พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14961/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้นับโทษต่อเมื่อจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอื่น ศาลต้องรับคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษของจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 หรือไม่ อย่างไร เพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดมาในคำฟ้องหรือเป็นหน้าที่โจทก์ที่ต้องแถลงผลคดีให้ศาลทราบไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงในข้อที่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 3 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อตามคำให้การฉบับลงวันที่ 25 เมษายน 2557 โดยไม่ได้คัดค้านว่าไม่อาจนับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษจำเลยที่ 2 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1144/2555 ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14712/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีอาญาหลายคดีพร้อมกัน
โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 12 ธันวาคม 2557 ซึ่งคำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นเบิกจำเลยมาสอบคำให้การทั้งสองคดีในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 และมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยในวันดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นก่อนคดีนี้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้ติดต่อกันไป เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นนั้นมีหมายเลขคดีแดงที่เท่าใด ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้วโดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 5130/2557 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12156/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อและการแก้ไขคำพิพากษา: ศาลฎีกาห้ามแก้ไขคำพิพากษาเดิมแม้มีการอ้างเหตุใหม่
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีอาญาอีกคดีชอบหรือไม่ และถึงที่สุดแล้ว จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการนับโทษต่อและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยใหม่โดยอ้าง ป.วิ.อ. มาตรา 160 และ ป.อ. มาตรา 91 อีกไม่ได้ เพราะหากศาลฎีกาฟังตามที่จำเลยอ้างแล้ววินิจฉัยให้เพิกถอนการนับโทษต่อและออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลฎีกา ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุก: ผลของคำพิพากษาที่สั่งให้นับโทษต่อจากโทษอื่น และผลของการแก้โทษ
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งวันมีคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาโดยเปิดเผยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 และ 188 โดยคำพิพากษาไม่จำเป็นต้องถึงที่สุด เพราะเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยย่อมต้องถูกบังคับโทษตามคำพิพากษานั้น แม้ต่อมาภายหลังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะแก้โทษจำคุกก็ไม่มีผลต่อวันเริ่มโทษจำคุกแต่อย่างใด คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังแล้ว โดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต และนับโทษจำเลยต่อจากโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น การเริ่มนับโทษจำคุกจำเลยจึงต้องเริ่มนับเมื่อจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอาญาอื่นครบถ้วนแล้ว แม้ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้โทษของจำเลยเหลือเพียง 36 ปี 8 เดือน แต่ก็ยังคงให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อจากโทษจำคุกของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่มีผลต่อวันเริ่มนับโทษจำคุกของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15450/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและนับโทษต่อในคดียาเสพติด: ความผิดกรรมเดียวฯ และการพิจารณาโทษซ้ำซ้อน
คดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 นั้น ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีน ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57, 91 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง อันเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ด้วย เพียงแต่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157/1 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 กรณีฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในครั้งหลังจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่อย่างไรเพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้คัดค้านว่าไม่อาจนับโทษต่อได้ จึงนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่อย่างไรเพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดมาในคำฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้คัดค้านว่าไม่อาจนับโทษต่อได้ จึงนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4068/2554 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14917/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้นับโทษต่อจากคดีอาญาอื่น ไม่ต้องระบุรายละเอียดผลคดีเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3590/2556 ของศาลชั้นต้น กับขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาดังกล่าว ถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3590/2556 ของศาลชั้นต้นแล้ว โดยไม่จำต้องระบุรายละเอียดว่า คดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่ อย่างไร เพราะการขอให้นับโทษต่อหาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าต้องกล่าวรายละเอียดดังกล่าวมาในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวพันกัน โทษรวมต้องไม่เกิน 50 ปี ศาลฎีกาแก้ไขหมายจำคุก
ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 2,000 เม็ด และเฮโรอีน 1 หลอดบิ๊ก ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจนำจำเลยที่ 1 ไปตรวจค้นที่บ้านพักพบเมทแอมเฟตามีน 4,800 เม็ด และเฮโรอีน 2 หลอดบิ๊ก กับอาวุธปืนลูกซอง 1 กระบอก โจทก์แยกฟ้องเป็น 2 คดี ทั้งที่ลักษณะความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคดีเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกกระทงความผิดเป็นคดีเดียวกัน และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1111/2548 ของศาลชั้นต้น จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อของจำเลยที่ 1 จึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (3) คือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 50 ปี ไม่ได้ เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1111/2548 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ได้รับโทษจำคุกมีกำหนด 33 ปี 4 เดือน จึงนำโทษจำคุกในคดีนี้ไปนับต่อจากโทษในคดีดังกล่าวมีกำหนด 16 ปี 6 เดือน เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15230/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ ปลอมเอกสารและยักยอกทรัพย์ การนับโทษต่อ และอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างปี 2536 ถึงปลายปี 2542 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่ดังกล่าวร่วมกันปลอมใบรับเงินกู้ยืมและปลอมใบถอนเงินฝากของผู้เสียหายและยักยอกเงินของผู้เสียหาย ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายและในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนอาศัยโอกาสในการที่ตนเป็นพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและพนักงานบัญชีปลอมใบรับเงินกู้ของผู้เสียหาย ยักยอกปุ๋ยของผู้เสียหาย ยักยอกข้าวเปลือกของผู้เสียหาย ยักยอกน้ำมันดีเซลของผู้เสียหาย และยักยอกเงินของผู้เสียหาย แม้วันเวลาเกิดเหตุของคดีทั้งสองจะคาบเกี่ยวกัน มูลคดีอย่างเดียวกัน และผู้เสียหายทั้งสองคดีเป็นคนเดียวกันก็ตาม แต่เอกสารสิทธิและทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกันปลอมและยักยอกเป็นเอกสารสิทธิคนละฉบับกัน ทรัพย์คนละประเภทกัน และเงินคนละจำนวนกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรม ต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงมิใช่เป็นฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 54/2548 ของศาลชั้นต้น อันต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารสิทธิ และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายเดียวกัน เพียงแต่กระทำความผิดต่างวันเวลากัน เอกสารสิทธิที่ปลอมคนละฉบับ ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นคนละประเภท และเงินที่ยักยอกคนละจำนวนเท่านั้น ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับการกระทำความผิดคดีนี้ และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้ และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีทั้งสองคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คดีดังกล่าวและคดีนี้เป็นเรื่องปลอมเอกสารสิทธิ และยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายรายเดียวกัน เพียงแต่กระทำความผิดต่างวันเวลากัน เอกสารสิทธิที่ปลอมคนละฉบับ ทรัพย์ที่ยักยอกเป็นคนละประเภท และเงินที่ยักยอกคนละจำนวนเท่านั้น ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 สำหรับการกระทำความผิดคดีนี้ และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้ และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีทั้งสองคดีจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (2) กล่าวคือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 20 ปี ไม่ได้และเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีเดิม แม้ไม่มีการสืบตัวตนจำเลยในชั้นศาล แต่จำเลยยอมรับในชั้นอุทธรณ์
แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏในความเรื่องนี้ก็ตาม แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลยรับว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 3 ปี จริง ตามเอกสารแนบท้ายอุทธรณ์หมายเลข 1 ถือว่าความปรากฏแก่ศาลแล้ว จึงนับโทษจำเลยต่อตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6295/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์ในการแถลงคดีเพื่อขอให้นับโทษต่อ ศาลไม่ต้องตรวจสอบคดีเอง
เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้ศาลนับโทษต่อจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบว่าคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่ และลงโทษอย่างไร เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจนับโทษต่อให้ตามคำขอของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่แถลงให้ศาลทราบ แม้คดีดังกล่าวจะอยู่ในศาลเดียวกันก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลต้องรู้เองและศาลไม่มีหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบคดีนั้นด้วย