พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้ของสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินตามสัญญา
สัญญาแบ่งทรัพย์มรดกมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750.
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์. ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์. และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา. เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดก. จำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้.
ฟ้องบรรยายว่าบรรดาทายาทนำพินัยกรรมไปให้เจ้าพนักงานอำเภอเปิดและยินยอมทำบันทึกประนีประนอมแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมระหว่างทายาท โจทก์ได้ที่ดินแปลงพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์. ดังนี้ เป็นการฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ตามสัญญาแบ่งทรัพย์. และเมื่อทำสัญญาแล้ว โจทก์ก็ครอบครองที่พิพาทตลอดมา. เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอแบ่งมรดก. จำเลยจึงอ้างเอาอายุความมรดกมาบังคับแก่คดีไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียนและผลผูกพันต่อผู้รับโอนทรัพย์ สิทธิเช่ามีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดอายุการเช่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนการเช่า แม้จะเป็นการตอบแทนกับผู้ที่เช่าออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนในกรณีพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่าธรรมดาก็ตาม ก็เป็นบุคคลสิทธิผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันเจ้าของผู้รับโอนตึกนั้นไปภายหลัง
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนด 7 ปี ซึ่งมิได้จดทะเบียนการเช่าแต่แบ่งทำเป็น 3 ฉบับในคราวเดียวกันฉบับละ 3 ปี และฉบับที่ 3 มีกำหนด 1 ปีก็ถือว่ามีผลใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น
จำเลยฎีกาว่าใช้ตึกพิพาทเป็นที่อยู่อาศัย เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 แม้จะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ก็ตาม เมื่อเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกที่ทำขึ้นหลังการแบ่งทรัพย์สินให้บุตรแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ตายได้แบ่งที่พิพาท 2 แปลงให้บุตรทุกคนเป็นส่วนสัดไปแล้ว คงกันที่ไว้ทำกิน 2 แห่ง พินัยกรรมของผู้ตายที่ยกที่ที่กันไว้ทำกินให้จำเลยนั้นเห็นว่าเป็นพินัยกรรมปลอมไม่สมบูรณ์ จึงให้แบ่งที่ที่กันไว้นั้นแก่บุตรทั้ง 6 คน ให้โจทก์ จำเลยได้คนละ 1 ส่วน ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ใช้ได้โดยชอบพิพากษาแก้ให้ที่ที่ผู้ตายกันไว้ทำกินทั้งหมดเป็นของจำเลยถือว่าศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นมาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้พินัยกรรม: การมอบเงินให้กรมการศาสนาเพื่อบำรุงกุศล ไม่เป็นเงื่อนไขทำให้พินัยกรรมมีผล
ข้อความในพินัยกรรมที่สั่งให้ขายทรัพย์ ได้เงินเท่าใดให้มอบให้กรมการศาสนาจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งเป็นมูลนิธิเอาเงินผลประโยชน์บำรุงการกุศล ส่วนเงินที่เหลือกับทรัพย์อื่นยกให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นมิใช่เงื่อนไขซึ่งกำหนดให้พินัยกรรมมีผลใช้บังคับต่อเมื่อเงื่อนไข หรือ ข้อกำหนดตามพินัยกรรมได้ทำสำเร็จแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: โมฆะของนิติกรรมที่ปรากฏ และผลบังคับใช้ของนิติกรรมที่ถูกซ่อน
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่านิติกรรมขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะ โดยอ้างว่านิติกรรมการขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมอำพราง ให้จำเลยรับเงินไถ่ถอนและแก้ทะเบียนที่ดินคืนเป็นของโจทก์ จำเลยให้การว่านิติกรรมขายฝากและสัญญาเช่าเป็นนิติกรรมแท้จริงไม่อำพราง สัญญาเช่าสิ้นอายุแล้วขอให้ขับไล่นั้น เป็นกรณีเกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งจำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508 ประชุมใหญ่)
เมื่อนิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมอันหลังที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ ซึ่งจะสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ก็แล้วแต่บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันหลังนี้
เจตนาลวงที่แสดงออกมาด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่ว่านิติกรรมอีกอันหนึ่งถูกปกปิดไว้หรือไม่ก็ตาม เหตุนี้ การนำสืบพยานตามข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นการนำสืบทำลายข้อความในเอกสารว่า สัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง ซึ่งไม่ห้ามในการที่โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลตามฟ้องโจทก์นั้น (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 295/2508 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะขายฝาก: เจตนาคู่สัญญาและผลบังคับใช้ตามกฎหมาย
น้องชายของจำเลยถูกโจทก์กล่าวหาว่าฉ้อโกงและถูกจับจำเลยได้ตกลงกับโจทก์เพื่อเลิกคดี แล้วไปหาพนักงานสอบสวนเพื่อให้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน พนักงานสอบสวนร่างสัญญาจะขายฝากเพื่อปลดหนี้น้องชายจำเลย โจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ มีข้อความว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินให้โจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วพนักงานสอบสวนเอาสัญญากู้กับสัญญาขายฝากที่น้องชายจำเลยทำให้โจทก์ไว้มาฉีกทิ้งแม้สัญญานี้จะไม่มีข้อกำหนดว่า จะไปทำหนังสือและจดทะเบียนเมื่อใด แต่ได้ระบุว่าค่าธรรมเนียมต่างๆผู้รับซื้อฝากต้องออกเอง แสดงว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาทำสัญญาขายฝากแต่ต้องการให้เป็นเพียงสัญญาจะขายฝากซึ่งจะต้องมีการทำหนังสือจดทะเบียนกันให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเป็นสัญญาจะขายฝากซึ่งมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญแล้ว โจทก์ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบัญญัติกฎหมายเดิมที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมยังคงมีผลบังคับใช้ ศาลต้องพิจารณาตามกฎหมายที่แก้ไข
เมื่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเดิมมิได้ถูกยกเลิกไป เพียงแต่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมและยังคงเป็นบทบังคับอยู่อย่างเก่าแล้ว แม้โจทก์ฟ้องจะอ้างแต่พระราชบัญญัติและมาตราเดิม ไม่อ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทลงโทษด้วยก็ใช้ได้ และถือเป็นหน้าที่ของศาลต้องรู้เองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์ของเจ้าของร่วม: ผลบังคับใช้เฉพาะส่วนของผู้ตายเมื่อยังมีเจ้าของร่วมรายอื่น
การที่เจ้าของร่วมได้ทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์ให้แก่ใคร แม้จะระบุว่า ถ้าเขาทั้งสองตายไปแล้วให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้นั้นก็ดี เมื่อผู้ทำพินัยกรรมคนหนึ่งตาย แม้อีกคนยังอยู่ ก็ย่อมเกิดผลตามพินัยกรรมเฉพาะทรัพย์ส่วนของผู้ที่ตายไปนั้นแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมบิดาโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท เมื่อบิดาตาย โจทก์ก็ได้รับมรดกมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยกับสามี จำเลยกับสามีเพียงแต่ได้ทำพินัยกรรมยกให้บิดาโจทก์ แต่บัดนี้ไม่ประสงค์จะยกให้แล้ว เพราะบิดาโจทก์ตายไปก่อนจำเลยพินัยกรรมจึงไม่บังเกิดผล ดังนี้ เรื่องพินัยกรรมที่จำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ใช้ดุลพินิจให้รวมค่าธรรมเนียมแล้วให้โจทก์จำเลยเสียฝ่ายละครึ่งได้
การที่เจ้าของร่วมในที่พิพาทเข้าทำในที่ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หาเป็นการละเมิดไม่เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะฟ้องขอให้ห้ามหรือเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดไม่ได้ (ที่พิพาทยังไม่ได้แบ่งแยก และเข้าทำเต็มทั้งแปลง)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมบิดาโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท เมื่อบิดาตาย โจทก์ก็ได้รับมรดกมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยกับสามี จำเลยกับสามีเพียงแต่ได้ทำพินัยกรรมยกให้บิดาโจทก์ แต่บัดนี้ไม่ประสงค์จะยกให้แล้ว เพราะบิดาโจทก์ตายไปก่อนจำเลยพินัยกรรมจึงไม่บังเกิดผล ดังนี้ เรื่องพินัยกรรมที่จำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ใช้ดุลพินิจให้รวมค่าธรรมเนียมแล้วให้โจทก์จำเลยเสียฝ่ายละครึ่งได้
การที่เจ้าของร่วมในที่พิพาทเข้าทำในที่ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หาเป็นการละเมิดไม่เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะฟ้องขอให้ห้ามหรือเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดไม่ได้ (ที่พิพาทยังไม่ได้แบ่งแยก และเข้าทำเต็มทั้งแปลง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยบทกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหลังประกาศคณะปฏิวัติ และผลบังคับใช้ของกฎหมายเมื่อประกาศใช้
โดยปกติศาลเป็นผู้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่นโดยเฉพาะ ฉะนั้นเมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดบทกฎหมายใดว่าจะแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เสียแล้ว อำนาจหน้าที่ชี้ขาดนี้จึงตกอยู่ที่ศาลยุติธรรมดังเดิม
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป้นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับ หาใช่เฉพาะแต่เวลาที่ยกขึ้นใช้บังคับ หาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่ เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมีได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรก หาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมีได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม ่ ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่า มาตรา 5 แห่งราชบัญญัติเวนคืน ฯ พ.ศ. 2495 ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113 จึงกระทำได้โดยชอบหาใช่เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญมาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่ อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่.
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยดขึ้นกล่าวอ้าง ก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย.
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป้นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับ หาใช่เฉพาะแต่เวลาที่ยกขึ้นใช้บังคับ หาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่ เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมีได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรก หาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมีได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม ่ ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่า มาตรา 5 แห่งราชบัญญัติเวนคืน ฯ พ.ศ. 2495 ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113 จึงกระทำได้โดยชอบหาใช่เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญมาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่ อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่.
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยดขึ้นกล่าวอ้าง ก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และผลบังคับใช้ของกฎหมายที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ
โดยปกติศาลเป็นผู้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบันอื่นโดยเฉพาะฉะนั้น เมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดบทกฎหมายใดว่าจะแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เสียแล้ว อำนาจหน้าที่ชี้ขาดนี้จึงตกอยู่ที่ศาลยุติธรรมดังเดิม
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับหาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมิได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรกหาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมิได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่ามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนฯ พ.ศ.2496 ชัดแจ้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29. ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113จึงกระทำได้โดยชอบหาใช้เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2504)
ในการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้นเมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับหาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมิได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาแต่เริ่มแรกหาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมิได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม่ฉะนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่ามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนฯ พ.ศ.2496 ชัดแจ้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29. ไม่มีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 113จึงกระทำได้โดยชอบหาใช้เป็นการที่ศาลเองจะมากำหนดให้รัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ใช้บังคับได้อยู่อันเป็นการขัดแย้งกับประกาศคณะปฏิวัติไม่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่มีความสำคัญมากยิ่งนัก และเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยตรง แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างก็สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 33-34/2504)