พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทในกองมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้โดยตรง แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์
กองมรดกของ ส. ที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของ ส. ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ซึ่งมิได้มีกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของ ส. โดยแท้ตามมาตรา 1600 จำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. จึงต้องรับทั้งสิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดต่าง ๆ ในกองมรดกของ ส. โดยผลของกฎหมาย อันเป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของ ส. จำต้องฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ สิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดต่าง ๆ ของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะทายาทโดยธรรมย่อมเป็นคนละส่วนกับสิทธิและหน้าที่โดยส่วนตัวซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอยู่ก่อนถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ฉะนั้น บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 จะนำมาบังคับใช้แก่หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งยังมิได้มีการแบ่งอันพึงมีต่อโจทก์มิได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งต้องรับผิดตามคำพิพากษาในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292-339/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับองค์การของรัฐ: ทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินงานยังไม่เป็นของแผ่นดิน
จำเลยที่ 1 เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ฯ แม้ตามมาตรา 8 จะกำหนดให้กระทรวงคมนาคมโอนกิจการ สิทธิ หน้าที่ ทรัพย์สิน สินทรัพย์ และหนี้สิน ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจการขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงคมนาคมตลอดจนพนักงานขององค์การดังกล่าวก่อนวันใช้ พ.ร.ฎ. บังคับให้แก่จำเลยที่ 1 และตามมาตรา 9 กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้จ่ายให้ และทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้รับโอนจากกระทรวงคมนาคมก็ตาม แต่ตามมาตรา 11 กำหนดให้รายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการดำเนินกิจการให้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 เพื่อสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนตามมาตรา 12 กำหนดให้เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้แล้ว รายได้ของจำเลยที่ 1 เหลือเท่าใดจึงให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของจำเลยที่ 1 ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดินอันจะยึดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ศาลแรงงานกลางออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 ในส่วนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292-339/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับองค์การของรัฐ: รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดิน
จำเลยที่ 1 เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496 แม้ตามมาตรา 8 จะกำหนดให้กระทรวงคมนาคมโอนกิจการ สิทธิ หน้าที่ ทรัพย์สิน และหนี้สิน ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจการขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงคมนาคม ตลอดจนพนักงานขององค์การดังกล่าว ก่อนวันพระราชกฤษฎีกานี้บังคับให้แก่จำเลยที่ 1 ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้จ่ายให้ และทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้รับโอนจากกระทรวงคมนาคม แต่ตามมาตรา 11 ก็กำหนดให้รายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการดำเนินกิจการให้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนตามมาตรา 12 กำหนดให้เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้แล้วรายได้ของจำเลยที่ 1 เหลือเท่าใด จึงให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของจำเลยที่ 1 ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดินอันจะยึดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 กรณีเช่นนี้ ศาลแรงงานย่อมออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 ในส่วนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการดำเนินการภายใน 10 ปี
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี คือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ ซึ่งโจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาท และขอถอนการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่โดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่ต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คที่จำเลยทั้งสี่นำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยกคำแถลงของโจทก์แต่โจทก์ไม่ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวต่อศาลจนศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ยื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยทั้งสี่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีหลังถอนการยึด-เพิกถอนคำสั่ง และการนับระยะเวลาตามมาตรา 271
โจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาทและขอถอนการบังคับคดีไปแล้ว แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยโดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินที่จำเลยนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดียกคำแถลงของโจทก์ แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ได้ยื่นไว้เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินรวมที่ถูกบังคับคดี: การคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
เมื่อผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการถูกบังคับคดี: การกันส่วนที่ดินก่อนขายทอดตลาด
ผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนที่จะมีการบังคับคดีข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในการถูกบังคับคดี การกันที่ดินส่วนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ก่อนขายทอดตลาด
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด เมื่อผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับผู้ร้องก่อนจะมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาที่ดินของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอื่น ๆ อันอาจร้องขอให้บังคับเหนือที่ดินนั้นได้ตามกฎหมายซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินพิพาททั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มีส่วนได้เสียในบังคับคดี: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ผูกพัน แม้คดีจะอยู่ระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี โดยศาลจังหวัดอุบลราชธานีและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดขายทอดตลาด จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ร้อง แม้คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะการบังคับคดีนั้น จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีได้ตาม มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238-2240/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางเงินชำระหนี้และการเพิกถอนการบังคับคดี: ศาลต้องแจ้งคำสั่งขยายเวลาให้จำเลยทราบชัดเจน
จำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ขอขยายระยะเวลาที่ศาลแรงงานกลางสั่งให้จำเลยวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 58 ออกไป 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนด ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งคำร้องดังกล่าววันที่ 13 สิงหาคม 2545 อนุญาตให้จำเลยวางเงินภายในวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เนื่องจากศาลแรงงานกลางมิได้มีคำสั่งในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำร้องแต่ได้มีคำสั่งภายหลังต่อมาอีก 4 วัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในวันที่ 10 กันยายน 2545 ว่าจำเลยมิได้นำเงินมาวางศาลภายในวันที่ศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ชอบ
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด
โจทก์เท่านั้นที่จะเป็นผู้มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาด