คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 137 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมที่ระงับคดีอาญาแผ่นดินขัดต่อความสงบเรียบร้อย ถือเป็นโมฆะ
บุตรจำเลยขับจักรยานยนต์ชนบุตรโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสโจทก์จำเลยจึงได้ทำสัญญาปรองดองกัน โดยฝ่ายจำเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้น ฝ่ายโจทก์ไม่เอาความผิดในคดีอาญา ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญามีผลเท่ากับตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดินเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ล้มละลายทำสัญญาประนีประนอมหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้รับเงิน ถือเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบ
การที่จำเลย (ลูกหนี้) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) และได้มอบเงินให้ทนายจำเลยนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์รับไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลย (ลูกหนี้) ไม่มีสิทธิจะทำได้ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อทั้งผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ล้มละลายทราบอยู่แล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ยังรับเงินจากลูกหนี้(จำเลย) ไว้ เช่นนี้ เป็นการมิชอบด้วยมาตรา 173 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากผู้ร้องขอรับชำระหนี้ได้
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ยืนยันให้เรียกเงินคืน ในกรณีเช่นนี้แม้จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเป็นส่วนน้อย เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งแจ้งความนัดประชุมไปยังเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยชอบแล้วก็ไม่ทำให้การประชุมและมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในการนั้นเสียไปทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การยกเลิกเฉพาะส่วนของสัญญาจากข้อตกลงประนีประนอม และการบังคับตามสิทธิที่เหลือ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ค้างค่าเช่าซื้องวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายอีก 7,700 บาท จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ให้เช่าซื้อ โจทก์ไปร้องอำเภอ อำเภอทำการเปรียบเทียบคู่กรณีตกลงกันว่า เฉพาะบริเวณที่จำเลยปลูกบ้าน เนื้อที่ 200 ตารางวา โจทก์ยอมให้แก่จำเลยโดยตีราคา 7,700 บาท เท่าที่โจทก์ยังค้างค่าเช่าซื้อ ดังนี้ สัญญาเช่าซื้อหาได้ถูกยกเลิกไปหมดโดยสัญญาประนีประนอมซึ่งทำกันที่อำเภอไม่สัญญาเช่าซื้อจึงนับว่าถูกยกเลิกไปเฉพาะแต่ในส่วนที่ดิน 200 ตารางวาบริเวณที่จำเลยปลูกบ้านเท่านั้น สัญญาเช่าซื้อสำหรับที่ดินนอกบริเวณที่ปลูกบ้าน 200 ตารางวาก็คงมีต่อไป และถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบหมดแล้ว โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่โจทก์ได้
แม้โจทก์จะฟ้องขอบังคับเอาเต็มตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเมื่อศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธิขอบังคับเอาได้แต่เพียงบางส่วน ศาลก็ย่อมพิพากษาให้เท่าที่โจทก์มีสิทธินั้นได้และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้สิทธิในที่ดินตกไปเป็นของโจทก์โดยให้โจทก์กันที่ดินคืนให้แก่จำเลย 200 ตารางวา ณ ที่บริเวณที่จำเลยปลูกบ้านนั้นถ้าเกิดขัดข้องขึ้นว่าจะกันเขตให้กันตรงไหน ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันได้ในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่เป็นการหมดหลักเกณฑ์ที่จะทำการบังคับกันไม่ได้ดังทำนองที่จำเลยว่ามาส่วนข้อที่ว่าที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่ามีอยู่ 1 ไร่เศษ แต่ปรากฏขึ้นในภายหลังว่ามีอยู่ถึง 2 ไร่ 2งาน มากกว่าที่กล่าวในสัญญานั้น ก็เห็นว่าตามสัญญาเช่าซื้อท้ายฟ้องได้บ่งถึงการเช่าซื้อที่ดินทั้งแปลงตามที่ลงไว้ใน ส.ค.1 เลขที่ 13 ส่วนที่ลงไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นการประมาณเอาตามที่เข้าใจว่ามีหาใช่มุ่งหมายไปในทางว่าจำเลยได้แบ่งขายที่แปลงนั้นให้โจทก์ไปราว 1 ไร่เศษเท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การยกเลิกเฉพาะส่วนของสัญญาจากข้อตกลงประนีประนอม และสิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาที่เหลือ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินจากจำเลย. โจทก์ค้างค่าเช่าซื้องวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายอีก 7,700 บาท. จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ให้เช่าซื้อ โจทก์ไปร้องอำเภอ อำเภอทำการเปรียบเทียบ. คู่กรณีตกลงกันว่า เฉพาะบริเวณที่จำเลยปลูกบ้าน เนื้อที่ 200 ตารางวา โจทก์ยอมให้แก่จำเลยโดยตีราคา 7,700 บาท เท่าที่โจทก์ยังค้างค่าเช่าซื้อ. ดังนี้ สัญญาเช่าซื้อหาได้ถูกยกเลิกไปหมดโดยสัญญาประนีประนอมซึ่งทำกันที่อำเภอไม่. สัญญาเช่าซื้อจึงนับว่าถูกยกเลิกไปเฉพาะแต่ในส่วนที่ดิน 200 ตารางวาบริเวณที่จำเลยปลูกบ้านเท่านั้น. สัญญาเช่าซื้อสำหรับที่ดินนอกบริเวณที่ปลูกบ้าน 200 ตารางวาก็คงมีต่อไป. และถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยครบหมดแล้ว. โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่โจทก์ได้.
แม้โจทก์จะฟ้องขอบังคับเอาเต็มตามสัญญาเช่าซื้อเดิม.เมื่อศาลฟังว่าโจทก์มีสิทธิขอบังคับเอาได้แต่เพียงบางส่วน ศาลก็ย่อมพิพากษาให้เท่าที่โจทก์มีสิทธินั้นได้. และการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้สิทธิในที่ดินตกไปเป็นของโจทก์โดยให้โจทก์กันที่ดินคืนให้แก่จำเลย 200ตารางวา ณ ที่บริเวณที่จำเลยปลูกบ้านนั้น. ถ้าเกิดขัดข้องขึ้นว่าจะกันเขตให้กันตรงไหน ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากันได้ในชั้นบังคับคดี. ไม่ใช่เป็นการหมดหลักเกณฑ์ที่จะทำการบังคับกันไม่ได้ดังทำนองที่จำเลยว่ามา. ส่วนข้อที่ว่าที่ดินตามสัญญาเช่าซื้อระบุไว้ว่ามีอยู่ 1ไร่เศษ แต่ปรากฏขึ้นในภายหลังว่ามีอยู่ถึง 2 ไร่ 2งาน มากกว่าที่กล่าวในสัญญานั้น. ก็เห็นว่าตามสัญญาเช่าซื้อท้ายฟ้องได้บ่งถึงการเช่าซื้อที่ดินทั้งแปลงตามที่ลงไว้ใน ส.ค.1 เลขที่ 13. ส่วนที่ลงไว้ว่ามีเนื้อที่เท่าใดนั้น เป็นการประมาณเอาตามที่เข้าใจว่ามี. หาใช่มุ่งหมายไปในทางว่าจำเลยได้แบ่งขายที่แปลงนั้นให้โจทก์ไปราว 1 ไร่เศษเท่านั้นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกและการทำสัญญาประนีประนอมของผู้อำนาจปกครองเด็ก
จำเลยซึ่งเป็นน้องเจ้ามรดก. ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755.
ที่นาพิพาทเป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรกับมารดาเจ้ามรดก. โจทก์ทั้งสามเป็นผู้เยาว์. มารดาโจทก์ไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับที่พิพาทได้โดยพลการ. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1546. สัญญาประนีประนอมที่ ส.กับมารดาโจทก์ทำไว้ไม่มีผลบังคับแก่โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่การขายฝากในสัญญาประนีประนอม: ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตกเป็นของโจทก์
ที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันมีใจความว่าจำเลยยอมใช้เงิน 70,000 บาท แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระเงินจำเลยยอมให้โจทก์เข้าสวมสิทธิไถ่การขายฝากที่ดิน เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดนั้น มิได้มีความหมายว่าเป็นการโอนสิทธิการไถ่การขายฝากให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497(2) ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่มีความหมายแต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนมาในนามของจำเลย จำเลยคงมีสิทธิอยู่ตามเดิม ส่วนโจทก์มีเพียงสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้เพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน 70,000 บาทตามสัญญาเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้ใหม่นอกศาล: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนหากโจทก์ไม่รับรอง
เมื่อศาลได้พิพากษาคดีให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์และออกคำบังคับแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์ก็ย่อมขอให้ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องว่าได้มีการตกลงกับโจทก์ใหม่ และได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามข้อตกลงใหม่แล้วขอให้งดการบังคับคดี เป็นการกระทำนอกศาล โดยศาลมิได้รู้เห็นด้วยทั้งโจทก์ก็ไม่รับรองว่าได้รับเงินครบถ้วนตามคำร้องของจำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยจะไปว่ากล่าวกับโจทก์เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากจำเลยจะยกมาเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดจากการปิดทำนบหลังสัญญาประนีประนอม แม้โจทก์มีหน้าที่เปิดทำนบ ก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยยอมให้เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะปิดเปิดทำนบในเมื่อต้องการหรือไม่ต้องการน้ำ ต่อมาโจทก์เปิดทำนบ จำเลยไปปิดทำให้น้ำท่วมต้นข้าวโจทก์เสียหาย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจะสู้ว่าโจทก์ไม่เปิดทำนบเอง โจทก์มีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลชี้ขาดประเด็นการอยู่อาศัยในที่ดินหลังประนีประนอม คำสั่งเด็ดขาดแล้วห้ามขอแก้ไข
การที่ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ย่อมใช้บังคับได้ตลอดถึงบริวารจำเลยด้วย
โจทก์ร้องว่า ผู้ร้องกับพวกเป็นบริวารจำเลยผู้ร้องกับพวกสู้ว่าไม่ได้เป็นบริวารจำเลยเพราะเป็นผู้เช่าที่ดินจากจำเลยศาลสั่งว่าให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ต่อไปอีก 3 เดือน คำสั่งศาลที่ว่านี้เป็นคำสั่งศาลชี้ขาดในประเด็นระหว่างผู้ร้องกับโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในข้อโต้เถียงแล้วมิได้มีฝ่ายใดอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นย่อมเด็ดขาดถึงที่สุดตามกฎหมายและบังคับคดีต่อไปตามคำสั่งนั้นได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา271)
ศาลสั่งให้ผู้ร้องกับพวกอยู่ในที่ดินโจทก์ได้เพียง 3 เดือน เพราะการเช่าจากจำเลยเป็นการอยู่โดยอาศัยอำนาจจำเลย ชื่อว่าเป็นบริวารจำเลย ผู้ร้องขอให้แก้เป็นให้ผู้ร้องอยู่ได้ต่อไป เพราะผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลยย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา144(1) เพราะมิใช่การขอให้แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังสละสิทธิโดยสัญญาประนีประนอม การเข้าแย่งการครอบครอง และอายุความ
จำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่ ภายหลังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมสละสิทธิยกที่พิพาทให้แก่ผู้มีชื่อตามสัญญายอม และศาลได้ออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องมอบและโอนสิทธิครอบครองที่พิพาทให้แก่ผู้มีชื่อนั้น ถึงแม้จำเลยจะยังครอบครองที่พิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกิน 1 ปี ก็มิใช่เป็นการเข้าแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันจะทำให้คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
of 14