คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประพฤติเนรคุณของบุตรต่อบุพการีและการถอนคืนการให้ทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ด่าโจทก์ว่า "มึงจะหนีไปไหนก็ไป กูจะไม่เลี้ยงมึงแล้ว ทรัพย์สินที่อยากได้ก็มาฟ้องเอาเพราะยกให้แล้ว ถ้ากลับมาอยู่บ้านจะเอายาเบื่อให้กิน" แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าถ้อยคำดังกล่าวเป็นเพียงการกล่าววาจาหยาบคายเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยแก้อุทธรณ์ของโจทก์ยอมรับว่า จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อโจทก์จริง แต่กล่าวด้วยความโกรธ ดังนั้น จำเลยจะกลับมาฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยมิได้ด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำดังกล่าวอีกไม่ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยด่าว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีด้วยถ้อยคำดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นถ้อยคำที่รุนแรงในลักษณะขับไล่ไสส่ง ไม่ต้องการเลี้ยงดูต่อไปโดยขู่เข็ญว่าจะให้ยาเบื่อกินถ้ากลับมาอีก ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4943/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินเลยคำฟ้องในคดีละเมิด การใช้ความระมัดระวังของบิดาต่อบุตรผู้เยาว์ และการนอกประเด็นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดฐานกระทำละเมิดโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ร่วมกันกระทำละเมิดโดยร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงบุตรโจทก์ตาย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ร่วมกันจำเลยที่ 3 ในการใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แต่กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ในฐานะบิดาซึ่งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลปล่อยให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์หยิบฉวยอาวุธปืนไปใช้ยิงผู้ตายจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการนอกฟ้อง นอกประเด็นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับบุตรโดยเอกสาร: บันทึกยินยอมรับเงินค่าทดแทนเป็นหลักฐานการยอมรับเด็กเป็นบุตร
ผู้ตายได้ทำบันทึกมีข้อความระบุว่า ผู้ร้องยินยอมรับเงินจำนวน15,000 บาท เป็นค่าทดแทนกรณีที่ผู้ร้องมีบุตรกับผู้ตาย โดยผู้ร้องลงลายมือชื่อในฐานะผู้ให้สัญญา ส่วนผู้ตายลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับสัญญา บันทึกดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเอกสารของผู้ตายที่ยอมรับว่าเด็กหญิง ม. เป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1555(3) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าและการยินยอมรับบุตรบุญธรรม
เมื่อบิดามารดาหย่าขาดจากกันโดยตกลงให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของมารดา ดังนั้น บิดาย่อมไม่มีอำนาจปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520,1566(6) อำนาจปกครองจึงตกแก่มารดาแต่ผู้เดียว มารดาจึงมีอำนาจให้ความยินยอมในการที่บุคคลภายนอกจะรับบุตรผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมได้เพียงลำพังโดยไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้สั่งอนุญาตแทนบิดาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 160/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถไม่ต้องรับผิดหากการละเมิดเกิดจากลูกจ้างของบุตร
โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกการที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของรถยนต์บรรทุกจะต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดจากการขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทด้วย พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากคำฟ้อง จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์บรรทุกดังกล่าวให้แก่ ช. บุตรจำเลยไปครอบครองใช้สอย จ. ลูกจ้าง ช. ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยประมาทชนกระบือแล้วเลยไปชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่โจทก์ขับสวนมา การละเมิดเกิดจากการกระทำของลูกจ้างบุตรจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจัดการมรดก: การพิสูจน์ความเป็นบุตรตามหลักกฎหมายอิสลาม และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลาม
การที่ผู้คัดค้านมิใช่ทายาทของผู้ตายในอันที่จะมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายมิให้เป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่า ผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักกฎหมายอิสลามของผู้ตาย เป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายการที่ผู้คัดค้านฎีกาคัดค้านเพียงว่า ผู้ร้องมิใช่บุตรของผู้ตายจึงมีผลเช่นเดียวกับผู้คัดค้านซึ่งมิใช่ทายาทและมิได้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตายมาคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้ง ผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องมรดก คดีเกิดในจังหวัดนราธิวาส ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นอิสลามศาสนิก จึงตกอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามมาตรา 3 ที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามมาตรา 4 บัญญัติให้ดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม ปัญหาที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยหลักกฎหมายอิสลามของผู้ตายหรือไม่และผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามหลักกฎหมายอิสลามหรือไม่เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาดศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม: ศาลยืนตามสิทธิเดิม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้านายทะเบียนว่าจำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์เป็นรายเดือนจำเลยไม่ปฏิบัติตามโจทก์จึงฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวแม้ภายหลังที่ยื่นฟ้องแล้วโจทก์จะได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของสามีใหม่แต่บุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่เกิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1578/28โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยในทรัพย์มรดก: สิทธิของบุตรและผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของอ.ที่เคยให้จำเลยอยู่อาศัยจำเลยให้การต่อสู้ว่าตึกพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับสามี ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าตึกพิพาทเป็นของอ.หรือของจำเลย ที่ศาลยกเอาสิทธิอาศัยของบุตรจำเลยที่ได้มาโดยพินัยกรรมตามที่พิจารณาได้ความมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ดี ข้อที่ว่า อ.ยกตึกพิพาทให้บุตรจำเลยอยู่อาศัยและการที่จำเลยได้อยู่ร่วมด้วยกับบุตรเป็นความสุขในครอบครัว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247ว่าจำเลยมีสิทธิอาศัยในตึกพิพาทโดยอาศัยสิทธิของบุตรจำเลยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรไม่เลี้ยงดูผู้ให้ แม้ผู้ให้ไม่ยากไร้และบุตรมีภาระอื่น
โจทก์ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อย มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างอยู่ที่กรุงเทพมหานครได้เงินเดือนเพียง 600 บาท มีบุตร 1 คน ต้องเลี้ยงดู ที่ดินที่ได้รับการยกให้จำเลยก็มอบให้ ก. ทำกิน โดย ก. นำข้าวที่ได้แบ่งไปเลี้ยงดูโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะเป็นบุตรมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์แต่มิได้อยู่เลี้ยงดูโดยไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรไม่เลี้ยงดูบิดามารดา แม้มีฐานะยากจน แต่ได้รับการอุปการะจากผู้อื่น ศาลไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ
โจทก์อายุ 82 ปี ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อยโดยเป็นค่าอาหารเพียงเดือนละ 100 บาท ค่าเสื้อผ่าปีละ 200 บาท โจทก์มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน ตามสถานภาพของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างได้เงินเดือนเพียง 600 บาท มีบุตร 1 คน ต้องเลี้ยงดู ที่ดินที่ได้รับการยกให้จำเลยก็มอบให้ ก. น้องชายจำเลยทำกิน โดยก.ได้นำข้าวที่ได้แบ่งไปเลี้ยงดูโจทก์ด้วย แม้จำเลยจะเป็นบุตร มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ แต่มิได้อยู่เลี้ยงดูโดยไปทำงานต่างจังหวัดปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(3)
of 38