คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปฏิบัติหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมติของราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะกระทบสิทธิคู่สัญญาเดิม ก็ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต)ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัด ไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้างได้ เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะกรมการขนส่งทางบก จึงไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญา กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังกรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์ และบริษัทขนส่ง จำกัด ได้ร่วมประชุมและมีมติให้กรมการขนส่งทางบก มอบที่ดินดังกล่าวคืน กระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้างและรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นได้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อ กระทรวงคมนาคม จะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ เบลเยี่ยม เสนอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขมติของราชการเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ แม้จะทำให้เอกชนได้รับความเสียหาย ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การที่บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ(ตลาดหมอชิต) ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัดไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ กรมการขนส่งทางบกไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญาแล้วกระทรวงคมนาคมกระทรวงการคลัง กรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์และบริษัทขนส่งจำกัด ได้ร่วมประชุม และมีมติให้กรมการขนส่งทางบกมอบที่ดินดังกล่าวคืนกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์ พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้าง และรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อกระทรวงคมนาคมจะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเบลเยี่ยมเสนออันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของนักเรียนตำรวจ และความรับผิดของหน่วยงาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยรวม 5 ปากเพราะพยานเหล่านี้กับพยานที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 นำเข้าสืบแล้วกับตัว จำเลยที่ 1 เป็นพยานคู่กันแม้สืบไปก็ได้ความเหมือนกับที่จำเลยที่ 1 กับพวกเบิกความมาแล้ว ทั้งข้อเท็จจริงได้ความจากคำให้การของพยานดังกล่าว ในสำนวนสอบสวนเพื่อพิจารณาทัณฑ์ทางวินัยแก่จำเลยที่ 1 ว่าพยานเหล่านี้ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ แต่ มารู้เห็นเมื่อเกิดเหตุแล้วการที่จะสืบพยานเหล่านี้ไปจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี และเป็นการฟุ่มเฟือยเกินไปคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานดังกล่าวจึงชอบแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นนักเรียนโรงเรียนพลตำรวจภูธร 4ของกรมตำรวจจำเลยที่ 5 การที่จำเลยที่ 1เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 5การฝึกชัยยะ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะ นักเรียนพลตำรวจตาม คำสั่งและนโยบายของจำเลยที่ 5 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เกิดความเสียหายขึ้นก็เรียกได้ว่าจำเลยที่ 1ทำละเมิดในหน้าที่การงาน กรมตำรวจ จำเลยที่ 5 แม้ไม่ได้ร่วมทำละเมิดและมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างหรือตัวแทนก็จำต้องร่วมรับผิดเสียค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายนั้นด้วย ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 การที่ปืนในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ลั่นขึ้น และโจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเป็นการทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายซึ่ง ตามมาตรา 444 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้อง เสียไป กับเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตาม ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 บัญญัติไว้ได้ การวินิจฉัยถึง ค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายไม่มีกฎหมายใด บัญญัติว่าจะต้อง คำนึงถึง ฐานะ และรายได้ของผู้เสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยมิชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้ บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่ง อะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้ กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไรเมื่อใด และทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่มีข้อความใด เคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ทั้งตาม คำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอน ใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้ บรรยายโดย แจ้งชัดถึง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ ศาลแพ่งได้ จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้ มีคำวินิจฉัยของอธิบดี ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าต้อง ฟ้องตาม เรื่องเดิม คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วย ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้ว ในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตน เป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อ แผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่ง เป็นหัวหน้าแผนกขายได้ ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจโดย ไม่มีผู้มาขอรับ และจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง เป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ โดย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้อง ได้มีผู้มาติดต่อ แนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจเลยและตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อ โดย ไม่ได้ระบุชื่อ ผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่ง รักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้ไปโดย ความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้อง ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดต่อทรัพย์สินสูญหาย: การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามวิสัยวิญญูชน
จำเลยเข้าเวรรักษาราชการตาม หน้าที่ และปฏิบัติอย่างที่เคยปฏิบัติมาก่อน กับได้ ใช้ ความระมัดระวังตาม วิสัยเช่น วิญญูชนทั่วไปจะพึงปฏิบัติในการดูแล ทรัพย์สินของตน แล้ว เมื่อปรากฏว่าคนร้ายได้ เล็ดลอดเข้าไปในอาคารโรงเรียน และงัดประตูเก็บเครื่องพิมพ์ดีดลักเอาเครื่องพิมพ์ดีดของโรงเรียนไปในขณะที่จำเลยทั้งสามนอนหลับ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เครื่องพิมพ์ดีดของโรงเรียนสูญหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมาย ไม่เข้าข่ายความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานด้านธุรการ ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร์และงานบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยกระทำมิชอบเกี่ยวกับงานด้านทะเบียนราษฎร์และงานบัตรประจำตัวประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148,157 และ 162จำเลยจึงไม่อาจกระทำความผิดตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'ปฏิบัติหน้าที่' ผู้นำร่อง: ไม่จำกัดเฉพาะการนำร่องเรือ แต่รวมถึงการปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหาร
การปฏิบัติงานของผู้นำร่องตามกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่องออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ข้อ 85 ต้องเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันในหน่วยราชการทั่ว ๆ ไป โดยงานที่ปฏิบัติย่อมแตกต่างกันไปแล้วแต่ตำหน่งหน้าที่ซึ่งอาจจะเป็นงานด้านเทคนิคอันเป็นวิชาชีพพิเศษได้แก่ การนำร่องเรือ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย มิใช่ว่าจะทำเฉพาะหน้าที่นำร่องเรือเพียงอย่างเดียวโดยถือการมาปฏิบัติงาน คือ การมา ณ ที่ทำการตามวันเวลาราชการ เป็นการมาปฏิบัติหน้าที่ดังจะเห็นได้ว่ากฎกระทรวงดังกล่าว ใช้คำว่า "มาปฏิบัติหน้าที่" มิได้ใช้คำว่า "ได้ปฏิบัติหน้าที่นำร่องเรือ"
จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการนำร่องและในฐานะหัวหน้าผู้นำร่องตลอดเวลา ไม่ปรากฏว่าได้ลาหยุดหรือไม่มาปฏิบัติหน้าที่ แม้มิได้นำร่องเรือเกินสิบวันในแต่ละเดือน ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตลอดทั้งเดือน ตามกฎกระทรวงเศรษฐการฯ ข้อ 85 วรรค 2 (1) จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเฉลี่ยเงินค่าจ้างนำร่องที่ให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวง ฯ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ผู้นำร่อง: การพิจารณา 'มาปฏิบัติหน้าที่' ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานในตำแหน่งบริหารหรือไม่
การปฏิบัติงานของผู้นำร่องตามกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่อง ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477(ฉบับที่ 2)ข้อ 85 ต้องเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันในหน่วยราชการทั่ว ๆ ไปโดยงานที่ปฏิบัติย่อมแตกต่างกันไปแล้วแต่ตำแหน่งหน้าที่ซึ่งอาจจะเป็นงานด้านเทคนิคอันเป็นวิชาชีพพิเศษได้แก่การนำร่องเรือ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย มิใช่ว่าจะทำเฉพาะหน้าที่นำร่องเรือเพียงอย่างเดียว โดยถือการมาปฏิบัติงานคือการมา ณ ที่ทำการตามวันเวลาราชการ เป็นการมาปฏิบัติหน้าที่ดังจะเห็นได้ว่ากฎกระทรวงดังกล่าว ใช้คำว่า "มาปฏิบัติหน้าที่" มิได้ใช้คำว่า "ได้ปฏิบัติหน้าที่นำร่องเรือ" จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการนำร่องและในฐานะหัวหน้าผู้นำร่องตลอดเวลา ไม่ปรากฏว่าได้ลาหยุดหรือไม่มาปฏิบัติหน้าที่ แม้มิได้นำร่องเรือเกินสิบวันในแต่ละเดือน ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตลอดทั้งเดือน ตามกฎกระทรวงเศรษฐการฯข้อ 85 วรรค 2(1) จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเฉลี่ยเงินค่าจ้างนำร่องที่ให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายโดยเจ้าพนักงานตำรวจนอกเหนือหน้าที่ ไม่เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ปกติการทำร้ายร่างกายไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา มิใช่เพื่อประสงค์จะให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะจำเลยจับโจทก์ได้แล้ว ทั้งจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนที่ทำร้ายโจทก์เพื่อประสงค์จะให้โจทก์รับสารภาพ กรณีจึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลยจำเลยมีความผิดตามมาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลังจับกุม ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157
ปกติการทำร้ายร่างกายไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา มิใช่เพื่อประสงค์จะให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่เพราะจำเลยจับโจทก์ได้แล้ว และจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนที่ทำร้ายโจทก์เพื่อประสงค์จะให้โจทก์รับสารภาพ กรณีจึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลย จำเลยมีความผิดตามมาตรา 295.
of 31