คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิธนาคารในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แม้มีข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยเดิม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า หากตามประเพณีการค้า ซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอนำาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควร ตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วน ตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อน แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12.5 ต่อปี โจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ 12.5 ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ธนาคารมีสิทธิปรับดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. โดยไม่ต้องขอความยินยอมผู้กู้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดีหรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่างๆก็ดีผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อนแต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วนตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อนแม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ12.5ต่อปีโจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ12.5ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8313/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิธนาคารในการหักเงินจากบัญชีร้านค้าเมื่อได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากมาสเตอร์การ์ด
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 ระบุว่า ในกรณีที่ธนาคาร (จำเลย)ได้รับเซลส์สลิปและนำเงินเข้าบัญชีของร้านค้า (โจทก์) แล้ว ปรากฏในภายหลังว่าร้านค้าปฏิบัติผิดไปจากข้อตกลง... หรือกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้ธนาคารได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินจากสมาชิก... ร้านค้าจะต้องคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารได้รับปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวให้กับธนาคารพร้อมทั้งยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์คิดจากผู้กู้ยืม...โดยให้ธนาคารหักเงินดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดจากบัญชีเดินสะพัดตามที่ระบุไว้...เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เนื่องจากมีผู้นำมาสเตอร์การ์ดที่ออกโดยธนาคารในต่างประเทศซึ่งเป็นสมาชิกมาสเตอร์การ์ดระหว่างประเทศมาซื้อสินค้าจากโจทก์ตามข้อตกลง ครั้นเมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกมาสเตอรการ์ดแล้วได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีจึงต้องด้วยข้อตกลงที่ว่า กรณีอื่นใดอันเป็นผลให้จำเลยได้รับการปฏิเสธการจ่ายเงินตามบันทึกข้อตกลงข้อ 9 จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินออกจากบัญขีของโจทก์ได้ตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากบัญชีธนาคาร: พิจารณาจากฝากทรัพย์ ไม่ใช่ละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลย เช็คที่โจทก์สั่งให้จำเลยจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ถูกแก้ไขเดือนและปี ในข้อสำคัญและเห็นได้ชัดเจนจำเลยกระทำโดยประมาท จ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ชอบ ขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้เงินคืน เป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืน หาใช่เป็นการฟ้องในมูลหนี้ละเมิดไม่ อายุความต้องถือตามบทบัญญัติ เรื่องฝากทรัพย์ เมื่อมิใช่เป็นการฟ้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากบัญชีธนาคาร: พิจารณาจากฝากทรัพย์ ไม่ใช่ละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลยเช็คที่โจทก์สั่งให้จำเลยจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ถูกแก้ไขเดือนและปีในข้อสำคัญและเห็นได้ชัดเจนจำเลยกระทำโดยประมาทจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ชอบขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้เงินคืนเป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืนหาใช่เป็นการฟ้องในมูลหนี้ละเมิดไม่อายุความต้องถือตามบทบัญญัติเรื่องฝากทรัพย์เมื่อมิใช่เป็นการฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารและการดูแลรักษาเช็คของผู้สั่งจ่าย กรณีลายมือชื่อปลอม
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมมิใช่ลายมือของโจทก์ ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจบังคับการใช้เงินจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท 2 ฉบับ โดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะอ้างข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัย และถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันที เป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายหาได้ไม่
จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท 2 ฉบับ รวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีความรับผิดชอบในการตรวจสอบลายมือชื่อเช็คอย่างเคร่งครัด ละเลยทำให้เกิดความเสียหาย
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคาร การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้กับจำเลยกับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลย จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลย เป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ การที่เช็คพิพาทซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งมีการปลอมลายมือชื่อโจทก์นั้นแสดงว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบลายมือชื่อ แม้จะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆไปการที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้กับจำเลยกับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยจึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์จำเลยจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ การที่เช็คพิพาทซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งมีการปลอมลายมือชื่อโจทก์นั้นแสดงว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดเมื่อจ่ายเช็คปลอม แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด เหตุจากขาดความระมัดระวังในการตรวจสอบ
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยซึ่งต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆไปการที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้กับจำเลยกับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยจึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์จำเลยจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดตามที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ การที่เช็คพิพาทซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งมีการปลอมลายมือชื่อโจทก์นั้นแสดงว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังตรวจสอบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้ผู้ฝากมีส่วนประมาทเลินเล่อ
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมมิใช่ลายมือของโจทก์ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจบังคับการใช้เงินจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคหนึ่ง จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลยและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำจำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไปการที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท2ฉบับโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมจึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์จำเลยจะอ้างขอตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัยและถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันทีเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา1008วรรคหนึ่่งตอนท้ายหาได้ไม่ จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท2ฉบับรวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน
of 40