พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความค่าชดเชยขัดประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นโมฆะ คุ้มครองฐานะลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างเป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้างจึงเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยซึ่งทำขึ้นผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยที่เป็นโมฆะ หากขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้างเป็นการคุ้มครองและอำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้างจึงเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยซึ่งทำขึ้นผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงเป็นโมฆะใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546-3547/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการโจรกรรม: 'หนี้อื่น' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหมายถึงหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน
คำว่า "หนี้อื่น" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 30 นั้น หมายถึงหนี้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง หนี้ที่โจทก์ทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยเนื่องจากการปฏิบัติงานตามสัญญาจ้างจึงมิใช่หนี้อื่นซึ่งนายจ้างจะนำมาหักจากค่าจ้างมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นบางส่วนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่ลูกจ้างประสบอันตรายขณะทำงานเป็นเหตุให้ตาขวาสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานร้อยละสามสิบนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนฯข้อ1(15) กำหนดว่า ถ้าสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป ให้มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทน สองปี หนึ่งเดือน และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดว่า การประสบอันตรายซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้คำนวณเทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะประเภทนั้นดังนั้น กรณีนี้จึงมีกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนเท่ากับสองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 100 มิใช่สองปีหนึ่งเดือนคูณด้วย 30 หารด้วย 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพการมองเห็นบางส่วนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
การที่ลูกจ้างประสบอันตรายขณะทำงานเป็นเหตุให้ตาขวาสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานร้อยละสามสิบนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนฯ ข้อ1(15) กำหนดว่า ถ้าสูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละเก้าสิบขึ้นไป ให้มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทน สองปี หนึ่งเดือน และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 54 กำหนดว่า การประสบอันตรายซึ่งเป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะไปเพียงบางส่วน ให้คำนวณเทียบอัตราส่วนร้อยละจากจำนวนระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการสูญเสียอวัยวะประเภทนั้นดังนั้น กรณีนี้จึงมีกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนเท่ากับสองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 100 มิใช่สองปีหนึ่งเดือน คูณด้วย 30 หารด้วย 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุ พนักงานรัฐวิสาหกิจมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้ได้รับบำเหน็จ
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จะออกโดยฝ่ายบริหาร แต่ก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ฯ ข้อ 2 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุแต่อย่างใด เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจฯก็มิได้บัญญัติว่าการที่พนักงาน ต้องพ้น ตำแหน่งเพราะครบ 60 ปีบริบูรณ์ไม่เป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศดังกล่าวในข้อที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เป็นเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยก็หาเป็นค่าชดเชยไม่
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุแต่อย่างใด เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจฯก็มิได้บัญญัติว่าการที่พนักงาน ต้องพ้น ตำแหน่งเพราะครบ 60 ปีบริบูรณ์ไม่เป็นการเลิกจ้าง จึงไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศดังกล่าวในข้อที่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่จ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เป็นเงิน ประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้จะมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชยก็หาเป็นค่าชดเชยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทจ่ายบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่ม
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยให้จ่ายเงินบำเหน็จหรือค่าชดเชยอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีจำนวนสูงกว่าอีกอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นลูกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่อง แม้มีวันหยุดคั่น ก็ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47ที่กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำ ที่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันนั้นมุ่งหมายมิให้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกันหลายวันทำงาน ฉะนั้น เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 18,19,20,21,22 และ 23 แม้วันที่ 19,21 และ22 จะเป็นวันหยุดก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกัน ความเสียหายของนายจ้างไม่น้อยไปกว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานโดยไม่มีวันหยุดคั่นจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตามประกาศดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001-2002/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รัฐวิสาหกิจต้องอยู่ในบังคับประกาศคุ้มครองแรงงานเช่นนายจ้างเอกชน หากมิได้ยกเว้น
องค์การแก้วจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่ราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นกิจการที่กระทรวงมหาดไทยประกาศยกเว้น มิให้อยู่ในข่ายบังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจึงต้องอยู่ในบังคับประกาศดังกล่าวเช่นนายจ้างที่เป็นเอกชน