พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในมรดกยุติลงหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในการเป็นผู้จัดการมรดก
ณ. เคยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยคำสั่งศาลมาก่อน ต่อมาผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรผู้ตายฟ้องขอให้ศาลเพิกถอน ณ. จากการเป็นผู้จัดการมรดกแล้วถอนฟ้อง โดยตกลงกันให้ ณ. ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป ซึ่ง ณ. ยอมแบ่งเงินจากกองมรดกของผู้ตายจำนวน 180,000 บาท ให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์มรดกอื่นใดอีก ข้อตกลงดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ อันเป็นการระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งทำให้การเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 852 ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีก จึงมาร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636-6637/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องอาญาถูกระงับจากการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง แม้มีข้อยกเว้น
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ใช้เงินตามเช็ค โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายที่ได้สละนั้นระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้รับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก ดังนั้น หนี้ตามเช็คจึงเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า การยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา ข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 แต่ข้อตกลงนั้นสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงอื่น ๆ ได้หาทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่(คำสั่งศาลฎีกา)
ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า การยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา ข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้งจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 แต่ข้อตกลงนั้นสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงอื่น ๆ ได้หาทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความคดีอาญา ไม่กระทบความรับผิดทางละเมิดในคดีแพ่ง
ในคดีอาญาเรื่องก่อนที่โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. พนักงานของโจทก์ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน เป็นมูลคดีที่โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยร่วมและ น. ในข้อหาฉ้อโกง เนื่องจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันหลอกลวงเอาเช็คไปจากโจทก์ และนำเข้าบัญชีของจำเลยร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินที่ธนาคารจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิด เนื่องจากพนักงานของจำเลยกระทำการด้วยความประมาทเลินเล่อ เรียกเก็บเงินตามเช็คซึ่งระบุชื่อผู้ทรงและมีข้อความขีดคร่อมห้ามเปลี่ยนมือเข้าบัญชีของจำเลยร่วมโดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นเช็คที่ออกให้แก่บุคคลอื่น เป็นเหตุให้ธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของโจทก์โอนเข้าบัญชีของจำเลยร่วมไป แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและน. ในคดีอาญาเป็นเรื่องระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมกับ น. กรณีทั้งสองเป็นคนละเรื่องกัน ความรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยในคดีนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(11) "คู่ความ" หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความฝ่ายจำเลยมีทนายความเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและจำเลยเป็นผู้แต่งทนายความ โดยให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลยรวมทั้งการประนีประนอมยอมความได้ด้วย การที่ทนายความได้สละข้อต่อสู้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำของคู่ความคือจำเลยด้วย จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลว่าทนายจำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยจำเลยไม่ทราบนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้จำเลยอ้างไม่ทราบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความฝ่ายจำเลยมีทนายความเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและจำเลยเป็นผู้แต่งทนายความ โดยให้ทนายความมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของจำเลยรวมทั้งการประนีประนอมยอมความได้ด้วย การที่ทนายความได้สละข้อต่อสู้และทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำของคู่ความคือจำเลยด้วย จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลว่าทนายจำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยจำเลยไม่ทราบนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมอายัดเงินในสัญญาประนีประนอมยอมความ: หลักการชำระค่าธรรมเนียมโดยคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยตกลงให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าธรรมเนียม ในการอายัดเงินของจำเลยซึ่งบุคคลภายนอกนำมาวางต่อศาลชั้นต้นย่อมตกเป็นพับด้วย
ค่าธรรมเนียมการอายัดเงินจะเรียกเก็บต่อเมื่อมีการขอให้จ่ายเงินมิใช่เรียกเก็บในขณะที่มีการอายัด เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่โจทก์และจำเลยก็เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 3 ครึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 เสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 1 ทั้งนี้ ตาม ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 2 และข้อ 4
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 4 และข้อ 5 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง มีหลักการสำคัญว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลสั่งจ่ายเงินที่อายัดย่อมมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัด จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 4 แม้จำเลยจะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขออายัดเงินนั้น ก็ตาม
ค่าธรรมเนียมการอายัดเงินจะเรียกเก็บต่อเมื่อมีการขอให้จ่ายเงินมิใช่เรียกเก็บในขณะที่มีการอายัด เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่โจทก์และจำเลยก็เป็นผู้ขอให้จ่ายเงินที่อายัดไว้ให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่าต่างฝ่ายต่างเป็นคู่ความผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมในส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 3 ครึ่ง ส่วนจำเลยที่ 1 เสียค่าธรรมเนียมการอายัดร้อยละ 1 ทั้งนี้ ตาม ตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 2 และข้อ 4
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ 4 และข้อ 5 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง มีหลักการสำคัญว่า คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้ศาลสั่งจ่ายเงินที่อายัดย่อมมีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัด จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม ในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่อายัดตามตาราง 5 ข้อ 4 แม้จำเลยจะมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขออายัดเงินนั้น ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเช็คหมดอายุเมื่อมีการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งแล้ว คดีอาญาจึงระงับ
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลแพ่งและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีนี้มีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเลิกกัน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามา ฟ้องย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยข้อตกลง: สละสิทธิ vs. สัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อความในหนังสือสละมรดกที่ ถ. และโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขว่าต้องสร้างอนุสรณ์สำหรับฝังอัฐิ ฮ. ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่และเจาะจงให้ที่ดินที่เหลือตกแก่ ส.และจำเลยที่1โดยเฉพาะนั้นไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612 และ 1613 เพราะการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเจตนาให้มรดกนั้นตกได้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้ แต่หลังจาก ฮ. ตายแล้วทายาทของ ฮ. ได้เจรจาตกลงกันโดยทำบันทึกข้อตกลงว่าที่ดินของ ฮ. 2 แปลง ถ. มารดาโจทก์ตกลงเอาไว้เป็นของตนก็เพื่อเป็นหลักฐานว่า ถ. และโจทก์สละสิทธิในที่ดินพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 1750 โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-ประนีประนอมยอมความ: สิทธิหน้าที่จะยังคงมีผลบังคับใช้ แม้มีการทำสัญญาใหม่
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะต้อง โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อเมื่อ ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน แต่เมื่อห้างผู้เช่าซื้อ ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด จนโจทก์มอบให้ทนายความ มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไปยังห้างผู้เช่าซื้อแล้ว กลับมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยขึ้น โดยเอาหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยและ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมเข้าเป็นเงินจำนวนเดียวให้จำเลยผ่อนชำระ ต่อไป แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหาได้มีข้อความใด กล่าวถึงรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ไม่ ทั้งปรากฏว่าหลังจากนั้น ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยยังคงครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ ต่อมาอีกด้วย เห็นได้ว่า หากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวจนครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมโอน กรรมสิทธิ์และโอนทางทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่ห้างผู้เช่าซื้ออย่างแน่นอน เพราะมิฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ทำสัญญา ประนีประนอมยอมความดังกล่าวกับโจทก์ การที่โจทก์ยอมให้ ห้างผู้เช่าซื้อและจำเลยครอบครองใช้สอยรถยนต์ที่เช่าซื้อ หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ดี และยอมจะโอน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้ห้างผู้เช่าซื้อเมื่อจำเลย ผ่อนชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ดี ย่อมแสดงว่าคู่สัญญาเช่าซื้อเดิม ยังคงถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้มีเจตนาให้สัญญา เช่าซื้อเลิกไปเสียทั้งหมดคงเปลี่ยนแปลงเฉพาะแต่จำนวนหนี้ ค่าเช่าซื้อและการผ่อนชำระเท่านั้น สัญญาประนีประนอม ยอมความดังกล่าวจึงมิได้ทำให้สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ระงับไปและไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ประกอบมาตรา 852 คงมีลักษณะเป็นเพียงสัญญารับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และหนี้อื่น ๆ ที่ค้างชำระเท่านั้น เมื่อสิทธิและหน้าที่ ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมยังคงมีผลบังคับอยู่ ห้างผู้เช่าซื้อ ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 และโจทก์จะเรียกร้อง เอาค่าเช่าซื้อหลังจากนั้นหาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องตั้งประเด็นตามสัญญาเช่าซื้อ สิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีอยู่เพียงใดจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยได้ สมควรให้โอกาสแก่โจทก์ไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: สิทธิในการฟ้องอาญาและข้อยกเว้นที่โมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด