คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประกันภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขนส่งทางทะเลในสัญญาประกันภัย การชำระค่าสินไหมทดแทน และการรับช่วงสิทธิ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสโจทก์ที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทนหรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าวหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนด 2 ปี ก่อนนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย ซึ่งโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ดังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึงท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทางตลอดจนการติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรเมื่อปรากฏตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) ได้ โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกับบริษัทผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่บริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้ การรับประกันภัยของโจทก์เป็นการรับประกันภัยสินค้าตามจำนวนหน่วย การระบุน้ำหนักไว้เป็นเพียงให้ทราบถึงน้ำหนักของสินค้ารวมทุกหน่วยเท่านั้น และความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าเป็นกรณีที่สินค้านั้นสูญหายไปบางส่วนจำนวน 10 หน่วยและสินค้าเสียหายเพราะเหล็กบุบย่นไปบางส่วน ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้ให้ความคุ้มครอง โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเลต่อผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยแม้โจทก์จะรับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลไว้จากผู้รับตราส่งภายหลังจากที่เรือซึ่งรับขนส่งสินค้าดังกล่าวออกเดินทางจากท่าเรือต้นทางแล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเรือดังกล่าวถึงท่าปลายทางภายหลังวันที่โจทก์รับประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบโต้แย้งว่าความเสียหายมิได้เกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 1 และมิได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวโดยโจทก์รู้อยู่แล้วเช่นนั้นยังจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับตราส่งไปการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของโจทก์แก่ผู้รับตราส่งจึงเป็นการชำระหนี้ไปตามความรับผิดตามสัญญาประกันภัยทางทะเล หาใช่การชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระและไม่สุจริต เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นเจ้าหนี้และเป็นผู้รับตราส่งสำหรับสินค้าที่เอาประกันภัยแล้ว โจทก์ในฐานะลูกหนี้ย่อมเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งผู้เป็นเจ้าหนี้มาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1ผู้ขนส่งซึ่งต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าที่เอาประกันภัยไว้จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่ง บทบัญญัติมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534เป็นเรื่องการคำนวณราคาของที่สูญหายหรือเสียหายว่าผู้ขนส่งของทางทะเลจะต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลเพียงใด ไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยไม่สิ้นผลแม้โอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์, การฟ้องต้องอาศัยเหตุตามที่กล่าวอ้าง
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. ผู้ให้เช่าซื้อ บริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ การที่จำเลยที่ 1 เพียงโอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แก่ ส.กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังคงเป็นของบริษัทง. ผู้ให้เช่าซื้อ กรณีมิใช่เป็นการที่ผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้บุคคลอื่น กรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่สิ้นผลบังคับ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 3 ส.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยส. เป็นหุ้นส่วนประกอบการค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 ส. และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ และ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของ ส. และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยแต่คำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเพราะเหตุที่ ส. ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย คำฟ้องของโจทก์จึงอ้างเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดด้วยเท่านั้น ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองรถยนต์โดยสุจริต: การประกันภัยและค่าสินไหมทดแทน
แม้ ม.ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์และครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์คันพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา1382 หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับเป็นปกติ ทั้งผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 863
โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวไว้แก่จำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนต์คันพิพาทที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองทำประกันภัยรถยนต์ แม้ไม่มีกรรมสิทธิ์: ประเด็นความเสียหายจากการสูญหายและการเรียกร้องค่าสินไหม
แม้ม.ผู้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้รับโอนรถยนต์ มาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน มีการโอนทะเบียนรถยนต์ โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์ไว้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน แจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ และครอบครอง ใช้ประโยชน์รถยนต์ตลอดมาโจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิ ใช้สอยและได้รับประโยชน์จากรถยนต์ มีสิทธิให้ปลดเปลื้อง การรบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิครอบครองตามมาตรา 1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ ในรถยนต์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 จึงเป็น ที่เห็นได้ว่าหากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์ในระหว่างที่อยู่ ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ จากรถยนต์มีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวไว้แก่จำเลย เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยได้สูญหายไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองทำประกันภัยรถยนต์คันพิพาท แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่เป็นของตน
แม้ผู้ขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาท ไม่อาจโอนขายให้โจทก์ได้ก็ตาม แต่โจทก์ได้รับโอนรถยนต์คันพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนมีการโอนทะเบียนรถยนต์โดยเปิดเผย โจทก์ได้ยึดถือรถยนต์คันพิพาทไว้ โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน มีการแจ้งย้ายทะเบียนรถยนต์ไปยังภูมิลำเนาของโจทก์ และโจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์ รถยนต์คันพิพาทตลอดมา โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองรถยนต์ คันพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 โจทก์จึงมีสิทธิใช้สอย และได้รับประโยชน์จากรถยนต์ คันพิพาท มีสิทธิให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครอง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1374 มีสิทธิโอนสิทธิ ครอบครองตามมาตรา 1378 และอาจได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ดังนี้ หากมีวินาศภัยเกิดขึ้นแก่รถยนต์คันพิพาทในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายต้องขาดประโยชน์ในการใช้สอยรถยนต์คันพิพาทไปจากที่เคยได้รับเป็นปกติ ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้นผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณ เป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจ เอาประกันภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการยึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ จากรถยนต์คันพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยรถยนต์ ดังกล่าวไว้แก่จำเลยโดยมิต้องคำนึงถึงว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ คันพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อรถยนต์คันพิพาท ที่เอาประกันภัยได้สูญหายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามสัญญาประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัย vs. ความรับผิดต่อสัญญาเช่าซื้อ
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยตกลงกันว่าให้จำเลยประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อ และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้น ถือว่าเป็นการตกลงกันเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เมื่อรถยนต์ คันดังกล่าวได้สูญหายไป สิทธิของโจทก์ที่จะรับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโจทก์แสดงเจตนาแก่จำเลยร่วมว่าจะถือเอาประโยชน์สัญญานั้น และเนื่องจากไม่มีข้อตกลงให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิ เรียกร้องแก่จำเลยร่วมให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน การที่จำเลยแจ้งว่ารถยนต์คันที่เช่าซื้อได้สูญหายไปให้ โจทก์ทราบ และโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังมีอำนาจเรียกร้องต่อจำเลยโดยตรงได้แม้จะเป็น ภายหลังจากที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีแก่จำเลยร่วมขาดอายุความไปแล้ว ก็หาใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่ เมื่อรถยนต์คันที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยจำเลยยังไม่ได้ชำระราคาค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แม้แต่งวดเดียว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย กรณีรถยนต์ถูกลักโจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทน แม้คำสั่งไม่ฟ้องในทางอาญา ศาลแพ่งยังคงพิพากษาได้
คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในทางอาญา เป็นเรื่อง ที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งสำนวนไปตามพยานหลักฐาน เท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนจะนำมารับฟังเป็นที่ยุติ ในชั้นพิจารณาของศาลในคดีแพ่งว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิด มิได้ และเมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่า พยานหลักฐานของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่ฟ้องทางอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยและการรับช่วงสิทธิ
แม้จะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในทางอาญา ก็เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งสำนวนไปตาม พยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนจะนำมารับฟังเป็นที่ยุติในชั้นพิจารณาของศาลในคดีแพ่งไม่ได้ว่าจำเลย ไม่ได้กระทำละเมิด เมื่อพยาน หลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐาน ของจำเลย โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 53 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัย: เงื่อนไขการแจ้งความเสียหายเป็นสาระสำคัญสัญญา ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งภายในเวลา หากไม่แจ้งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอาจหมดไป
กรมธรรม์ประกันภัยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายในทันทีและภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดการสูญเสียหรือเสียหาย มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญา แม้บริษัทผู้รับประกันภัยจำเลยจะไม่ยกเงื่อนไขเป็นข้อต่อสู้ในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็หาได้ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งค่าเสียหายให้จำเลยทราบเพียงครั้งเดียว โดยค่าเสียหายก่อนหน้านั้นโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบ กรณีจึงมิได้เป็นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยมีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน ๆ ได้
of 71