คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อการคืนเช็คให้บุคคลอื่น การประเมินความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุ
โจทก์นำเช็คของธนาคาร ท. จำนวนเงิน84,000บาทซึ่ง ซ. เป็นผู้สั่งจ่ายฝากเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยจำเลยส่งเช็คฉบับนั้นไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ท. แต่ธนาคาร ท. ปฏิเสธการจ่ายเงินและส่งเช็คฉบับนั้นคืน ต่อมาพนักงานของจำเลยได้คืนเช็คฉบับนั้นให้แก่ผู้ที่พนักงานของจำเลยไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งมาอ้างว่าเป็นลูกจ้างของโจทก์ไปโดยไม่ตรวจสอบดูหลักฐาน ย่อมเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น จำเลยก็ต้องรับผิดในการกระทำของพนักงานของตนแต่การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่ากับจำนวนเงินที่ปรากฏในเช็คฉบับนั้น นอกจากการที่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งแสดงอยู่ในตัวว่ายังห่างไกลต่อการที่คาดหมายได้ว่า โจทก์จะสามารถฟ้องเรียกเงินจาก ซ. ได้เต็มตามจำนวนเงินในเช็คนั้นแล้ว ตามฟ้องโจทก์ได้อ้างแต่เพียงว่าโจทก์ต้องเสียหายเพราะโจทก์ต้องสูญเสียเช็คฉบับนั้นสำหรับที่จะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้อง ซ. ไปเท่านั้น กรณีจึงยังเป็นความเสียหายที่ห่างไกลต่อเหตุทั้งธนาคารจำเลยนำสืบฟังได้ว่า เมื่อโจทก์นำเช็คไปเข้าบัญชีแล้วเพียง 6 วัน โจทก์ก็ทราบว่าเช็คฉบับนั้นถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจึงยังมีทางที่โจทก์จะขอนำสืบพยานบุคคลแทนเช็คที่สูญหายไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ฉะนั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์เสียหายไปแล้วเป็นเงิน 84,000 บาท เท่าจำนวนเงินในเช็คเนื่องจากการที่โจทก์ต้องสูญเสียเช็คพิพาทไปนั้น จึงยังห่วงไกลต่อความเป็นจริงมาก ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้าง ค่าเสียหายประการอื่นๆ ถ้าหากจะมีโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องมาศาลจึงต้องยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่และการประเมินค่าเสียหายจากความสูญเสียในการประกอบอาชีพ
กรณีที่จำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อน การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยประวิงคดีไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่ติดใจนำพยานเข้าสืบนั้นมิใช่เรื่องจำเลยขาดนัดพิจารณาจำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่
แม้จะพิจารณาจากฎีกาของจำเลยที่ขอให้พิจารณาคดีดังกล่าวใหม่ว่าจำเลยมุ่งหมายที่จะให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีแล้วให้จำเลยนำพยานเข้าสืบ แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องโต้แย้งเสียก่อนจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้ก็อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ในข้อนี้ให้จำเลยก็หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ศาลฎีกาย่อมให้ยกฎีกาของจำเลยดังกล่าว
โจทก์เป็นผู้เยาว์ช่วยมารดาขายของ นำของไปเร่ขายวันหนึ่งมีกำไร 10 บาทแม้จะเป็นการช่วยมารดาขายของ ก็เป็นการประกอบอาชีพอันเป็นความสามารถในการประกอบการงานและทางทำมาหาได้ของโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์สามารถขายของมีกำไรวันละ 10 บาท และโจทก์ต้องเสียความสามารถดังกล่าวไปเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ อันเป็นค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และในการคิดค่าเสียหาย ศาลชอบที่จะคิดจากการที่โจทก์เคยมีรายได้วันละ 10 บาทได้ หาใช่ว่าหากก่อนเกิดเหตุโจทก์ไม่ได้ทำงานทุกวัน จะต้องหักวันที่โจทก์ไม่ทำงานออกเสียก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2913/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าสำเร็จรูป: หลอดแก้วบรรจุยาและตัวยาผง การประเมินภาษีถูกต้องตามกฎหมาย
หลอดแก้วบรรจุตัวยานั้นอยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคได้ทันที โดยไม่จำต้องเปลี่ยนหรือดัดแปลงอย่างใดอีก การตัดและเชื่อมปากหลอดแก้วในการบรรจุยา หาใช่เป็นเรื่องการเปลี่ยนสภาพหลอดแก้วให้เป็นอื่นไปไม่ จึงเป็นสินค้าสำเร็จรูป
ตัวยาผงซึ่งอาจใช้หรือรับประทานได้ทันทีตามขนาดที่กำหนดไว้ แม้ประชาชนจะต้องซื้อภายหลังที่ทำเป็นเม็ดหรือละลายเป็นยาฉีดแล้ว และในการทำยาผงให้เป็นเม็ดจะต้องผสมสิ่งอื่นเพื่อให้มีความเหนียวทำให้ตัวยาเกาะแน่น หรือในการทำยาฉีดต้องเอายาผงไปละลายน้ำก่อนก็ตาม ก็หาได้ทำให้ยาผงนั้นเปลี่ยนแปลงไปไม่ ประชาชนทั่วไปและแพทย์ผู้ใช้ยาผงนั้นกับคนไข้อาจผสมหรือละลายยาผงนั้นเพื่อความสะดวกในการอุปโภคและบริโภคเองได้ถ้าประสงค์ และแม้ไม่ผสมกับสิ่งอื่นหรือละลายน้ำก็ยังอยู่ในสภาพที่อาจอุปโภคและบริโภคได้ทันที จึงต้องถือว่าเป็นสินค้าสำเร็จรูป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: การประเมินอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักฟื้น
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ1 ปีครึ่งกระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพยายามทำร้ายผู้อื่น vs. พยายามฆ่า: การประเมินอันตรายที่เกิดจากการกระทำที่เสี่ยง
จำเลยขับรถแซงรถผู้เสียหายขึ้นไปด้วยความเร็ว แล้วหักพวงมาลัยให้ท้ายรถจำเลยปัดหน้ารถผู้เสียหายจนรถยนต์ผู้เสียหายแฉลบไปจนเกือบตกถนนนั้น หากถนนตรงนั้นเป็นที่สูงหรืออยู่หน้าผาสูงชันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ถ้ารถคว่ำลงไปแล้วทั้งรถและคนย่อมถึงซึ่งความพินาศ เห็นผลได้ชัดว่าผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น แม้รถยนต์ผู้เสียหายจะไม่ตกถนนลงไป จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น และไม่จำต้องคำนึงถึงว่าคนนั่งภายในรถจะมีตัวรถป้องกันหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าถนนตรงที่เกิดเหตุสูงจากพื้นนาประมาณ 1 แขน หรือ 1 เมตร ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายขับรถอยู่ในอัตราความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถูกจำเลยเอาท้ายรถปาดหน้ารถผู้เสียหายๆก็แตะเบรครถหยุดทันที และเครื่องดับเอง ล้อรถด้านซ้ายยังห่างขอบถนนอีกราว 1 ศอก ผู้เสียหายไม่ได้รับบาดเจ็บอันใด จึงถือว่าจำเลยมีเจตนาพยายามฆ่าผู้เสียหายให้ถึงตายยังไม่ได้ เพราะถึงหากรถยนต์ผู้เสียหายจะตกลงไปโดยผู้เสียหายนั่งอยู่ภายในตัวรถก็ไม่แน่ว่าจะถึงตาย แต่ก็พอคาดหมายได้ว่าอย่างน้อยผู้เสียหายย่อมได้รับการกระทบกระแทกเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บซึ่งจำเลยก็น่าจะเล็งเห็นผลอันจะเกิดแก่ผู้เสียหายได้ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายผู้เสียหายเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295,80
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 358 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท ตามมาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้บทมาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งมีโทษหนักที่สุดลงโทษมาแล้ว และฎีกาของโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นอีก จึงแก้โทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินลักษณะการกระทำ 'ทรมาน' หรือ 'ทารุณโหดร้าย' ในคดีอาญา มาตรา 289(5)
การที่จำเลยใช้มีดโกนทำร้ายผู้ตาย มีบาดแผล 4 แผลยังไม่พอที่จะส่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการทรมานหรือเป็นการกระทำโดยทารุณโหดร้ายได้. กรณีจึงไม่เข้าลักษณะการกระทำโดยทารุณและโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5). จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: การประเมินเจตนาและเหตุป้องกันตัว
เมื่อจำเลยกับฝ่ายผู้ตายต่างวิวาททำร้ายซึ่งกันและกัน.จำเลยไม่อาจอ้างว่ากระทำเพื่อป้องกันตัว.
จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายขณะชุลมุนกันและในเวลาค่ำมืด.ซึ่งฝ่ายผู้ตายมีมีดและเป็นอาวุธที่ร้ายแรงกว่าจำเลย.แม้จำเลยจะแทงผู้ตายหลายที แต่ก็ไม่มีโอกาสเลือกแทงผู้ตายให้ถูกที่สำคัญได้. เพราะชุลมุนและค่ำมืด ทั้งยังต้องสู้กับพวกผู้ตายอีก. เช่นนี้ จะฟังว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่าไม่ได้. จำเลยคงผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไม่เจตนา.
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนา แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นการฆ่าโดยไม่เจตนา. ศาลลงโทษได้. ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่ากับการทารุณโหดร้าย: การประเมินจากพฤติการณ์ทำร้ายและผลการตาย
จำเลย 5 คนร่วมกันใช้สากตำข้าวไม้ตะบองและลิ่มคอกกระบือเป็นอาวุธรุมตีทำร้ายร่างกายผู้ตายคนละทีสองที และผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกทำร้ายในเวลาต่อมา ดังนี้ เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าเท่านั้น ยังไม่ถึงขนาดจะถือว่าเป็นการทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า vs. ทารุณโหดร้าย: การประเมินความร้ายแรงของการกระทำความผิดฐานฆ่า
จำเลย 5 คนร่วมกันใช้สากตำข้าวไม้ตะบองและลิ่มคอกกระบือเป็นอาวุธรุมตีทำร้ายร่างกายผู้ตายคนละทีสองที และผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะพิษบาดแผลที่ถูกทำร้ายในเวลาต่อมา ดังนี้ เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าเท่านั้น ยังไม่ถึงขนาดจะถือว่าเป็นการทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามทำร้ายร่างกาย: การประเมินอันตรายและการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยยกเท้าซึ่งสวมรองเท้าเงื้อจะถีบผู้เสียหาย แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าถ้าจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วจะเกิดผลอย่างไร ผลธรรมดาอันจะเกิดขึ้นเพราะการถีบจะทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือไม่ไม่อาจเล็งเห็นได้หากจำเลยกระทำไปโดยตลอดแล้วผลที่เกิดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแล้ว ความผิดนั้นก็เป็นเพียงลหุโทษผู้พยายามกระทำความผิดลหุโทษไม่ต้องรับโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยพยายามกระทำให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายแล้ว ก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
การใช้เท้าเงื้อจะถีบไม่เป็นอันตรายต่อจิตใจ เพราะอันตรายต่อจิตใจนั้น ต้องเป็นผลจากการทำร้ายแต่ความรู้สึกว่าถูกเหยียดหยาม เจ็บใจ แค้นใจ เหล่านี้เป็นอารมณ์หาใช่เป็นอันตรายต่อจิตใจไม่
of 13