พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย
คำว่า 'คู่สมรส' ของผู้รับบุตรบุญธรรมที่จะต้องให้ความยินยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 นั้นหมายถึงสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเป็นภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้อง ว. ผู้เยาว์เป็นจำเลย แต่ใส่ไว้ในช่องคู่ความว่า 'เด็กชาย ว. โดย ก. บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลย' นั้น หมายความว่า ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เท่านั้นเองหาใช่โจทก์ฟ้อง ก. เป็นจำเลยไม่
เมื่อการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมายแล้วบิดาโดยกำเนิดของจำเลยยังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยอยู่ และอยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยผู้เยาว์ได้
การที่จำเลยอ้างสิทธิเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ และไปขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้ตายด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คดีโจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ เพราะฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1590 ที่จะต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปีแต่มิได้มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
โจทก์ฟ้อง ว. ผู้เยาว์เป็นจำเลย แต่ใส่ไว้ในช่องคู่ความว่า 'เด็กชาย ว. โดย ก. บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลย' นั้น หมายความว่า ก. เป็นผู้ดำเนินคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เท่านั้นเองหาใช่โจทก์ฟ้อง ก. เป็นจำเลยไม่
เมื่อการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมายแล้วบิดาโดยกำเนิดของจำเลยยังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยอยู่ และอยู่ในฐานะที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยผู้เยาว์ได้
การที่จำเลยอ้างสิทธิเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตายซึ่งเป็นสามีโจทก์ และไปขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้ตายด้วย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คดีโจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์ เพราะฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584ไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 1590 ที่จะต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปีแต่มิได้มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้ปกครอง: บุคคลที่ไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิขอเป็นผู้ปกครอง
น้องผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรม ดังนั้น น้องผู้รับบุตรบุญธรรม จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2516)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ปกครองในการยินยอมรับบุตรบุญธรรม: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการจดทะเบียน
ผู้ปกครองของผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลย่อมเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์มีอำนาจที่จะให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมฉะนั้นเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมได้แสดงเจตนาให้ความยินยอมในการที่จะให้ผู้อื่นรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมแล้วผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมตั้งตัวแทนไปทำการจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมแทนตนได้ เพราะการลงชื่อในทะเบียนเป็นเพียงแบบพิธีของกฎหมายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ความสมบูรณ์แม้มีข้อบกพร่องด้านรูปแบบ หากมีเจตนาและปฏิบัติตามกฎหมาย
ผู้เยาว์อายุ 8 ขวบ บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน ป. รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ในคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมบิดาของผู้เยาว์เป็นผู้ลงชื่อแทนที่จะเป็นมารดา แต่เมื่อยื่นคำร้องนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบถามและไต่สวนฝ่ายผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และฝ่ายที่จะเป็นบุตรบุญธรรมถูกต้องตามเงื่อนไขของการจดทะเบียนแล้วทั้งมารดาของผู้เยาว์ก็ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้ความยินยอมที่ด้านหลังคำร้องนี้ด้วย ถือได้ว่าคำร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนี้ได้ทำตามแบบโดยชอบแล้ว และการที่ช่องลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนในทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมไม่มีลายมือชื่อบุตรบุญธรรม แต่ด้านหลังมีบันทึกปากคำของผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ให้ความยินยอม ซึ่งมารดาอันเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ได้ให้ความยินยอมโดยมีลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ความบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์และแม้บันทึกด้านหลังทะเบียนนั้นจะไม่ได้ลงวันเดือนปีไว้ด้วย แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่านายทะเบียนได้ทำในวันเวลาเดียวต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนด้านหน้า เหตุเพียงเท่านี้ก็ไม่ทำให้การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิของโจทก์ที่มีต่อบุตรบุญธรรม
เมื่อลูกจ้างของจำเลยยอมให้ผู้ตายโดยสารไปในรถ จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างจำเลยกระทำไปตามทางการที่จ้าง จำเลยจะอ้างว่าผู้ตายไม่ได้เสียค่าโดยสาร ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะขนส่ง หาได้ไม่
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ. ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์ เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ. ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์ เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิของโจทก์แม้จะยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม
เมื่อลูกจ้างของจำเลยยอมให้ผู้ตายโดยสารไปในรถ. จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างจำเลยกระทำไปตามทางการที่จ้าง. จำเลยจะอ้างว่าผู้ตายไม่ได้เสียค่าโดยสาร. ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะขนส่ง. หาได้ไม่.
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา. รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1535. ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ.ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์. เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา. รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1535. ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ.ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์. เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้ความสัมพันธ์เดิมเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้อยู่กินร่วมกัน และการฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยา แม้การสมรสจะโมฆะ และมีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น. ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย. แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด.
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้ว.แม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส.
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม. คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้. แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง.
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้ว.แม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส.
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม. คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้. แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับมรดก: สิทธิบุตรบุญธรรมและผลผูกพันสัญญา
ผู้ตายรับโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเลี้ยงเป็นบุตรเมื่อผู้ตายตายแล้ว จำเลยสามีผู้ตายไล่โจทก์ออกจากบ้าน โจทก์กับบิดาจึงขอแบ่งมรดกของผู้ตายโดยคิดว่าตนเป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิในมรดกรวมกับจำเลยและบุตรผู้ตาย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน เพื่อระงับข้อพิพาท สัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ