คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บริษัท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อเช็คในฐานะผู้แทนบริษัท ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินส่วนบุคคล
เจ้าหนี้มอบเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อร่วมลงทุน จำเลยที่ 1ออกเช็คพิพาทมอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นหลักประกัน เช็คพิพาทมี ป.กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 มิได้เขียนว่ากระทำการแทน แต่การที่ ป. กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนของนิติบุคคล จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำของตัวแทนที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินแทนตัวการ แต่มิได้เขียนแถลงว่ากระทำแทนบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลนั้นต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 901 จำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนบริษัทเมื่อกรรมการลาออก การกระทำของตัวแทนที่ปราศจากอำนาจผูกพันบริษัทไม่ได้
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทกับกรรมการนั้น ป.พ.พ มาตรา 1167ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น ส. ในฐานะกรรมการย่อมบอกเลิกการเป็นผู้แทนโจทก์ในเวลาใด ๆ ก็ได้ และมีผลทันทีเมื่อแสดงเจตนาแก่โจทก์ตามมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลเมื่อโจทก์นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้จนกว่าจะได้พิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. ฟ้องคดีโดยมี ส. ร่วมลงลายมือชื่อกับกรรมการอื่นของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ แต่ ส. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว การกระทำของ ส.จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ จ. ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิบังคับคดีแล้ว ไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชี
แม้โจทก์จะเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์เพียงแต่ยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีไว้แต่หาได้แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์สินใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ไม่กลับปล่อยเวลาล่วงเลย 10 ปี จึงได้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1โดยอ้างว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ถูกนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัทออกเสียจากทะเบียน ดังนี้ ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1นั้น โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เพราะล่วงพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้ชำระบัญชีบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีแทนบริษัท: การมอบอำนาจต้องระบุชัดเจนถึงการยื่นคำร้องในชั้นศาล
ตามหนังสือมอบอำนาจไม่ปรากฏว่ากรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทผู้ร้องมอบอำนาจให้ ช.ผู้รับมอบอำนาจยื่นคำร้องหรือดำเนินคดีในชั้นศาลเพื่อขอรถยนต์ของกลางคืนช. จึงไม่มีอำนาจมายื่นคำร้องหรือดำเนินคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: ผู้ร้องไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท และไม่เป็นนายจ้างโจทก์ จึงไม่มีอำนาจคัดค้านการฟ้อง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย และผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัว จึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการและการร้องคัดค้านฟ้อง: ผู้ไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ไม่อาจร้องคัดค้านฟ้องแทนบริษัทได้
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำเป็นส่วนตัวซึ่งไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการใช้ต่อเนื่องโดยบริษัทใหม่
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขายใบชาซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียนไว้มาประกอบกิจการค้าใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในรูปของบริษัทจำเลย ตลอดจนการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับใบชาของบริษัทจำเลยในลักษณะที่แสดงว่าบริษัทจำเลยเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังปรากฎที่กล่องบรรจุใบชา นั้น ถือได้ว่าบิดาโจทก์ได้สละสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยยอมให้เป็นทรัพย์สินของบริษัทจำเลยแล้วตั้งแต่ขณะบิดาโจทก์เลิกประกอบการค้าใบชาเป็นการส่วนตัวมาประกอบการค้าใบชาในรูปบริษัทจำเลยโดยมีตนเป็นกรรมการผู้จัดการ แม้หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทจะปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โดยบิดาโจทก์ยังมิได้ไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นให้จำเลยเพื่อให้สมบูรณ์ตามมาตรา33 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อไป การที่ปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตามหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีผลเพียงเท่ากับบิดาโจทก์เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเท่านั้น เมื่อต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท การที่ ว. และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกไปขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าพิพาท จึงมีผลเป็นเพียงการถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าใบชาที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ.2494 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยทำการค้าขายใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์และย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์ยื่นจดทะเบียนต่ออายุดังกล่าวได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้า: การเลิกกิจการส่วนตัวแล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทถือเป็นการสละสิทธิ
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขาย ใบชา ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียน ไว้ มา ประกอบกิจการ ค้า ใบชา โดย ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ใน รูป ของ บริษัท จำเลยตลอดจน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท กับ ใบชาของ บริษัท จำเลย ใน ลักษณะ ที่ แสดง ว่า บริษัท จำเลยเป็น เจ้าของ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวดังปรากฏ ที่ กล่อง บรรจุ ใบชา นั้น ถือ ได้ ว่า บิดา โจทก์ได้ สละ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท โดย ยอม ให้เป็น ทรัพย์สิน ของ บริษัท จำเลย แล้ว ตั้งแต่ ขณะ บิดา โจทก์เลิก ประกอบการค้า ใบชา เป็น การ ส่วนตัว มา ประกอบการค้าใบชา ใน รูป บริษัท จำเลย โดย มี ตน เป็น กรรมการผู้จัดการแม้ หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาทจะ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวโดย บิดา โจทก์ ยัง มิได้ ไป จดทะเบียน โอน สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นั้น ให้ จำเลย เพื่อ ให้ สมบูรณ์ ตาม มาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่ง ใช้บังคับ อยู่ ใน ขณะนั้น ก็ตาม แต่ ก็ ถือ ไม่ได้ ว่า บิดา โจทก์ ยังคง เป็น เจ้าของสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อไปการ ที่ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ามี ผล เพียง เท่ากับ บิดา โจทก์ เป็น ผู้ถือสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ไว้ แทน จำเลย เท่านั้น เมื่อ ต่อมา บิดา โจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท จึงไม่เป็น ทรัพย์ ยืม มรดก ที่ ตกทอด แก่ ทายาท การ ที่ ว.และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ไป ขอ จดทะเบียน ต่อ อายุเครื่องหมายการค้า พิพาท จึง มี ผล เป็น เพียง การ ถือ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ไว้แทน จำเลย เช่นเดียวกันเมื่อ จำเลย เป็น ผู้ มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท และ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ใบชาที่ จำเลย ผลิต ออก จำหน่าย ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน ทั้ง ไม่ ปรากฏ ว่า โจทก์ เคย ทำ การค้าขาย ใบชา โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท แต่อย่างใดจำเลย จึง มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่าโจทก์ และ ย่อม เป็น ผู้มีส่วนได้ เสีย ที่ จะ ร้อง ขอ ต่อ ศาล ให้ มี คำสั่ง เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาท ที่ โจทก์ ยื่น จดทะเบียน ต่อ อายุ ดังกล่าว ได้ ตามมาตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อรับเงินแทนบริษัท: กรรมการคนเดียวทำได้ ไม่ต้องมีลายมือชื่อ/ตราบริษัท
การรับเงินหรือเอกสารแทนนิติบุคคล ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ไปรับเงินหรือเอกสารก็สามารถลงลายมือชื่อรับได้ จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ลงลายมือรับเช็คเพียงคนเดียวก็สมบูรณ์แล้วไม่จำต้องให้กรรมการคนอื่นลงลายมือชื่อร่วมและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือหุ้นจำกัด ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีล้มละลายของบริษัท จึงไม่มีสิทธิร้องสอด
การที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดล้มละลาย ย่อมมีผลกระทบเฉพาะต่อสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของจำเลยเท่านั้น หาได้มีผลทำให้ผู้ถือหุ้นซึ่งรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือต้องถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือตกเป็นบุคคลล้มละลายด้วยไม่ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในผลแห่งคดี ไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอด
of 29