พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: ผลผูกพันตามระยะเวลาและหน้าที่จดทะเบียน
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยลงวันที่ทำสัญญาคือ12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งกำหนดอายุการเช่าไว้เป็นเวลา 20 ปี 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่า สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี คือมีผลบังคับจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ข้อกำหนดต่าง ๆ ทุกข้อในสัญญาเช่าพิพาทย่อมมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน ดังนี้ ข้อกำหนดให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มีนาคม2536 ตามข้อ 5 และ 6 แห่งสัญญาเช่าพิพาท ย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามตราบเท่าที่สัญญาเช่าดังกล่าวมีผลบังคับได้คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์2539 เช่นกัน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้อาศัยข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าข้อที่ 5 และ 6บอกกล่าวเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้คือไปจดทะเบียนการเช่าตั้งแต่วันที่26 กันยายน 2537 และฟ้องร้องเพื่อการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17มกราคม 2539 ภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าพิพาทซึ่งรวมถึงข้อกำหนดข้อ 5 และ 6ยังมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น จำเลยไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาที่ได้ผูกพันไว้โดยชอบดังกล่าว จึงชอบศาลจะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่านั้นได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาดูแลความปลอดภัยมีผลผูกพัน แม้จะยังมิได้ทำเป็นหนังสือ หากมีการปฏิบัติการตามสัญญาแล้ว
จำเลยเสนอราคาค่าจ้างเหมาดูแลรักษาความปลอดภัยตัวทรัพย์สินบริเวณอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยตอบตกลงสนองรับราคาตามรายละเอียด และเงื่อนไขการจ้างที่จำเลยเสนอและให้จำเลยไปลงนามใน สัญญากับโจทก์พร้อมทั้งให้หาหลักประกันเป็นหนังสือมา ค้ำประกันด้วย แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาว่าสัญญา อันมุ่งจะทำต่อกันนั้นต้องทำเป็นหนังสือ แต่ก่อนที่ทั้งสองฝ่าย จะทำสัญญาเป็นหนังสือ มีเหตุการณ์จำเป็นโจทก์จำเลย จึงตกลงให้จำเลยส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และจำเลยได้ส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ในอาคารดังกล่าวตามข้อตกลงแล้ว ดังนี้ เท่ากับว่าโจทก์ และจำเลยได้ตกลงกันใหม่โดยผ่อนผันไม่ต้องทำสัญญาเป็น หนังสือต่อกันเป็นการชั่วคราว และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมาย บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะจึงถือได้ว่า โจทก์และจำเลยมีสัญญาต่อกันแล้ว โดยมีข้อตกลงตามคำเสนอ และเงื่อนไขการจ้างเดิม ดังนั้น เมื่อพนักงานของจำเลย ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินภายในอาคารที่พัก ได้ตามสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามเงื่อนไขการจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางกฎหมาย: การตกลงให้วินิจฉัยประเด็นสัญญา และผลผูกพันตามคำวินิจฉัย
โจทก์จำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริงกัน และตกลง ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยเอกสารฉบับที่พิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยอันจะตกเป็นโมฆะหรือไม่ หากข้อสัญญาดังกล่าวไม่ตกเป็นโมฆะจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์หากข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะโจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่ต้องมีการสืบพยานกันต่อไป ข้อตกลงเช่นนี้ถือได้ว่ามีลักษณะเป็นคำท้าหรือมีการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 แล้ว หาจำต้องมีข้อความว่าคู่ความตกลงท้ากันหรือให้ถือเอาเป็นประเด็นข้อแพ้ชนะแห่งคดี จึงจะเป็นคำท้าไม่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองในเรื่องจำเลยที่ 1ในฐานะตัวแทนให้สัญญากับโจทก์ในฐานะตัวการว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไขที่กำหนดเรื่องการส่งเงินค่าปุ๋ยแก่โจทก์ในกรณีขายเงินสดขายเงินเชื่อหากมีเงินค้างชำระยอมให้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นตามอัตราที่ตกลงกัน และข้อปฏิบัติในเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อตกลงที่เป็นพันธะผูกพันระหว่างคู่กรณีมิได้เกี่ยวข้องหรือกระทบไปถึงผลประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนโดยทั่วไปเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามฟ้องตามคำท้า โดยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีในประเด็นข้ออื่นที่คู่ความตกลงสละแล้วต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาเดิมผูกพันผู้สืบสิทธิ และระยะเวลาการครอบครองต่อเนื่อง
เดิมที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่งอกริมตลิ่งที่ น้ำท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่ 1493 และ 1494 ของผู้คัดค้านทั้งสอง ปี 2515 ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำขอ รังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 คัดค้านแต่เจ้าพนักงานที่ดินก็ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้คัดค้านทั้งสอง ต่อมา ส. ได้ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ระหว่างพิจารณา ส. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส. ศาลชั้นต้นอนุญาตคดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดย วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เลขที่ 1493 และ 1474จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 การที่ ส.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสองและคัดค้านการ ออกโฉนดที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือมาเป็นการยึดถือเพื่อตนเมื่อปี 2515 แต่ ส.เพิ่งมาฟ้องกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2517 หลังบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียง 2 ปี ส. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดังนี้ระยะเวลาที่ ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 ครอบครองที่ดิน พิพาทนับแต่วันคัดค้านการออกโฉนดที่ดิน จนถึงวันฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้น ต้องถือว่า เป็นการครอบครองแทนผู้คัดค้านทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท สืบสิทธิต่อจาก ส. ผู้ร้องทั้งสองจึงนับเวลาการครอบครองในระหว่างคดีดังกล่าวมารวมเข้ากับเวลาที่ ส. ครอบครองและผู้ร้องทั้งสองครอบครองไม่ได้ เพราะการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีกับเจ้าของที่ดินคู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ต่อ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิใช่คู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน แต่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยสืบสิทธิต่อจากโจทก์ ในคดีก่อน ต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสอง ในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่า ส. ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีจึงไม่ได้ กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ย่อมผูกพันผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งหลังจากศาลฎีกาพิพากษา คดีนั้นแล้วจนถึงวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอคดีนี้ ผู้ร้องทั้งสองเพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำสั่งศาลฎีกา & สิทธิการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์: การทำนิติกรรมขัดคำสั่ง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาให้ บ.โจทก์ในคดีนั้นมีสิทธิ์ซื้อที่ดินคืนจากจำเลย หากจำเลยไม่ยอมขายให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีการะหว่างฎีกาจำเลยขอทุเลาการบังคับ ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกา เมื่อปรากฏว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์กับคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีของศาลฎีกาที่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับคดีโดยมีเงื่อนไขห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในระหว่างฎีกานั้น มีผลบังคับอยู่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อยังไม่มีการยกเลิก คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลย การที่จำเลยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีนี้ดังกล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลฎีกา อีกทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นคดีหลังนี้ให้มีหนังสือแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรีให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้ได้ เพราะเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นในคดีนี้ยกเลิกคำสั่งของศาลฎีกาในคดีแพ่งเรื่องก่อน ซึ่งเป็นคนละคดีกันและถึงที่สุดไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน: ผลผูกพันและความเสียหายจากการผิดสัญญา
แม้ใบสั่งจองบ้านและที่ดินฉบับพิพาทมีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันนับตั้งแต่วันสั่งจองเป็นต้นไปและโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวกันก็ตาม แต่ใบสั่งจองฉบับดังกล่าวได้ระบุราคาขายบ้านและที่ดินดังกล่าวไว้และระบุว่าในวันสั่งจองโจทก์ได้วางเงินจำนวน 100,000 บาท กับระบุถึงค่าโอนกรรมสิทธิ์ไว้ว่าผู้ซื้อและผู้ขายออกฝ่ายละครึ่ง แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยและโจทก์ว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่กันต่อไป ใบสั่งจองบ้านและที่ดินจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย และเงินที่โจทก์วางในวันสั่งจองจำนวน100,000 บาท เป็นเงินมัดจำอันเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาดังกล่าวได้ทำกันขึ้นแล้วทั้งเงินมัดจำนี้ยังเป็นประกันการที่จำเลยและโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินนั้นด้วย ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 377 และ 456 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.การจองบ้านและที่ดินจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนที่ยังไม่มีผลบังคับตามกฎหมายจนกว่าจะได้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเป็นลายลักษณ์อักษร
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้นซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองบ้านและที่ดินและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ได้ เพราะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้เพื่อขายทอดตลาด ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าวตามราคาซื้อขายขณะนั้นซึ่งหากโจทก์จะซื้อบ้านและที่ดินใกล้เคียงกับบ้านและที่ดินดังกล่าวซึ่งมีเนื้อที่ที่ใกล้เคียงกันโจทก์ต้องซื้อบ้านและที่ดินใหม่ในราคาที่สูงกว่าเดิม ดังนี้ การผิดสัญญาของจำเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ และต้องรับผิดในเงินค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์รวมทั้งค่าธรรมเนียมถอนการยึดเป็นความเสียหายซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยผิดสัญญาไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอม และการไม่อุทธรณ์
โจทก์กล่าวอ้างว่า ทนายความของโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนกระทำการนอกเหนือขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน หากโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใด ก็ชอบที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของโจทก์เอง
ทนายโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ซึ่งโจทก์อาจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138 แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
ทนายโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 ซึ่งโจทก์อาจอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวได้หากเข้ากรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 138 แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้วโจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและบุตร
ช. ต้องการแบ่งทรัพย์สินแก่บุตรไว้ก่อนถึงแก่กรรม เนื่องจาก ช. เป็นคนต่างด้าวไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ จึงใส่ชื่อจำเลยบุตรคนหนึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่โจทก์ภรรยาของ ช. กับ ช. ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยมีรายละเอียดระบุให้บุตรคนใดถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวห้องใดและกำหนดค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ค่ารังวัดแบ่งแยกและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้คู่สัญญาที่จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ต่อไปเป็นผู้ออกเอง เพื่อระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ผลของสัญญาทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตามมาตรา 852 โจทก์จึงมาฟ้องเรียกที่ดินและตึกแถวจากจำเลยมาเป็นของโจทก์แต่ผู้เดียวไม่ได้
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 11 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง แต่ก็ได้ให้การไว้แล้วว่าโจทก์และ ช. ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นส่วนสัดเรียบร้อยแล้วตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าบันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ. 11 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรง แต่ก็ได้ให้การไว้แล้วว่าโจทก์และ ช. ได้ตกลงแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นส่วนสัดเรียบร้อยแล้วตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้อง การที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองจำนวนเงินในศาลมีผลผูกพัน และข้อตกลงยกเว้นความรับผิดในกรณีกลฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อร้ายแรงใช้ไม่ได้
จำเลยแถลงต่อหน้าศาลว่าได้รับเงินจากโจทก์ 400,000 บาท ต่อมาจำเลยจะมาอ้างว่าแถลงด้วยความพลั้งเผลอไม่ได้เพราะกระบวนพิจารณาดังกล่าวได้ทำในศาลต่อหน้าโจทก์และจำเลย
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ระบุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่อาจจะมีขึ้นในปัจจุบันหรืออันจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีลักษณะเป็นความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้า จำเลยจะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดในกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายและคืนเงินให้แก่โจทก์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ระบุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่อาจจะมีขึ้นในปัจจุบันหรืออันจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีลักษณะเป็นความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้า จำเลยจะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดในกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 จำเลยจึงต้องชำระค่าเสียหายและคืนเงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความเดิม แม้คำท้าไม่ตรงตามผลพิพากษา และเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงมีอำนาจฟ้อง
คู่ความท้ากันว่า ให้ถือเอาผลคดีถึงที่สุดในคดีแพ่งเป็นข้อแพ้ชนะโดยหากผลในคดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ถือว่าจำเลยคดีนั้นยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้ หากศาลพิพากษาว่าโจทก์ในคดีดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าโจทก์คดีนี้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลยโจทก์ยอมแพ้ คู่ความไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังกล่าวคดีถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและว่าจ้างให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินพิพาทโดยโจทก์คดีนี้ได้ช่วยออกเงินบางส่วนให้จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเมื่อจำเลยชำระหนี้คืนให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินพิพาทคืนให้จำเลย ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์คดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โจทก์เพียงลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น เมื่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไม่ตรงกับคำท้า เพราะศาลฎีกามิได้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่เพราะเหตุที่โจทก์ในคดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง จึงไม่ได้ผลชี้ขาดตามคำท้า ข้อที่ท้ากันย่อมตกไปศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามประเด็นในคดีต่อไป
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว