทก์ที่ 1 กับที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อศาลฎีกาได้ วินิจฉัยคดีประเด็นในคดีนี้แล้วว่าไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะ ฟ้องเป็นคดีใหม่ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะส่งไปให้ศาลอุทธรณ์ พิจารณาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างผู้ครอบครองเดิม ผู้รับพินัยกรรม และผู้เช่า: การพิพากษาตามฟ้องแย้ง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวา อา รามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับจึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นเมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาท เป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของพ.ดังนี้กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่าใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7772/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินพิพาท: สิทธิของผู้รับจำนองสุจริต แม้ที่ดินนั้นเป็นสินสมรส
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อ ท.ภริยาจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ในเบื้องต้น ท.ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว เมื่อโจทก์คัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ท. โจทก์จึงต้องมีหน้าที่นำสืบให้เห็นตามข้อกล่าวอ้าง
ท.ภริยาจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดพิพาทไว้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ทราบว่า จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่งผู้ร้องจึงมิได้ให้ ท.นำจำเลยมาให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทตามระเบียบ และเมื่อโจทก์มิได้สืบพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ร้องรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริต จึงต้องถือว่าผู้ร้องรับจำนองโดยสุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ดังนี้การจำนองดังกล่าวจึงสมบูรณ์และมีผลผูกพันที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนองทั้งหมดทุกส่วน ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดพิพาททั้งหมดก่อนเจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแก้ไขรูปที่ดินและเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์, การครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
เดิม ค. ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน ต่อมา ค. ขอแก้ไขรูปที่ดินใหม่และแก้ไขเนื้อที่เป็น2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ให้รูปที่ดินและเนื้อที่ตรงกับที่ดินพิพาทที่ ค. มีสิทธิครอบครองอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้องตรงความจริง หลังจากนั้น ค. จึงโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ดังกล่าวจะออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ที่ไม่อาจเพิกถอนได้กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขรูปที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2และที่ 3 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวขัดต่อเหตุที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทมิได้งอกริมตลิ่ง แต่เกิดจากการตื้นเขินของลำน้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิมที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำ แต่ปัจจุบันติดที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยาวไปทางแม่น้ำ 61.80 เมตร สภาพของที่ดินพิพาทกับที่ดินอื่นซึ่งติดกับที่ดินพิพาทเป็นแนวยาวทอดไปตามริมแม่น้ำหลายกิโลเมตร ที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ จากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือมีลักษณะค่อย ๆ ลุ่มลึกลงบางตอนลึกท่วมศีรษะ ส่วนทางด้านทิศใต้ก็เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะลุ่มลึกน้อยกว่า เมื่อที่ดินพิพาทและที่ดินที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามแนวแม่น้ำนั้น เกิดจากกระแสน้ำได้เซาะที่ดินฝั่งตรงกันข้ามและบริเวณดังกล่าวน้ำไม่ไหลหมุนเวียน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กับที่ดินพิพาทเดิมมีลำรางคั่น น้ำท่วมถึงทุกปี แต่ระยะหลังลำรางตื้นเขินเพราะมีเขื่อนกั้นทำให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน เป็นที่งอกยาวไปตามแนวแม่น้ำ ที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการที่น้ำพัดพาเอาดินจากที่อื่นมาทับถมกันที่ริมตลิ่งตามธรรมชาติจนน้ำท่วมไม่ถึงทำให้เกิดที่ดินงอกออกไปจากริมตลิ่ง แต่เป็นทางน้ำที่ตื้นเขินขึ้นเพราะน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเดิมที่ดินพิพาทเป็นเกาะมีลำคลองกั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือและทางทิศใต้มีคลอง แต่ทางราชการได้ปิดกั้นคลองทำให้ลำคลองที่กั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงไปติดกับที่ดินของโจทก์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมสภาพของที่ดินพิพาทเป็นเกาะ เมื่อลำรางที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินและน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงติดกับที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามธรรมชาติแต่เป็นท้องทางน้ำที่ตื้นเขินแล้วขยายเข้ามาติดที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอก-ริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นท้องทางน้ำตื้นเขิน ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน
เดิมที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำ แต่ปัจจุบันติดที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยาวไปทางแม่น้ำ 61.80 เมตร สภาพของที่ดินพิพาทกับที่ดินอื่นซึ่งติดกับที่ดินพิพาทเป็นแนวยาวทอดไปตามริมแม่น้ำหลายกิโลเมตร ที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นที่ลุ่่ม ต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ จากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือมีลักษณะค่อย ๆ ลุ่ม ลึกลงบางตอนลึกท่วมศีรษะ ส่วนทางด้านทิศใต้ก็เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะลุ่มลึกน้อยกว่า เมื่อที่ดินพิพาทและที่ดินที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามแนวแม่น้ำนั้น เกิดจากกระแสน้ำได้เซาะที่ดินฝั่งตรงกันข้ามและบริเวณดังกล่าวน้ำไม่ไหลหมุนเวียน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กับที่ดินพิพาทเดิมมีลำรางคั่นน้ำท่วมถึงทุกปี แต่ระยะหลังลำรางตื้นเขิน เพราะมีเขื่อนกั้นทำให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน เป็นที่งอกยาวไปตามแนวแม่น้ำ ที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการที่น้ำพัดพาเอาดินจากที่อื่นมาทับถมกันที่ริมตลิ่งตามธรรมชาติจนน้ำท่วมไม่ถึงทำให้เกิดที่ดินงอกออกไปจากริมตลิ่งแต่เป็นทางน้ำที่ตื้นเขิน ขึ้นเพราะน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเดิมที่ดินพิพาทเป็นเกาะมีลำคลองกั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือและทางทิศใต้มีคลอง แต่ทางราชการได้ปิดกั้นคลองทำให้ลำคลองที่กั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตั้นเขิน น้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงไปติดกับที่ดินของโจทก์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมสภาพของที่ดินพิพาทเป็นเกาะเมื่อลำรางที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินและน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงติดกับที่ดินของโจทก์ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามธรรมชาติแต่เป็นท้องทางน้ำที่ตื้นเขิน แล้วขยายเข้ามาติดที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเพื่อเรียกร้องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ไม่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย จึงไม่มีสิทธิร้องสอด
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์ เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาเช่าและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ทั้งขอให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้ประการหนึ่งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยกล่าวอ้างเป็นของจำเลยหรือบุคคลอื่นใด คำร้องของผู้ร้องสอดอ้างเพียงว่า ผู้ร้องสอดครอบครองที่ดินพิพาทบางส่วน โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทบางส่วนดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ครอบครอง ดังนี้ ผู้ร้องสอดมิได้กล่าวอ้างเลยว่า ผู้ร้องสอดมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียกับจำเลยแต่อย่างใด ข้ออ้างของผู้ร้องสอดดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องสอดตั้งข้อพิพาทโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสิ้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่เพียงใดคงมีอยู่อย่างนั้น หากศาลพิพากษาขับไล่จำเลยย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในมูลแห่งคดีนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ คำร้องขอผู้ร้องสอดไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิร้องเข้ามาเป็นคู่ความ
of 51