พบผลลัพธ์ทั้งหมด 263 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการปลอมเอกสารราชการ แม้ไม่ได้ลงมือเองก็มีผิดฐานร่วมกันปลอมแปลง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อและรับเงินจากผู้ต้องการได้ประกาศนียบัตรปลอม กับจดชื่อวันเดือนปีเกิดของผู้นั้นให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไปติดต่อกับคนที่ปลอมเอกสาร เมื่อได้เงินมาก็แบ่งปันกัน ดังนี้ แม้จำเลยทั้งสองมิได้ลงมือกระทำการปลอมเองก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งว่าได้ร่วมกันกับคนที่ทำปลอมขึ้นโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารราชการด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ การกระทำผิดฐานยักยอกและการกระทำความผิดต่างกรรม
โฉนดและหนังสือมอบอำนาจซึ่งผู้เสียหายลงแต่ลายมือชื่อให้ไว้และอยู่ในความครอบครองของสามีจำเลยที่ 1 เมื่อสามีตายได้ตกอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาได้มีการกรอกข้อความปลอม กับปลอมลายมือชื่อนายอำเภอผู้รับรอง และปลอมรอยดวงตราอำเภอลงในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1ที่ 2 ร่วมกันนำไปแสดงเป็นหลักฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อหนังสือมอบอำนาจ ได้ทำการโอนและแก้ทะเบียนโฉนดฉบับหลวงด้วยแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268,252,267 แต่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเป็นการกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 252 ซึ่งเป็นบทหนักแต่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันเอาโฉนดพิพาทซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหายไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และเป็นการกระทำต่างกรรมกับที่จำเลยกระทำมาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามมาตรา 188 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายักยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายักยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานปลอมแปลงเอกสาร เบิกความเท็จ และนำสืบหลักฐานเท็จ: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ และความสมบูรณ์ของฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่าคดีไม่มีมูล ดังนี้ โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานเบิกความเท็จมิได้บรรยายว่าจำเลยเบิกความว่าอย่างไร ที่โจทก์ถือว่าจำเลยเบิกความเท็จในข้อสำคัญในคดี ส่วนในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จก็มิได้บรรยายว่าเหตุเกิดขึ้นเมื่อไร ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
ฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานเบิกความเท็จมิได้บรรยายว่าจำเลยเบิกความว่าอย่างไร ที่โจทก์ถือว่าจำเลยเบิกความเท็จในข้อสำคัญในคดี ส่วนในความผิดฐานนำสืบหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จก็มิได้บรรยายว่าเหตุเกิดขึ้นเมื่อไร ดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิ (ใบเสร็จ) และยักยอกทรัพย์โดยพนักงานของรัฐ ฎีกาชี้ว่าฟ้องสมบูรณ์และมีความผิดตามกฎหมาย
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ แต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "ร.ส.พ." ก็จัดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ.เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานปลอมแปลงเอกสารและยักยอกทรัพย์ โดยองค์กรมีทุนจากรัฐ
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐแต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า"ร.ส.พ." ก็จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ส่วนได้เสียของรัฐในการระหว่างประเทศเป็นสาระสำคัญก่อนพิพากษาคดีปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลอมหนังสือเดินทางของรัฐบาลโปรตุเกสอันเป็นเอกสารเกี่ยวกับส่วนได้เสียของรัฐในการระหว่างประเทศ โจทก์สืบพยานได้ 2 ปาก ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยกระทำต่อเอกสารของรัฐบาลโปรตุเกส ไม่ใช่ของรัฐบาลไทย ไม่เกี่ยวกับส่วนได้เสียของรัฐบาลไทยโดยตรง พิพากษายกฟ้องโจทก์ เอกสารตามฟ้องรัฐบาลไทยจะมีส่วนได้เสียในการระหว่างประเทศหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์ยังมิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เสร็จสิ้น ศาลชั้นต้นสั่งงดเสียก่อน จึงมิชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ รับของโจร และปลอมแปลงเอกสารสิทธิ์ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจร มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 จำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จำคุก 1 ปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่เก็บเงินและได้ออกจากงานไปแล้วก่อนเกิดเหตุ ได้ไปเรียกเก็บเงินค่าหนังสือพิมพ์จากลูกค้าของผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 กรอกข้อความในใบเสร็จรับเงิน และลงชื่อเป็นผู้รับเงิน ลูกค้าของผู้เสียหายหลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไป เป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ์ เพราะใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิ์ และเมื่อจำเลยที่ 1 ใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมดังกล่าวโดยมอบให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมด้วย
จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่เก็บเงินและได้ออกจากงานไปแล้วก่อนเกิดเหตุ ได้ไปเรียกเก็บเงินค่าหนังสือพิมพ์จากลูกค้าของผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 กรอกข้อความในใบเสร็จรับเงิน และลงชื่อเป็นผู้รับเงิน ลูกค้าของผู้เสียหายหลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไป เป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ์ เพราะใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิ์ และเมื่อจำเลยที่ 1 ใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมดังกล่าวโดยมอบให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิ์ปลอมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงต่างจากศาลชั้นต้น และความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานรับของโจรมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 จำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานลักทรัพย์ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา334 จำคุก 1 ปี คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่เก็บเงินและได้ออกจากงานไปแล้วก่อนเกิดเหตุ ได้ไปเรียกเก็บเงินค่าหนังสือพิมพ์จากลูกค้าของผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 กรอกข้อความในใบเสร็จรับเงิน และลงชื่อเป็นผู้รับเงิน ลูกค้าของผู้เสียหายหลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไป เป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิเพราะใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิ และเมื่อจำเลยที่ 1 ใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวโดยมอบให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมด้วย
จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่เก็บเงินและได้ออกจากงานไปแล้วก่อนเกิดเหตุ ได้ไปเรียกเก็บเงินค่าหนังสือพิมพ์จากลูกค้าของผู้เสียหายโดยจำเลยที่ 1 กรอกข้อความในใบเสร็จรับเงิน และลงชื่อเป็นผู้รับเงิน ลูกค้าของผู้เสียหายหลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไป เป็นการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ลูกค้าและผู้เสียหาย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิเพราะใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานแห่งการระงับซึ่งสิทธิ และเมื่อจำเลยที่ 1 ใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวโดยมอบให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงวันเดือนปีในเช็คโดยผู้ทรงหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต ไม่ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสาร หากทำโดยสุจริตและเป็นไปตามเจตนาเดิม
โจทก์ลงวันเดือนปีในเช็คตามเจตนาของผู้สั่งจ่ายที่ขอผัดไม่เป็นการปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007เพราะมิใช่แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ลงในเช็คหากแต่เป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องแท้จริงโดยสุจริต ซึ่งเป็นอำนาจของโจทก์ผู้ทรงที่จะกระทำได้ตามมาตรา 910 วรรคห้า ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย.เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย.เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงวันเดือนปีเช็คโดยผู้ทรงหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต ไม่ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสาร หากเป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องตามเจตนาเดิม
โจทก์ลงวันเดือนปีในเช็คตามเจตนาของผู้สั่งจ่ายที่ขอผัดไม่เป็นการปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1007เพราะมิใช่แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ลงในเช็ค หากแต่เป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องแท้จริงโดยสุจริต ซึ่งเป็นอำนาจของโจทก์ผู้ทรงที่จะกระทำได้ตามมาตรา 910 วรรคห้า ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย. เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย. เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ