พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของคณะกรรมการตรวจรับและผู้เบิกจ่ายเงิน กรณีผู้รับเหมาส่งมอบงานล่าช้าและประมาทเลินเล่อ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาโดยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์ช้ากว่าวันเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องถูกปรับตามสัญญาข้อ 10 รวมเป็นเงิน ค่าปรับทั้งสิ้น 268,056 บาท มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดแต่เพียงอย่างเดียว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคท้ายที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" นั้น หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องทราบว่ามีการผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาหรือใบสั่งซื้อแล้วยังยินยอมที่จะรับเอายางแอสฟัลต์นั้นไว้โดยไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิ โจทก์จึงจะหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จากจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเอกสารให้เห็นเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่ง ยางแอสฟัลต์ ให้แก่โจทก์ตามกำหนด กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับ ตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5กระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นคดีต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในข้อเท็จจริงแล้ว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกา ต่อมา แม้ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาข้อเท็จจริงมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทราบว่าจำเลยที่ 1 ส่งของล่าช้า แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสิ่งของล่าช้าในทันทีตามหน้าที่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ แม้จะไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการส่งของล่าช้าหรือมีหน้าที่ในการบอก สงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องตรวจรับยางแอสฟัลต์ให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายทุกประการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จะต้องบันทึกแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออย่างน้อยก็จะต้อง บันทึกแจ้งเหตุไว้ให้ปรากฏเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจะได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกค่าปรับ จากจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่ได้บันทึก แจ้งเหตุไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้นถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมา ในฟ้องแล้ว หาใช่เป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จำเลยที่ 5 เป็นผู้อำนวยการกองการบัญชีและการเงินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยังส่งยางแอสฟัลต์ไม่ครบได้แจ้งกองการพัสดุให้ระงับการคืนหลักประกันของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน จำเลยที่ 5 จึงชอบที่จะระงับหรือชะลอการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน การที่จำเลยที่ 5 ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว หาใช่เป็นผลที่ไกลเกินกว่าเหตุ หรือมิใช่เป็นผลโดยตรงไม่ และจำเลยที่ 5 ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการนัดจ่ายเงินเหลือปีงบประมาณ จะต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้ เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกานั้นเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 แต่เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วม คนหนึ่งได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้วจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการใช้สิทธิยื่นฎีกานี้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงไม่ถูกต้อง สมควรสั่งให้คืนเงิน ค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร: การพิพากษาค่าเสียหายกรณีถูกชนจากรถยนต์ขณะนั่งริมประตูรถไฟ
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟแล้วถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เสียหายเล็กน้อย แต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้ขนสัมภาระถูกรถยนต์ของจำเลยชนขาหักทั้งสองข้าง แม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟจะมีผู้โดยสารแน่จนไม่มีที่นั่ง โจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูตู้ขนสัมภาระ ยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อซึ่งจะทำให้ค่าเสียหายเป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทั้งโจทก์และจำเลย ศาลพิจารณาเหตุแห่งความเสียหายและลดค่าเสียหายตามสมควร
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟแล้วถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เสียหายเล็กน้อยแต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้ขนสัมภาระถูกรถยนต์ของจำเลยชนขาหักทั้งสองข้างแม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟจะมีผู้โดยสารแน่จนไม่มีที่นั่งโจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูตู้ขนสัมภาระยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อซึ่งจะทำให้ค่าเสียหายเป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดินต่อความเสียหายจากการจดทะเบียนโฉนดที่ดินปลอม โดยประมาทเลินเล่อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้กระทำขึ้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 2 จึงมั่นใจและเชื่อโดยสุจริตใจว่าการซื้อขายจะต้องสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการซื้อขายครั้งนี้ จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนการซื้อขายเสร็จแล้วมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ ต่อมาจึงทราบว่าโฉนดที่ดินที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งแปดเป็นของปลอมและเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้ขายที่ดินของตนแต่ประการใดการปลอมบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินโดยโจทก์ไม่ทราบมาก่อน จำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่หรือมิฉะนั้นได้กระทำการในหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยมิได้ตรวจสอบหลักฐานและโฉนดที่ดิน หากมีการตรวจสอบหลักฐานของทางราชการที่มีอยู่โดยเฉพาะโฉนดที่ดินก็ทราบได้ว่าโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่นำมาจดทะเบียนเป็นเอกสารปลอม การกระทำของจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินและเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำหน้าที่โดยมิชอบหรือเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์เสียหายเป็นเงินเท่ากับค่าที่ดินที่โจทก์ทั้งแปดเสียไปอันเป็นความเสียหายจากผลละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยตรงนั้น เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่อย่างไรและได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องนั้นแสดงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกทุจริตต่อหน้าที่ หรือมิฉะนั้นก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นผลให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำหลายประการซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติ ทั้งการประทับตราปลอม หรือการไม่ตรวจเอกสาร อันเป็นการบรรยายในรายละเอียดการปฏิบัติ จึงไม่ขัดแย้งกันฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีความรู้ความชำนาญในวิธีการจดทะเบียนและตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่วางไว้โดยเคร่งครัดตามขั้นตอน ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะลงนามในสารบัญจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1ได้พบข้อพิรุธในเรื่องความสามารถ และในเรื่องอายุของผู้ขายก่อนแล้วอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถนำฉบับที่ราชการรับรองถูกต้องมาตรวจสอบดูได้ นอกจากนี้เมื่อพบข้อพิรุธตั้งแต่เบื้องต้น การตรวจสอบเอกสารย่อมจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังและพินิจพิเคราะห์ให้ละเอียดรอบคอบตามอำนาจหน้าที่ก็สามารถตรวจพบว่า โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินดังกล่าวมิใช่เอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ไม่ตรวจสอบกับโฉนดที่แท้จริงเสียก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่ามีการเสนอขายที่ดินพิพาท โจทก์พอใจแต่ไม่เชื่อใจในความถูกต้องจึงไม่ทำสัญญาวางมัดจำไว้ก่อน แต่ตกลงนัดทำการโอนทีเดียว อันเป็นการเชื่อมั่นต่อการตรวจสอบของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่โจทก์มีส่วนเป็นความประมาทเลินเล่อที่ไม่ทำการตรวจสอบโฉนดที่ดินที่แท้จริงเสียก่อน เพราะต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจะปฏิเสธความรับผิดในเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
เมื่อความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ตามหน้าที่ โดยโจทก์ไม่มีส่วนต้องรับผิดด้วยจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่อย่างไรและได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างไร ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องนั้นแสดงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกทุจริตต่อหน้าที่ หรือมิฉะนั้นก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นผลให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำหลายประการซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปฏิบัติ ทั้งการประทับตราปลอม หรือการไม่ตรวจเอกสาร อันเป็นการบรรยายในรายละเอียดการปฏิบัติ จึงไม่ขัดแย้งกันฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีความรู้ความชำนาญในวิธีการจดทะเบียนและตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่วางไว้โดยเคร่งครัดตามขั้นตอน ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะลงนามในสารบัญจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1ได้พบข้อพิรุธในเรื่องความสามารถ และในเรื่องอายุของผู้ขายก่อนแล้วอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถนำฉบับที่ราชการรับรองถูกต้องมาตรวจสอบดูได้ นอกจากนี้เมื่อพบข้อพิรุธตั้งแต่เบื้องต้น การตรวจสอบเอกสารย่อมจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบยิ่งขึ้น หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังและพินิจพิเคราะห์ให้ละเอียดรอบคอบตามอำนาจหน้าที่ก็สามารถตรวจพบว่า โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินดังกล่าวมิใช่เอกสารที่ถูกต้องแท้จริง ดังนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ไม่ตรวจสอบกับโฉนดที่แท้จริงเสียก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่ามีการเสนอขายที่ดินพิพาท โจทก์พอใจแต่ไม่เชื่อใจในความถูกต้องจึงไม่ทำสัญญาวางมัดจำไว้ก่อน แต่ตกลงนัดทำการโอนทีเดียว อันเป็นการเชื่อมั่นต่อการตรวจสอบของเจ้าพนักงาน จึงมิใช่โจทก์มีส่วนเป็นความประมาทเลินเล่อที่ไม่ทำการตรวจสอบโฉนดที่ดินที่แท้จริงเสียก่อน เพราะต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าพนักงานอยู่แล้ว จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจะปฏิเสธความรับผิดในเหตุดังกล่าวหาได้ไม่
เมื่อความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ตามหน้าที่ โดยโจทก์ไม่มีส่วนต้องรับผิดด้วยจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเจ้าพนักงานจดทะเบียน: ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบเอกสาร ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ซื้อ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้ กระทำ ขึ้น ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ กรม ที่ดินจำเลยที่ 2 จึง มั่นใจ และ เชื่อ โดย สุจริตใจ ว่า การ ซื้อ ขายจะ ต้อง สมบูรณ์ และ ถูก ต้อง ตาม กฎหมาย ซึ่ง การ ซื้อ ขายครั้งนี้ จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้มี อำนาจ ใน ฐานะเจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน การ ซื้อ ขายเสร็จแล้ว มอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา จึง ทราบ ว่า โฉนด ที่ดิน ที่จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ทั้งแปด เป็น ของปลอม และ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ไม่ได้ ขายที่ดิน ของตน แต่ประการใด การปลอม บัตร ประจำตัว ประชาชน สำเนา ทะเบียน บ้าน และ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน โดย โจทก์ไม่ทราบ มา ก่อน จำเลย ที่ 1 กับพวก ได้ ร่วมกัน ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือมิฉะนั้น ได้ กระทำ การ ใน หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ โดย มิได้ตรวจสอบ หลักฐาน และ โฉนด ที่ดิน หาก มี การ ตรวจสอบ หลักฐานของ ทาง ราชการ ที่มี อยู่ โดย เฉพาะ โฉนด ที่ดิน ก็ ทราบ ได้ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ที่นำ มา จดทะเบียน เป็น เอกสาร ปลอมการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ เป็น เจ้าพนักงาน ที่ดิน และ เป็นผู้แทน ของ จำเลยที่ 2 เป็น การ กระทำ หน้าที่ โดย มิชอบ หรือ เป็นการ ประมาท เลินเล่อ อย่าง ร้ายแรง ทำให้ โจทก์ เสียหาย เป็น เงินเท่ากับ ค่าที่ดิน ที่ โจทก์ ทั้งแปด เสียไป อัน เป็น ความ เสียหาย จากผล ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ โดย ตรง นั้น เป็น การ โต้แย้ง สิทธิของ โจทก์ แล้ว โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 มี อำนาจ หน้าที่ อย่างไร และได้ ปฏิบัติ หน้าที่ อย่างไร ซึ่ง การ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง นั้น แสดงว่า จำเลย ที่ 1 กับ พวก ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือ มิฉะนั้น ก็ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ เป็น ผล ให้ โจทก์ ได้ รับความ เสียหาย และ ได้ บรรยาย ฟ้อง ถึง การ กระทำ หลาย ประการ ซึ่งจำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ ปฏิบัติ ทั้ง การ ประทับ ตรา ปลอม หรือ การ ไม่ ตรวจเอกสาร อัน เป็น การ บรรยาย ใน รายละเอียด การ ปฏิบัติ จึง ไม่ ขัดแย้ง กันฟ้อง ของ โจทก์ ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และคำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้อ อ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อ หา เช่น ว่า นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้อง โจทก์ ไม่ เคลือบ คลุม จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าพนักงาน จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม มีความรู้ ความชำนาญ ใน วิธีการ จดทะเบียน และ ตรวจสอบ เอกสาร ต่าง ๆที่ เกี่ยว ข้อง เป็น พิเศษ ซึ่ง จะ ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ข้อ กำหนด และระเบียบ ปฏิบัติ ตาม กฎกระทรวง ที่ วาง ไว้ โดย เคร่งครัด ตาม ขั้น ตอนก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ลง นาม ใน สารบัญ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ขั้นตอน สุดท้าย เมื่อ จำเลย ที่ 1 ได้ พบ ข้อ พิรุธ ใน เรื่อง ความ สามารถ และ ใน เรื่อง อายุ ของ ผู้ขาย ก่อน แล้ว อย่างเห็น ได้ชัดซึ่ง สามารถ นำ ฉบับ ที่ ราชการ รับรอง ถูกต้อง มา ตรวจสอบ ดู ได้ นอกจาก นี้ เมื่อ พบ ข้อ พิรุธ ตั้งแต่ เบื้องต้น การ ตรวจสอบ เอกสาร ย่อมจะ ต้อง ตรวจสอบ ให้ ละเอียด รอบคอบ ยิ่งขึ้น หาก จำเลย ที่ 1 ใช้ความ ระมัดระวัง และ พินิจ พิเคราะห์ ให้ ละเอียด รอบคอบ ตาม อำนาจ หน้าที่ก็ สามารถ ตรวจ พบ ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ดังกล่าว มิใช่ เอกสาร ที่ ถูก ต้อง แท้ จริง ดังนี้ การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วยความ ประมาท เลินเล่อ เป็น เหตุท ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ซึ่ง เป็น ผลโดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 การ ที่ โจทก์ ไม่ ตรวจ สอบ กับ โฉนด ที่ แท้ จริง เสีย ก่อน นั้น เมื่อปรากฏ ว่า มี การ เสนอ ขาย ที่ดิน พิพาท โจทก์ พอใจ แต่ ไม่เชื่อ ใจ ในความ ถูกต้อง จึง ไม่ ทำ สัญญา วาง มัด จำ ไว้ ก่อน แต่ ตกลง นัดทำ การ โอนที เดียว อัน เป็น การ เชื่อมั่น ต่อ การ ตรวจสอบ ของ เจ้าพนักงาน จึง มิใช่ โจทก์มี ส่วน เป็น ความประมาท เลินเล่อ ที่ ไม่ ทำการ ตรวจสอบ โฉนด ที่ดิน ที่แท้ จริงเสีย ก่อน เพราะ ต้อง มี การ ตรวจสอบ โดย เจ้าพนังาน อยู่ แล้ว จำเลย ที่ 1 ผู้ทำละเมิด จะ ปฏิเสธ ความ รับผิด ใน เหตุ ดังกล่าว หาได้ไม่ เมื่อ ความ เสีย หาย เป็น ผล โดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม หน้าที่ โดย โจทก์ ไม่มีส่วน ต้อง รับผิด ด้วย จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม รับ ผิด กับ จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7883/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางวิพากษ์: การชนท้ายจากความเร็วสูงและการประเมินความรับผิดของผู้ขับขี่และผู้ถูกชน
จากสภาพรอยห้ามล้อของรถจำเลยที่ 1 ซึ่งปรากฏบนถนนที่เกิดเหตุมีความยาวถึงประมาณ 8 เมตร แสดงว่าจำเลยที่ 1 ขับรถมาด้วยความเร็วสูง เมื่อมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุมีควันไฟหนา ไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดได้ จำเลยที่ 1 จึงพยายามหยุดรถอย่างแรง ทำให้ล้อรถไถไปตามถนนโดยไม่หมุน ในที่สุดรถของจำเลยที่ 1 พุ่งเข้าชนท้ายรถของโจทก์ซึ่งจอดอยู่บนถนนจนตกไปบนไหล่ทางและเกิดความเสียหายความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถของโจทก์ดังกล่าวจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถด้วยความเร็วสูง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่โจทก์
เมื่อโจทก์ขับรถมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุ เห็น จ. ขับรถฝ่าเข้าไปในควันไฟซึ่งเกิดขึ้นจากไฟไหม้หญ้าข้างทาง เนื่องจากควันไฟดังกล่าวหนาทึบทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดได้เช่นนี้ โจทก์ควรหยุดรถรอให้ควันไฟเบาบางลงก่อนแล้วค่อยขับรถต่อไป แต่โจทก์กลับเสี่ยงภัยขับรถตาม จ. ฝ่าควันไฟเข้าไป จนกระทั่งชนท้ายรถของ จ. ทำให้รถของโจทก์จอดกีดขวางช่องทางจราจร โจทก์จึงมีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหายด้วย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถมายังที่เกิดเหตุด้วยความเร็วสูงทั้ง ๆที่มองไม่เห็นทางจนเป็นเหตุทำให้รถของจำเลยที่ 1 พุ่งเข้าชนท้ายรถของโจทก์อย่างแรงแล้ว ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อมากกว่าโจทก์
เมื่อโจทก์ขับรถมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุ เห็น จ. ขับรถฝ่าเข้าไปในควันไฟซึ่งเกิดขึ้นจากไฟไหม้หญ้าข้างทาง เนื่องจากควันไฟดังกล่าวหนาทึบทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดได้เช่นนี้ โจทก์ควรหยุดรถรอให้ควันไฟเบาบางลงก่อนแล้วค่อยขับรถต่อไป แต่โจทก์กลับเสี่ยงภัยขับรถตาม จ. ฝ่าควันไฟเข้าไป จนกระทั่งชนท้ายรถของ จ. ทำให้รถของโจทก์จอดกีดขวางช่องทางจราจร โจทก์จึงมีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหายด้วย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถมายังที่เกิดเหตุด้วยความเร็วสูงทั้ง ๆที่มองไม่เห็นทางจนเป็นเหตุทำให้รถของจำเลยที่ 1 พุ่งเข้าชนท้ายรถของโจทก์อย่างแรงแล้ว ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อมากกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ช่วยค้ำประกันหนี้กู้ยืม โดยจำเลยที่ 1นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่มีข้อความกรอกไว้มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อและแจ้งว่าถ้ากรอกข้อความไปไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่ดำเนินการให้ โจทก์เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว พร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และโฉนดที่ดินพิพาทให้ไป การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 จะปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโดยกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ก็ตามดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนซื้อขายเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 แล้วจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารจนกระทั่งจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ดังกล่าวโดยตรง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจทำให้การโอนกรรมสิทธิ์เป็นโมฆะไม่ได้ ผู้รับมอบอำนาจซื้อโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ช่วยค้ำประกันหนี้กู้ยืมโดยจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่มีข้อความกรอกไว้มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อและแจ้งว่าถ้ากรอกข้อความไปไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่ดำเนินการให้ โจทก์เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวพร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและโฉนดที่ดินพิพาทให้ไป การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 จะปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโดยกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1มีอำนาจขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ก็ตาม ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนซื้อขายเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 แล้วจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารจนกระทั่งจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ดังกล่าวโดยตรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอนย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้างานต่อการยักยอกเงินของลูกน้อง: ประมาทเลินเล่อในการควบคุมดูแล
คำสั่งงดสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานและคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ต่างเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งของศาลแรงงานไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลแรงงานได้นำเอกสารทั้งชุดที่โจทก์อ้างมาให้จำเลยที่ 2 ตรวจดู และจำเลยที่ 2 รับว่าเอกสารจำนวน 31 แผ่นเป็นระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของโจทก์จริง ศาลแรงงานกลางจึงรับเอกสารดังกล่าวไว้หมาย จ.4 แล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย พยานหลักฐานของโจทก์ที่ระบุเพิ่มเติมเข้าลักษณะเป็นพยานที่ไม่จำเป็นจะต้องสืบ ดังนี้ศาลแรงงานจึงมีอำนาจไม่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้ายประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 อุทธรณ์โจทก์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลแรงงานในการสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์ 3 ปาก ซึ่งจะเบิกความทำนองเดียวกับพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปก่อนแล้วเพราะเห็นว่าเข้าลักษณะพยานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจงดสืบพยานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการสั่งงดสืบพยาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคม รวมทั้งค่าบริการตู้ไปรษณีย์เช่า จำเลยที่ 1 รับเงินค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศและค่าบริการโทรคมนาคมจำนวน1,628,669.90 บาท และรับเงินค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ไว้1,200 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวไป ส่วนจำเลยที่ 2ก็เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่บริหารงานและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระโขนงทั้งหมดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ในการบริหารและควบคุมการปฏิบัติงานทำให้จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินดังกล่าวของโจทก์ไปจำเลยที่ 2มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์และการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์ จึงต่างคนต่างทำละเมิด รวมทั้งเป็นการทำผิดสัญญาจ้างต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ผลแห่งความรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์จึงแบ่งแยกกันได้ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่จะต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์เต็มตามที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินของโจทก์ไป และศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยการประมาทเลินเล่อหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 438 และไม่อาจนำบทบัญญัติ มาตรา 291,296,297และ 301 มาบังคับแก่กรณีของจำเลยทั้งสอง และเมื่อจำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425,427,430มาบังคับแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ศาลยืนโทษจำคุกไม่รอลงโทษ
จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงบนถนนที่ลื่นเพราะผิวจราจรเปียกและมีเศษดินตกอยู่ทั่วไปแล้วแซงรถยนต์คันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนชนรถที่แล่นสวนทางมาเป็นการขับรถด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเมื่อเป็นเหตุให้ผู้ขับและผู้ที่โดยสารอยู่ในรถที่แล่นสวนทางมาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้รับอันตรายสาหัส 4 คน และถึงแก่ความตายในวันเกิดเหตุ 4 คน โดยที่ผู้ได้รับอันตรายสาหัสรายโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นกะโหลกศีรษะแตกร้าวมีเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองและตับแตก จึงสมควรที่จะต้องลงโทษจำเลยในสถานหนัก ส่วนการที่จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแต่เพียงบางส่วนและช่วยออกค่ารักษาพยาบาลให้ฝ่ายผู้เสียหายและโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 นั้น พอถือเป็นเหตุปรานีให้รับโทษสถานเบาได้ แต่ไม่อาจถือเป็นเหตุรอการลงโทษให้ได้เพราะไม่อาจชดเชยกับความสูญเสียและความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เกิดแก่บรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติพี่น้องของผู้ตายและผู้ได้รับบาดเจ็บได้ ทั้งเป็นเรื่องที่จำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งอยู่แล้ว