พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายมีเงื่อนไขและการบอกเลิกสัญญา กรณีผู้ซื้อผิดนัดชำระเงิน ผู้ขายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและส่งมอบรถคืน
ทรัพย์สินที่ซื้อขายโดยมีเงื่อนไขจะโอนกรรมสิทธิ์กันนั้นผู้ขายอาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกขายล่วงหน้าได้ฉะนั้น เมื่อจำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันพิพาทกับโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวให้เมื่อจำเลยผ่อนชำระราคาให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่ผ่อนชำระราคาให้โจทก์ตามกำหนดจนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคแรก คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์คันพิพาทคืนแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบรถคืนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ส่งมอบรถคืนแก่โจทก์ได้
ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ไม่มีข้อตกลงให้จำเลยเลิกสัญญาโดยการส่งมอบรถคืนโจทก์ การที่จำเลยส่งมอบรถยนต์คันพิพาทคืนแก่โจทก์เป็นเจตนาที่จะเลิกสัญญาเพียงฝ่ายเดียว ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้มีเจตนาที่จะเลิกสัญญาด้วยนั้นจำต้องรับมอบรถยนต์คืนจากจำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองรถยนต์คันพิพาทตลอดมา และการที่จำเลยครอบครองรถยนต์ไว้ใช้ประโยชน์นับแต่วันทำสัญญาซื้อรถยนต์ตลอดมา เมื่อจำเลยไม่ผ่อนชำระตามกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยต้องส่งมอบรถพิพาทคืนโจทก์และต้องชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นแก่โจทก์ด้วย โดยถือเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์คันพิพาทของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับราคารถยนต์ที่ต้องใช้แทนในกรณีที่จำเลยไม่อาจส่งมอบรถยนต์คันพิพาทคืนโจทก์ ทั้งที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ไม่มีข้อตกลงให้จำเลยเลิกสัญญาโดยการส่งมอบรถคืนโจทก์ การที่จำเลยส่งมอบรถยนต์คันพิพาทคืนแก่โจทก์เป็นเจตนาที่จะเลิกสัญญาเพียงฝ่ายเดียว ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งมิได้มีเจตนาที่จะเลิกสัญญาด้วยนั้นจำต้องรับมอบรถยนต์คืนจากจำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองรถยนต์คันพิพาทตลอดมา และการที่จำเลยครอบครองรถยนต์ไว้ใช้ประโยชน์นับแต่วันทำสัญญาซื้อรถยนต์ตลอดมา เมื่อจำเลยไม่ผ่อนชำระตามกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยต้องส่งมอบรถพิพาทคืนโจทก์และต้องชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นแก่โจทก์ด้วย โดยถือเป็นค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์คันพิพาทของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับราคารถยนต์ที่ต้องใช้แทนในกรณีที่จำเลยไม่อาจส่งมอบรถยนต์คันพิพาทคืนโจทก์ ทั้งที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหาเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9571/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและดอกเบี้ยเกินอัตรา: วิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ และกฎหมายห้ามดอกเบี้ยเกินอัตราใช้ไม่ได้กับสัญญาเช่าซื้อ
สิทธิการบอกเลิกสัญญาและวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ป.พ.พ. กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อตามมาตรา 573 และให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 574 ไม่ใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 กรณีจึงไม่อาจนำวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าในกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ ตามมาตรา 560 มาใช้บังคับในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจจะนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจจะนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9571/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ การกำหนดระยะเวลาบอกกล่าว และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา
สิทธิการบอกเลิกสัญญาและวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อตามมาตรา 573 และให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 574 ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าในกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ตามมาตรา 560 มาใช้บังคับในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาเช่าซื้อแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ใช้วิธีแสดงเจตนามีหนังสือทวงถามไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือเอาหนังสือนั้นเป็นการบอกเลิกสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายใน 3 วัน หากไม่ชำระขอถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 วันที่โจทก์กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จำนวน 29,810 บาทนั้น นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 387 แล้ว เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี รวมไว้ในสัญญาเช่าซื้อและค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองได้ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ได้โดยวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเฉพาะแต่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขการเลิกสัญญาเช่าซื้อแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมาย แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ใช้วิธีแสดงเจตนามีหนังสือทวงถามไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ก่อน หากไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดให้ถือเอาหนังสือนั้นเป็นการบอกเลิกสัญญาจึงบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือไปยังผู้เช่าซื้อให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายใน 3 วัน หากไม่ชำระขอถือเอาหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 วันที่โจทก์กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่จำนวน 29,810 บาทนั้น นับว่าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 387 แล้ว เมื่อผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้มาตั้งแต่ในศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี รวมไว้ในสัญญาเช่าซื้อและค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งเป็นอัตราอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสองได้ ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ได้โดยวินิจฉัยว่าตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเฉพาะแต่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9223/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และการคิดดอกเบี้ยทบต้น: หลักเกณฑ์ตามกฎหมายและสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นสุดของเดือน หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยก็มีข้อกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ผู้ให้กู้มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินเดิมเป็นต้นเงินใหม่ได้ทันที แต่มิได้ให้สิทธิผู้ให้กู้ที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนี้ เมื่อสัญญายังไม่เลิก ผู้ให้กู้จึงจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดโดยอ้างเหตุผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยหาได้ไม่
ผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปยังผู้กู้กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และผู้กู้ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เดือนเดียวกัน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเลิกกันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาเลิกกันยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด แต่ยังมีการเดินบัญชีตลอดมา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีผลอยู่ โดยไม่มีกำหนดเวลา การที่ผู้ให้กู้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยผู้กู้มิได้ผิดสัญญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ให้กู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ให้กู้ย่อมไม่มีสิทธิอ้างบันทึกข้อตกลงที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาได้
สัญญารับชำระหนี้ที่ผู้กู้ทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักฐานในการรับจะชำระหนี้ มิใช่สัญญากู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร สัญญารับชำระหนี้ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
แม้สัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับจะมีผู้ค้ำประกันเกินกว่าหนึ่งคน แต่เป็นการร่วมกันค้ำประกันในภาระหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์แต่ละฉบับเพียง 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรแล้ว
ผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปยังผู้กู้กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และผู้กู้ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เดือนเดียวกัน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเลิกกันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาเลิกกันยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด แต่ยังมีการเดินบัญชีตลอดมา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีผลอยู่ โดยไม่มีกำหนดเวลา การที่ผู้ให้กู้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยผู้กู้มิได้ผิดสัญญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ให้กู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ให้กู้ย่อมไม่มีสิทธิอ้างบันทึกข้อตกลงที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาได้
สัญญารับชำระหนี้ที่ผู้กู้ทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักฐานในการรับจะชำระหนี้ มิใช่สัญญากู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร สัญญารับชำระหนี้ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
แม้สัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับจะมีผู้ค้ำประกันเกินกว่าหนึ่งคน แต่เป็นการร่วมกันค้ำประกันในภาระหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์แต่ละฉบับเพียง 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา และสิทธิในการเรียกร้องเงินค่าที่ดินคืน
โจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาโดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เหลือภายในกำหนดเวลาตามสัญญาได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียกเงินที่ชำระค่าที่ดินคืนและเรียกค่าเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว คู่สัญญาย่อมกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยบางส่วนและจำเลยได้โอนที่ดินให้แก่โจทก์บางแปลง โจทก์และจำเลยจึงทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่ขยายเวลาโอนที่ดินส่วนที่เหลือโดยให้ถือว่าเงินมัดจำในสัญญาเดิมยังคงไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยถือว่าการโอนที่ดินที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วสามารถแยกต่างหากจากที่ดินส่วนที่เหลือได้และถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในที่ดินส่วนที่โอนแล้ว ดังนี้ โจทก์จะเรียกเงินค่าที่ดินที่ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วคืนทั้งหมดหาได้ไม่ คงมีสิทธิเรียกเงินค่าที่ดินในส่วนที่ชำระเกินราคาที่ดินที่รับโอนไปแล้วคืนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเสนอซื้อขาย/เช่า และการบอกเลิกสัญญา กรณีแหล่งเงินกู้ไม่อนุมัติ
แผ่นพับโฆษณาที่มีข้อความกล่าวถึงขนาด เนื้อที่อาคารราคาเซ้งต่อห้อง 20 ปี การผ่อนชำระเงิน วันจอง ทำสัญญา ผ่อนชำระชำระวันโอนสิทธิ การผ่อนชำระแก่สถาบันการเงินอัตราร้อยละ 11.5 ต่อปีซึ่งหากผู้ใดสนใจจะจองห้องเช่าที่ขนาดใดต้องติดต่อขอทำสัญญากับโจทก์นั้นเป็นการชวนเชิญให้จำเลยเป็นฝ่ายทำคำเสนอเท่านั้น ไม่ชัดเจนแน่นอนพอที่จะถือเป็นคำเสนอ
สัญญาจองห้องเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากจำเลยประสงค์ให้ติดต่อแหล่งเงินทุนเพื่อการกู้ยืมเงินชำระค่าเช่า จำเลยจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า จำเลยต้องไปพบเจ้าหน้าที่ของแหล่งเงินทุน และปฏิบัติตามข้อกำหนดของแหล่งเงินทุนโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม และจดทะเบียนต่าง ๆ เองทั้งสิ้น เป็นการอนุเคราะห์ให้ความสะดวกแก่จำเลย หากแหล่งเงินทุนไม่อนุมัติ จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญานี้ จะยกการไม่อนุมัติเงินกู้มาเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่ โจทก์เป็นเพียงคนกลางติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้เท่านั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้จำเลยจนได้รับอนุมัติให้กู้เงินได้ตามจำนวนที่กำหนด ดังนั้น เมื่อโจทก์ติดต่อให้จำเลยกู้เงินจากบริษัทเงินทุนแล้ว แต่จำเลยได้รับอนุมัติให้กู้เพียง1,200,000 บาท ยังขาดอยู่อีกประมาณ 500,000 บาท การที่จำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจองห้องเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากจำเลยประสงค์ให้ติดต่อแหล่งเงินทุนเพื่อการกู้ยืมเงินชำระค่าเช่า จำเลยจะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า จำเลยต้องไปพบเจ้าหน้าที่ของแหล่งเงินทุน และปฏิบัติตามข้อกำหนดของแหล่งเงินทุนโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม และจดทะเบียนต่าง ๆ เองทั้งสิ้น เป็นการอนุเคราะห์ให้ความสะดวกแก่จำเลย หากแหล่งเงินทุนไม่อนุมัติ จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญานี้ จะยกการไม่อนุมัติเงินกู้มาเป็นเหตุไม่ปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่ โจทก์เป็นเพียงคนกลางติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้เท่านั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้จำเลยจนได้รับอนุมัติให้กู้เงินได้ตามจำนวนที่กำหนด ดังนั้น เมื่อโจทก์ติดต่อให้จำเลยกู้เงินจากบริษัทเงินทุนแล้ว แต่จำเลยได้รับอนุมัติให้กู้เพียง1,200,000 บาท ยังขาดอยู่อีกประมาณ 500,000 บาท การที่จำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้างที่ชอบธรรมและการมีสิทธิเรียกค่าปรับเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยแล้ว แม้จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือตัวแทนของจำเลยมิได้เป็นผู้รับเอกสารนั้น การแสดงเจตนาแก่จำเลยผู้อยู่ห่างโดยระยะทางดังกล่าว ก็ถือว่าไปถึงผู้รับการแสดงเจตนาแล้ว ย่อมมีผลสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคหนึ่ง อีกทั้งก่อนบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหลายครั้ง การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงชอบ ถือได้ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลงในวันที่หนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลย และเมื่อได้ความว่าโจทก์สงวนสิทธิในการเรียกค่าปรับไว้ก่อนบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6759/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญาจากผู้ซื้อ การบอกเลิกสัญญา และสิทธิในการริบเงินวาง
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันในปี 2536แต่จำเลยเพิ่งได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินเมื่อปี 2538 ดังนั้น ขณะจำเลยจัดสรรที่ดินในโครงการออกเสนอขายต่อโจทก์และบุคคลทั่วไป จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ข้อ 10 ประกอบข้อ 35 แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องของรัฐที่จะเข้าไปควบคุมให้จำเลยหรือผู้จะจัดสรรที่ดินได้ดำเนินการด้านสาธารณูปโภคให้เป็นไปตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อความสะดวกสบายของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท และตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทก็ไม่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งใด ๆตามกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันจะทำให้เป็นโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทั้งจำเลยมิได้กระทำการใดอันเป็นกลฉ้อฉลทำให้โจทก์ต้องเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลย การที่จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินในขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกันนั้น แม้จำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบก็ไม่ถึงกับให้รับฟังว่าเป็นกลฉ้อฉลของจำเลยอันจะทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดให้โจทก์ชำระเงินเป็นงวด งวดละเดือนรวม 20 งวด และชำระเงินส่วนที่เหลือในวันที่จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันเป็นลักษณะผ่อนผันให้แก่กันเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาที่ต่างฝ่ายต่างต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น มิได้เป็นสาระสำคัญที่จะให้ถือว่าอีกฝ่ายผิดสัญญาทันทีตามกำหนดไว้แต่อย่างใด แต่การที่โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ 16 ให้แก่จำเลยแล้วไม่ชำระเงินค่างวดต่อไปให้แก่จำเลยให้ครบ 20 งวดอีกจนกระทั่งจำเลยมีหนังสือเตือนให้โจทก์ชำระเงินที่เหลือภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือ โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและริบเงินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้แล้วตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้โดยชอบ
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดให้โจทก์ชำระเงินเป็นงวด งวดละเดือนรวม 20 งวด และชำระเงินส่วนที่เหลือในวันที่จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันเป็นลักษณะผ่อนผันให้แก่กันเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาที่ต่างฝ่ายต่างต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น มิได้เป็นสาระสำคัญที่จะให้ถือว่าอีกฝ่ายผิดสัญญาทันทีตามกำหนดไว้แต่อย่างใด แต่การที่โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ 16 ให้แก่จำเลยแล้วไม่ชำระเงินค่างวดต่อไปให้แก่จำเลยให้ครบ 20 งวดอีกจนกระทั่งจำเลยมีหนังสือเตือนให้โจทก์ชำระเงินที่เหลือภายใน 7 วันนับแต่วันรับหนังสือ โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและริบเงินที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไว้แล้วตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องเป็นไปตามขั้นตอน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ หากไม่ครบถ้วน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้จะฟังได้ว่าโจทก์ทั้งหกได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยทั้งสองทราบโดยชอบแล้ว และส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาดังกล่าวให้แก่กำนันตำบลท่าเสา ประธาน คชก. ตำบลท่าเสา ที่ซึ่งที่ดินพิพาทตั้งอยู่แล้วก็ตาม แต่ตามที่โจทก์ทั้งหกนำสืบมาไม่ปรากฏว่า คชก. ตำบลท่าเสา ได้มีการพิจารณาการบอกเลิกการเช่าตามหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ทั้งหกตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 บัญญัติไว้แต่อย่างใด การเช่าระหว่างโจทก์ทั้งหกกับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่สิ้นสุด โจทก์ทั้งหกไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต้องเป็นการใช้ที่ดินเอง ไม่ใช่ขาย หากขายถือว่าไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
การใช้นาที่ให้เช่าเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 จะต้องเป็นการใช้ที่นานั้นเองทำประโยชน์ มิใช่นำนาไปขาย ซึ่งจะทำให้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือไป ไม่อาจใช้นาที่ให้เช่านั้นได้อีกต่อไป การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ให้โจทก์เช่านาจะจัดสรรนาพิพาทแบ่งขายก็คือขายนั่นเอง เป็นวิธีการขายอย่างหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์แห่งครอบครัวของตนตามความจำเป็นตามมาตรา 37 (2) จำเลยร่วมจึงไม่อาจบอกเลิกการเช่านาพิพาทได้