คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำเข้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ไม่ครอบคลุมความผิดฐานนำเข้าอาวุธปืน
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 5 มุ่งคุ้มครองเฉพาะความผิดฐานมีอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามเท่านั้น ไม่คุ้มครองถึงความผิดฐานนำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความคุ้มครองของ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ไม่ครอบคลุมความผิดฐานนำเข้าอาวุธปืนจากต่างประเทศ
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 5 มุ่งคุ้มครองเฉพาะความผิดฐานมีอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามเท่านั้นไม่ คุ้มครองถึงความผิดฐานนำเข้ามาจากภายนอกราชอาณาจักรซึ่งอาวุธปืนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทต่างประเทศได้ส่งเครื่องกรองฝุ่นมาให้โจทก์ตามที่โจทก์สั่ง และโจทก์ได้นำมาใช้ประจำหม้อเผาซิเมนต์ของโรงงานโจทก์แล้ว แต่บริษัทต่างประเทศส่งสินค้าซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องกรองฝุ่นมาให้ขาดไป จึงได้ส่งเพิ่มเติมมาภายหลังคือสินค้าตามฟ้อง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ส่งสินค้าตามฟ้องเข้ามาไว้ใช้แทนส่วนที่ชำรุด แต่บริษัทต่างประเทศที่ส่งเครื่องกรองฝุ่นมาให้โจทก์ได้ส่งสินค้าตามฟ้องมาเพิ่มเติมเพราะส่งขาดไปเมื่อสินค้าดังกล่าวเป็นส่วนประกอบของเครื่องกรองฝุ่นที่ใช้ประจำหม้อเผาซิเมนต์ของโรงงานโจทก์จึงเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าที่เป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ได้รับยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ศุลกากร: การขนถ่ายสินค้าออกจากเรือและการนำเข้าผ่านแดน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 11,12เป็นเรื่องขนของออกจากเรือ และยื่นใบขอเปิดตรวจสินค้าไม่ใช่กรณีนำของผ่านแดนเข้ามาทางบก ซึ่งต้องมีบัญชีสินค้ายื่นต่อพนักงานด่านพรมแดนและด่านศุลกากรพร้อมกับของเพื่อเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2480 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983-1989/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุใบชาจากต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
โจทก์สั่งใบชาจากต่างประเทศแล้วมาแบ่งบรรจุกระป๋อง กล่อง และห่อ ที่มีเครื่องหมายการค้าและตรายี่ห้อของโจทก์ประทับอยู่ และจำหน่ายตามชนิดที่ได้แยกและนำใบชาที่ลูกค้าเอามาคืนไปอบไล่กลิ่นออกแล้วผสมกับใบขาชนิดเดียวกัน กับเอาใบชาที่ขายไม่ออกผสมกับใบชาชนิดเดียวกันที่สั่งเข้ามาใหม่ บรรจุภาชนะขาย นั้น มิได้แปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพเป็นสินค้าชนิดใหม่ และหาใช่เป็นการประกอบหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ไม่ จึงไม่ใช่การผลิต ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตตามประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าทองคำโดยไม่ได้รับอนุญาตและเจตนาหลีกเลี่ยงข้อห้ามตามกฎหมายศุลกากร
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2494 บัญญัติห้ามมิให้นำทองคำเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนิยมคำว่าทองคำไว้ว่า "ทองคำ หมายความถึงเนื้อทองคำไม่ว่าจะเป็นแท่ง ก้อน แผ่น หรือรูปอื่น หรือผสมกับสิ่งอื่นใดด้วย แต่ไม่หมายความถึวเครื่องรูปพรรณทองคำซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย" ทองคำแผ่นของกลางทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดเท่ากันและมีตราประทับไว้เท่านั้น ทองคำแผ่นของกลางจึงไม่ใช่เครื่องรูปพรรณทองคำซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย ทองคำแผ่นของกลางจึงเป็นของต้องห้ามไม่ให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว การที่จำเลยรับทองคำแผ่นของกลางไว้ โดยรู้ว่าเป็นทองคำแผ่นที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าทองคำโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2494 บัญญัติห้ามมิให้นำทองคำเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวนิยามคำว่าทองคำไว้ว่า หมายถึงเนื้อทองคำไม่ว่าจะเป็นแท่ง ก้อน แผ่น หรือรูปอื่น หรือผสมกับสิ่งอื่นใดด้วย แต่ไม่หมายความถึงเครื่องรูปพรรณทองคำ ซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย ทองคำแผ่นของกลางทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดเท่ากันและมีตราประทับไว้เท่านั้น จึงมิใช่เครื่องรูปพรรณทองคำซึ่งตามปกติและโดยสภาพใช้ในการประดับร่างกาย การที่จำเลยรับทองคำแผ่นของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทองคำแผ่นที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2496มาตรา 27ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าและแบ่งขายปุ๋ยยาปราบศัตรูพืช ไม่ถือเป็นการผลิตสินค้าตามประมวลรัษฎากร
โจทก์สั่งสินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชในสภาพที่บรรจุอยู่ในถังใหญ่จากต่างประเทศมาจำหน่าย โดยมาแบ่งบรรจุภาชนะย่อยขายและใช้สลากรูปรอยตราชื่อปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชชื่อเดิมแต่เติมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วลงไปในสลากนั้นด้วย และระบุด้วยว่า โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ดังนี้ สินค้าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชได้แปรสภาพมาจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีผู้จัดทำหรือผลิตขึ้นแล้วนำออกขายเป็นสินค้า โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้านี้จากผู้ผลิตในต่างประเทศ การที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นของเดิม โดยมิได้เจือปนวัตถุอื่นเพิ่มเติมลงไปอีกเพื่อขายเป็นสินค้าชนิดใหม่ และได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ เห็นได้ว่าเพื่อให้สะดวกแก่ผู้ซื้อที่จะซื้อเพียงเท่าที่ต้องการ และเพื่อสะดวกในการนำสินค้าติดตัวไป การระบุในสลากปิดภาชนะสินค้าที่แบ่งขายย่อยว่าโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เป็นการยืนยันว่าโจทก์ไม่ได้ผลิตสินค้าขึ้นใหม่ การที่โจทก์ตีตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพิ่มเติมลงไปในสลากสินค้าในรูปรอยเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าขึ้นใหม่ ไม่เป็นการ "ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ " ตามบทนิยามคำว่า "ผลิต" ในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 การแบ่งขายสินค้าซึ่งโจทก์ดำเนินการดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสุกรข้ามจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต: ความผิดเกิดขึ้นเมื่อใด?
จำเลยนำสุกรออกจากเขตท้องที่ตำบลห้วยแก้งอำเภอกุดชุมจังหวัดยโสธร มายังเขตท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดยโสธร จะนำสุกรนั้นไปขายที่จังหวัดร้อยเอ็ดโดยมิได้นำสุกรไปให้สัตวแพทย์ประจำท้องที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ตรวจและทำลายเชื้อโรคระบาดสัตว์ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์และยังไม่ได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ประจำท้องที่ให้นำไปยังท้องที่ต่างจังหวัดได้ แต่ถูกจับกุมพร้อมด้วยสุกรนั้นขณะจำเลยยังอยู่ในท้องที่ของจังหวัดยโสธร ดังนี้ จำเลยยังไม่มีความผิดฐานนำสุกรไปยังท้องที่ต่างจังหวัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: การนำเข้าสมุดเช็คจากต่างประเทศถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทธนาคาร ได้สั่งสมุดเช็คจากประเทศอังกฤษเข้ามาในประเทศไทย เพื่อใช้ในกิจการของโจทก์ โดยมอบให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารโจทก์ใช้สั่งจ่ายเงินสมุดเช็คนั้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งตามประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาตรา 79 ทวิ (1) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายและสินค้าเหล่านั้นมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ถือว่าเป็นการขายสินค้า สมุดเช็คที่โจทก์สั่งเข้ามามีราคาถึงสามแสนบาทเศษ มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้ตามปกติและตามสมควร โจทก์ย่อมเป็นผู้ประกอบการค้าสินค้าสมุดเช็คซึ่งตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 3) ให้ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้าในวันนำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อคำนวณมูลค่าของสินค้าเป็นรายรับในการที่จะประเมินภาษีการค้า โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าตามมูลค่าของสมุดเช็คซึ่งคำนวณได้ดังกล่าวในประเภทการค้า 1 การขายของ รายการที่ประกอบการค้าการขายสินค้าชนิด 1 (ก)
of 17