พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8789/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายหากมิได้เป็นผู้ทำละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 ขับรถชนรถคันอื่นจนทำให้เกิดความเสียหายแก่รถอื่นถึง 3 คัน ย่อมเป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถด้วยความเร็วสูงในขณะเมาสุรา เมื่อตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ท้ายตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ข้อ 7 ระบุว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจาก 7.6 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่าเงื่อนไขตาม 7.6 บริษัทจะไม่นำมาเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิด เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้วตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 8 วรรคสาม โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากผู้เอาประกันภัยได้
ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยที่จะถูกเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น หมายถึง ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมิใช่เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยที่จะถูกเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น หมายถึง ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมิใช่เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6758/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันพิพากษาคดีอาญา
แม้โจทก์จะฟ้องขอค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองโดยมีมูลเหตุจากการที่ จ. ขับรถบรรทุกชน ศ. บุตรโจทก์ เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้เอาประกันภัย เรียกให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันเกิดวินาศภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 มิใช่นับแต่ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6686/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความข้อยกเว้นความรับผิดในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ต้องตีความโดยเคร่งครัดและเป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัย
ผู้รับประกันภัยเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัย เงื่อนไขที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้ามีข้อสงสัยต้องตีความให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งตามเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อรถยนต์สูญหาย โดยในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และยักยอกทรัพย์ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเงินเอาประกันภัย และมีข้อยกเว้นความรับผิดว่าการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น เงื่อนไขที่ยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยนี้จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าหมายถึงความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์ ที่กระทำโดยบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายหรือครอบครองตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ เท่านั้น เนื่องจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยง่ายจึงมีความเสี่ยงสูง กรมธรรม์จึงไม่อาจให้ความคุ้มครองได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายเพราะถูก ว. ยักยอกไป ซึ่ง ว. เป็นผู้รับมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจำเลยที่ 2 ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เพื่อนำไปขาย กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8820/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลมประกันภัยรถยนต์: การพิจารณาความรับผิดของผู้ทำละเมิดและผู้รับประกันภัย
คำบรรยายฟ้องใดจะชัดเจนหรือไม่ เพียงใด จำต้องพิจารณาเหตุแห่งข้ออ้างทั้งหลายประกอบเอกสารที่แนบไว้ท้ายคำฟ้องว่าเพียงพอให้เข้าใจสภาพแห่งข้อหาหรือไม่ ทั้งต้องไม่มีผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย
คำฟ้องของโจทก์แม้เป็นกรณีที่ขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยรับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่หมายเลขทะเบียน จ - 9529 กรุงเทพมหานคร ไว้ในขณะเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ค. ขับรถยนต์แท็กซี่คันดังกล่าวโดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ ค. ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นฝ่ายประมาท ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีท้ายคำฟ้อง โดยเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ค. ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ของ ส. โดยมอบให้จำเลยเป็นผู้ใช้แทนทั้งหมด เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวแล้ว เพียงพอให้เข้าใจว่าสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่ไว้จาก ค. ผู้เอาประกันภัย ส่วนปัญหาว่า ค. เป็นผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา นอกจากนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยจึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากฟ้องโจทก์อีก ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใด จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและเป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติสัมพันธ์นั้น เมื่อฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าขอให้จำเลยรับผิดในการทำละเมิดของ ค. ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ทำละเมิดอีก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำฟ้องของโจทก์แม้เป็นกรณีที่ขอให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้และผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันเป็นเหตุให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ถือเป็นสาระสำคัญในเรื่องการบรรยายฟ้องก็ตาม แต่โจทก์บรรยายคำฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยรับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่หมายเลขทะเบียน จ - 9529 กรุงเทพมหานคร ไว้ในขณะเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ค. ขับรถยนต์แท็กซี่คันดังกล่าวโดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุ ค. ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นฝ่ายประมาท ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีท้ายคำฟ้อง โดยเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุว่า ค. ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รถยนต์ของ ส. โดยมอบให้จำเลยเป็นผู้ใช้แทนทั้งหมด เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวแล้ว เพียงพอให้เข้าใจว่าสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ประสงค์ให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์แท็กซี่ไว้จาก ค. ผู้เอาประกันภัย ส่วนปัญหาว่า ค. เป็นผู้เอาประกันภัยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องร่วมรับผิดหรือไม่ อย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณา นอกจากนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองกรมธรรม์ประกันภัยจึงสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาตรวจสอบเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัย โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากฟ้องโจทก์อีก ข้อที่ว่าจำเลยรับประกันภัยไว้จากผู้ใด จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วและเป็นเพียงรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ส่วนในเรื่องนิติสัมพันธ์นั้น เมื่อฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจได้ว่าขอให้จำเลยรับผิดในการทำละเมิดของ ค. ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ทำละเมิดอีก ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
ตามฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยเป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 แล้ว ยังพอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถซึ่งขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเองด้วย ดังนั้น แม้ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็ยังจะต้องพิจารณาต่อไปว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามพยานหลักฐานของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชอบสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยรถที่โจทก์รับประกันภัยและต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14426/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์กรณีรถหายจากบุคคลที่ได้รับมอบหมายเช่า การตีความขอบเขตความเสี่ยง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยผู้รับประกันภัยโดยตรง โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้และเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ คงอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์ยินยอมให้นำรถยนต์ออกให้เช่า เมื่อรถยนต์สูญหายจึงเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจึงเป็นอันยุติแล้ว จำเลยจะยกขึ้นฎีกาอีกหาได้ไม่ ฎีกาในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับในขณะยื่นฟ้อง) เห็นว่า ที่โจทก์ขอเปลี่ยนแปลงการใช้รถยนต์จากการใช้ส่วนบุคคลเป็นการใช้เพื่อการพาณิชย์ตามใบสลักหลังเอาประกันภัยรถยนต์นั้น จำเลยเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเนื่องจากการใช้รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีความเสี่ยงภัยมากกว่าการใช้ส่วนบุคคล ซึ่งในใบสลักหลังเอาประกันภัยรถยนต์ มีข้อความระบุว่า 1. ให้ยกเลิกรายการใช้รถยนต์เดิม และใช้รถยนต์ตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายนี้แทน 2. ให้ปรับเบี้ยประกันภัยให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายนี้ การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลบังคับเฉพาะต่อรถยนต์ที่ระบุไว้ข้างต้น เงื่อนไขและสัญญาประกันภัยข้ออื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผลบังคับของเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงยังเป็นเช่นเดิม เพียงแต่การใช้รถยนต์ตามที่ระบุในตารางกรมธรรม์ประกันภัยเปลี่ยนแปลงจากการใช้ส่วนบุคคลเป็นการใช้เพื่อการพาณิชย์ หากเกิดความเสียหายต่อรถยนต์ เช่น รถยนต์เกิดอุบัติเหตุในขณะนำรถไปใช้เพื่อการพาณิชย์ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อรถยนต์ให้แก่โจทก์ ส่วนเงื่อนไขความคุ้มครองกรณีรถยนต์สูญหายยังต้องเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยในหมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ ที่ระบุการยกเว้นความรับผิดของจำเลย ตามข้อ 5.1 ว่า ยกเว้นไม่คุ้มครองความสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเงื่อนไขความคุ้มครองในหมวดนี้ยังคงมีผลบังคับโดยหาได้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงการใช้รถยนต์จากการใช้ส่วนบุคคลเป็นการใช้เพื่อการพาณิชย์แต่อย่างใดไม่
การที่โจทก์ยินยอมให้ ป. นำรถยนต์ออกให้เช่า โดยโจทก์กับ ป. มีข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์จากค่าเช่ารถยนต์ที่ได้รับ เช่นนี้ โจทก์เป็นผู้มอบการครอบครองรถยนต์เพื่อนำออกให้เช่าผ่าน ป. เมื่อ ศ. ทำสัญญาเช่ารถยนต์กับ ป. ซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์มอบหมาย ก็เท่ากับโจทก์มอบการครอบครองรถยนต์แก่ ศ. โดยการดำเนินการของ ป. นั่นเอง เหตุที่รถยนต์สูญหายมาจากการที่ ศ. ผู้เช่า ไม่ส่งคืนรถยนต์ จึงเป็นการยักยอกทรัพย์โดยบุคคลที่ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า ย่อมเข้าเงื่อนไขการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 5.1 ดังกล่าว
การที่โจทก์ยินยอมให้ ป. นำรถยนต์ออกให้เช่า โดยโจทก์กับ ป. มีข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์จากค่าเช่ารถยนต์ที่ได้รับ เช่นนี้ โจทก์เป็นผู้มอบการครอบครองรถยนต์เพื่อนำออกให้เช่าผ่าน ป. เมื่อ ศ. ทำสัญญาเช่ารถยนต์กับ ป. ซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์มอบหมาย ก็เท่ากับโจทก์มอบการครอบครองรถยนต์แก่ ศ. โดยการดำเนินการของ ป. นั่นเอง เหตุที่รถยนต์สูญหายมาจากการที่ ศ. ผู้เช่า ไม่ส่งคืนรถยนต์ จึงเป็นการยักยอกทรัพย์โดยบุคคลที่ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า ย่อมเข้าเงื่อนไขการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 5.1 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุละเมิด: การพิสูจน์ความรับผิดและการรับช่วงสิทธิในคดีประกันภัยรถยนต์
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคสอง เป็นข้อสันนิษฐานในคดีอาญาเพื่อให้ผู้ขับรถเข้าแสดงตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือแสดงความบริสุทธิ์ จึงไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด คู่ความมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ล. ลูกจ้างของจำเลยขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธว่า เหตุคดีนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของ ช. ผู้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัย เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่า ล. ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และจำเลยให้การปฏิเสธว่า ล. ไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่า ล. เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น) โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา 84 (2) ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 437
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยแม้ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้ขับขี่
แม้ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม แต่ก็ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์เพื่อตั้งเป็นประเด็นไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาได้อีก เพราะถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถบรรทุกคันเกิดเหตุที่ได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย โดยวันเกิดเหตุลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ไปส่งสินค้าให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เมื่อลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถคันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยถอยหลังชนซุ้มเสาประตูโรมันค้ำยันและรองรับระเบียงหน้าบ้านของโจทก์แตกหักเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้โดยลำพัง เพียงแต่หากโจทก์ผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วย จะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ คดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยรวมมากับจำเลยที่ ๒ ผู้รับประกันภัยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุเอง ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากไม่ได้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์นั้น หาทำให้มูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ระงับสิ้นไปไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามกฎหมายก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผิดไปมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเท่านั้น ดังนั้น เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยยังคงมีอยู่ในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์และขณะนั้นจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยซึ่งมีความรับผิดตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยอยู่ก่อนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย กรณีหาใช่เรื่องมูลความแห่งคดีที่การชำระหนี้มิอาจแบ่งแยกกันได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดอันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยต้องหลุดพ้นไปจากความรับผิดแต่อย่างใดไม่
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถบรรทุกคันเกิดเหตุที่ได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย โดยวันเกิดเหตุลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ไปส่งสินค้าให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 รับประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เมื่อลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถคันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยถอยหลังชนซุ้มเสาประตูโรมันค้ำยันและรองรับระเบียงหน้าบ้านของโจทก์แตกหักเสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคสอง ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้โดยลำพัง เพียงแต่หากโจทก์ผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วย จะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ คดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยรวมมากับจำเลยที่ ๒ ผู้รับประกันภัยโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุเอง ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากไม่ได้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์นั้น หาทำให้มูลหนี้อันเกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ระงับสิ้นไปไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามกฎหมายก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผิดไปมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเท่านั้น ดังนั้น เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยยังคงมีอยู่ในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์และขณะนั้นจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยซึ่งมีความรับผิดตามตารางกรมธรรม์ประกันภัยอยู่ก่อนแล้ว จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนยังคงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย กรณีหาใช่เรื่องมูลความแห่งคดีที่การชำระหนี้มิอาจแบ่งแยกกันได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดอันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยต้องหลุดพ้นไปจากความรับผิดแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์สูญหาย: การยักยอกโดยผู้ยืมรถ ไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของประกันภัย
รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกยักยอกโดย ก. ซึ่งเป็นผู้ที่ขอยืมรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไปใช้ ทั้งไม่ได้ความว่า ก. เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายหรือครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าว จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยร่วม ผู้รับประกันภัย จะปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่มีเงื่อนไขข้อใดที่ระบุว่า หากผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ไม่แจ้งความเสียหายหรือไม่แจ้งเหตุที่ทำให้เกิดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยให้จำเลยร่วม ผู้รับประกันภัย ทราบในทันที จะทำให้จำเลยร่วมหลุดพ้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ไปปรึกษากับพนักงานสอบสวนในเรื่องรถยนต์ถูกยักยอกแล้วไปแจ้งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเพื่อให้โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจแจ้งความดำเนินคดีก็เป็นการดำเนินการอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้ว ส่วนโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่มีหน้าที่แจ้งเหตุให้จำเลยร่วมทราบ ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งเหตุรถยนต์ถูกยักยอกไปให้จำเลยร่วมทราบจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยร่วมปฏิเสธความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่มีเงื่อนไขข้อใดที่ระบุว่า หากผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ไม่แจ้งความเสียหายหรือไม่แจ้งเหตุที่ทำให้เกิดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยให้จำเลยร่วม ผู้รับประกันภัย ทราบในทันที จะทำให้จำเลยร่วมหลุดพ้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งการที่จำเลยที่ 1 ไปปรึกษากับพนักงานสอบสวนในเรื่องรถยนต์ถูกยักยอกแล้วไปแจ้งโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเพื่อให้โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจแจ้งความดำเนินคดีก็เป็นการดำเนินการอันจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวแล้ว ส่วนโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย ไม่มีหน้าที่แจ้งเหตุให้จำเลยร่วมทราบ ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งเหตุรถยนต์ถูกยักยอกไปให้จำเลยร่วมทราบจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยร่วมปฏิเสธความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการเก็บบัตรจอดรถ ไม่ถือเป็นเหตุยกเว้นความรับผิดตามสัญญาประกันภัยรถยนต์
ร. รับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างสรรพสินค้าแล้ววางบัตรไว้ที่คอนโซลภายในรถ แม้จะเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังในการเก็บรักษาบัตรจอดรถ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าก่อนที่จะเข้าไปซื้อของ ร. ได้ล็อกประตูรถไว้เรียบร้อยแล้วโดยไม่ได้เสียบกุญแจติดเครื่องยนต์ไว้กับรถยนต์ และได้จอดรถยนต์ไว้เพียง 30 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่นานเกินสมควร ข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์ฟังไม่ได้ว่ารถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ได้หายไปเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามสัญญาประกันภัย