พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5267/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีการรับชำระภายหลัง ก็ยังคงมีสิทธิบังคับคดีได้
เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมกำหนดให้จำเลยทั้งสี่ผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ภายในกำหนดวันที่ 30 ของทุกเดือนเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2532 เป็นต้นไป หากผิดนัดสองงวดติดต่อกันให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้งวดแรกช้าไป 1 วัน และไม่ได้ชำระงวดที่ 2 จำเลยทั้งสี่จึงผิดนัดสองงวดติดต่อกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ถึง 44,714,520.11บาท และต้องผ่อนชำระทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยให้เสร็จภายใน 5 ปีจำเลยทั้งสี่ผ่อนชำระให้โจทก์เพียง 7 ครั้ง เป็นเงินเพียง 3,500,000บาท การที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสี่อีกต่อมาภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ผิดนัดนั้นย่อมเป็นการบรรเทาภาระหนี้สินของจำเลยทั้งสี่ที่มีอยู่ต่อโจทก์ ซึ่งเป็นผลดีแก่จำเลยทั้งสี่ จำเลยทั้งสี่จะถือเอาเป็นการผูกมัดโจทก์ว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ ทั้งโจทก์ได้คัดค้านปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยทั้งสี่ตลอดมา แม้จำเลยทั้งสี่ได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2533ต่อมาวันที่ 10 กันยายน 2533 โจทก์ก็ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แสดงว่าโจทก์ยังถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสาระสำคัญต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีโดยชอบเมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้มีข้อตกลงก่อนหน้านี้
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแก่โจทก์ จนโจทก์ยอมถอนการยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ ต่อมาจำเลยและบริษัทช. ผู้อาวัล มิได้ชำระเงินตามกำหนดเวลาที่ระบุในตั๋วสัญญาใช้เงิน หนี้ตามคำพิพากษาจึงยังไม่ระงับลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากหนี้ดังกล่าวต่อไปจนถึงวันที่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน และดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ที่จะต้องชำระในคดีนั้นด้วย มิใช่หนี้ที่เกิดขึ้นใหม่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อบังคับคดีอีกจึงเป็นการบังคับคดีโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายและการบอกเลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ตามสัญญาซื้อขายข้าวโพดได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนตามวันแห่งปฏิทินคือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ปรากฏว่าในวันที่ 24พฤษภาคม 2527 ก่อนจะครบกำหนดระยะเวลาโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบทางโทรพิมพ์มีข้อความว่า หากข้าวโพดส่วนที่ยังไม่รับมอบตามสัญญาถูกยกเลิกไปจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,033,333.50 บาท กับมีข้อความตอนท้ายว่า การชำระหนี้เต็มจำนวนต้องกระทำภายในวันที่ 31 พฤษภาคม2527 เท่ากับโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญา แสดงให้เห็นว่าโจทก์ได้ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดและผิดสัญญา แต่ตามสัญญาไม่ได้ระบุว่า หากจำเลยผิดนัดผิดสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นอันเลิกกันทันที ดังนั้น ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ จำเลยมีสิทธิขอชำระหนี้ตามสัญญาได้
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายข้าวโพดเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา ระหว่างที่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยติดต่อขอรับข้าวโพดจำนวน10,000 เมตริกตัน จากโจทก์โดยจำเลยเพียงแต่มีหนังสือถึงโจทก์ว่าจำเลยจะส่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยและเจ้าหน้าที่ของธนาคารไปตรวจสินค้าที่ไซโลเพื่อจำเลยจะขอเบิกเงินจากธนาคารมาชำระค่าข้าวโพดให้โจทก์เท่านั้น ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอชำระราคาข้าวโพดทั้งหมดก่อนที่จำเลยจะมารับมอบข้าวโพดจากโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์และฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปรากฏในเวลาต่อมาว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายข้าวโพดเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา ระหว่างที่โจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญา จำเลยติดต่อขอรับข้าวโพดจำนวน10,000 เมตริกตัน จากโจทก์โดยจำเลยเพียงแต่มีหนังสือถึงโจทก์ว่าจำเลยจะส่งเจ้าหน้าที่ของจำเลยและเจ้าหน้าที่ของธนาคารไปตรวจสินค้าที่ไซโลเพื่อจำเลยจะขอเบิกเงินจากธนาคารมาชำระค่าข้าวโพดให้โจทก์เท่านั้น ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอชำระราคาข้าวโพดทั้งหมดก่อนที่จำเลยจะมารับมอบข้าวโพดจากโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์และฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อปรากฏในเวลาต่อมาว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลฎีกาพิพากษาตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันในสัญญา
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทระบุว่ากรรมสิทธิ์จะตกแก่ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าจะชำระราคาครบถ้วนตามงวด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระราคาตามงวดโจทก์ได้เข้าครอบครองรถยนต์พิพาทนำมาขายทอดตลาด ขายแล้วได้เงินไม่ครบโจทก์จึงเรียกเงินราคาค่ารถยนต์ที่ยังขาดอยู่จากจำเลยที่ 1 ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ดังนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีข้อสัญญาข้อใดกำหนดให้ถือเป็นค่าเสียหาย และจำนวนเงินนั้นก็คือเงินราคารถยนต์ตามสัญญาซื้อขายนั่นเอง จึงจะถือเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและสูงเกินไปไม่ได้ สัญญาระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดต่าง ๆ ตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ใด ๆ ในสัญญา ผู้ซื้อยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนี้เงินราคารถยนต์ที่ขาดก็คือเงินต่าง ๆ ที่กำหนดในสัญญานั้นเอง จำเลยที่ 1ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญาไม่ใช่ร้อยละ 7.5ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขและผลของการผิดนัดชำระหนี้: สิทธิของผู้ขายในการขายทอดตลาดและเรียกเงินขาด
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทมีเงื่อนไขระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบถ้วนตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายย่อมใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 และในสัญญาซื้อขายระบุว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาตามงวด ผู้ขายมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทและย่อมมีสิทธิขายทอดตลาดได้ด้วยและเมื่อขายแล้วได้เงินไม่พอ ผู้ซื้อยอมชดใช้เงินจำนวนที่ขาดอยู่ เมื่อผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาและผู้ขายดำเนินการเอารถยนต์พิพาทออกขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 470 และ 471แล้ว ยังขาดเงินอีก 55,260 บาท ผู้ซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิด เพราะถือว่าเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ และเงินจำนวนดังกล่าวนี้ไม่มีข้อใดในสัญญากำหนดให้ถือเป็นค่าเสียหายจึงมิใช่เบี้ยปรับ สัญญาซื้อขายข้อ 6 วรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดต่าง ๆ ตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ใด ๆ ในสัญญานี้ ผู้ซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เงินจำนวน 55,260 บาท ซึ่งเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ก็คือเงินงวดต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระให้โจทก์ตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้ขายจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากผู้ซื้อได้ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและราคารถยนต์เมื่อรถยนต์สูญหาย
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันรถยนต์ที่เช่าซื้อเอาประกันภัยไว้กับบริษัท ท.โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา และรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไป ข้อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า หากผิดนัดสองคราวติดต่อกันถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จนเป็นเหตุให้มีการเลิกสัญญาอันได้แก่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่จนกระทั่งรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาให้ชดใช้ราคารถยนต์โดยตรงอยู่แล้วส่วนข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ว่า หากเกิดการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ โจทก์จะนำเงินที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยมาใช้ในการซื้อรถยนต์ใหม่ แต่ถ้าค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับไม่พอที่จะซื้อรถยนต์ใหม่ได้ จำเลยที่ 1 ต้องออกเงินใช้จนครบนั้น เป็นข้อตกลงเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก คือโจทก์ได้รับค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการสูญหายของรถยนต์ได้จากบริษัท ท. อีกทางหนึ่งด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ซึ่งสิทธิของโจทก์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่บริษัท ท. ว่าจะถือประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1ดำเนินการขอชดเชยค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท ท. แต่จำเลยที่ 1ไม่ดำเนินการ อาจเป็นเหตุให้บริษัท ท. ยกข้อต่อสู้อันเกิดแก่สัญญาประกันภัยที่มีอยู่ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาต่อสู้โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 การที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้บริษัท ท.ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงมีขั้นตอนและเสี่ยงต่อการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนยิ่งกว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อการสูญหายของรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปโดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามแผนประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ทำให้ศาลมีอำนาจยกเลิกแผนและพิพากษาให้ล้มละลายได้
จำเลยรับว่าจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายไว้เพราะไม่มีเงินมาชำระจนต้องบอกขายที่ดินของจำเลย แต่ก็ยังขายไม่ได้ จึงเป็นกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ ศาลจึงมีอำนาจยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามแผนประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ศาลมีอำนาจยกเลิกและพิพากษาให้ล้มละลายได้
จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายไว้เพราะไม่มีเงินมาชำระเนื่องจากบอกขายที่ดินแล้วยังขายไม่ได้ ศาลย่อมมีอำนาจยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ทำให้ศาลมีอำนาจยกเลิกสัญญาและพิพากษาให้ล้มละลาย
จำเลยรับว่าจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายไว้ เพราะไม่มีเงินมาชำระจนต้องบอกขายที่ดินของจำเลย แต่ก็ยังขายไม่ได้ จึงเป็นกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ ศาลจึงมีอำนาจยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 60
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมสิ่งของ, การผิดนัดชำระหนี้, สัญญาที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์, และความถูกต้องของคำฟ้อง
ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจากโจทก์เพื่อใช้ในการทำใบยาสูบ จำเลยจะทำใบยาสูบเองหรือไม่ไม่ใช่ข้อสำคัญ แม้สัญญายืมสิ่งของดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้แต่ตามพฤติการณ์การให้ยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูกาลทำใบยาสูบ เมื่อสิ้นฤดูกาลแล้วก็ต้องส่งคืนหากใช้ไม่หมด ส่วนที่ใช้ไปแล้วไม่อาจส่งคืนได้ ก็ต้องใช้ราคา ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เป็นเพียงอนุมานจากพฤติการณ์ การที่จำเลยไม่ส่งคืนของที่ยืมเมื่อสิ้นระยะเวลาที่อนุมานจากพฤติการณ์ได้นั้น ก็ยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่กำหนด จำเลยไม่คืน จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดนั้น
สัญญายืมสิ่งของมิได้กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรว่าต้องปิดอากรแสตมป์ สัญญาดังกล่าวแม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร
บรรยายฟ้องว่า จำเลยคืนสิ่งของแก่โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 5,790 บาทต่อมาได้นำเงินมาชำระค่าสิ่งของแก่โจทก์ ยังคงเหลือสิ่งของรวมเป็นเงิน 48,480 บาท แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยคืนสิ่งของรวม 81,870 บาท เมื่อหนังสือบอกกล่าวท้ายฟ้องได้แสดงรายละเอียดของทรัพย์ที่จำเลยยืมโจทก์ไปเป็นเงิน 48,480 บาท ตรงตามคำฟ้อง โดยไม่รวมค่ากรรมกรขนของ คำฟ้องจึงไม่ขัดกันและจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยืมปุ๋ยและของอื่นไปจากโจทก์เพื่อใช้ในการทำใบยาสูบ จำเลยจะทำใบยาสูบเองหรือไม่ไม่ใช่ข้อสำคัญ แม้สัญญายืมสิ่งของดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดเวลาคืนสิ่งของไว้แต่ตามพฤติการณ์การให้ยืมสิ่งของดังกล่าวเพื่อใช้ในฤดูกาลทำใบยาสูบ เมื่อสิ้นฤดูกาลแล้วก็ต้องส่งคืนหากใช้ไม่หมด ส่วนที่ใช้ไปแล้วไม่อาจส่งคืนได้ ก็ต้องใช้ราคา ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เป็นเพียงอนุมานจากพฤติการณ์ การที่จำเลยไม่ส่งคืนของที่ยืมเมื่อสิ้นระยะเวลาที่อนุมานจากพฤติการณ์ได้นั้น ก็ยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่กำหนด จำเลยไม่คืน จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันถัดจากวันที่กำหนดนั้น
สัญญายืมสิ่งของมิได้กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรว่าต้องปิดอากรแสตมป์ สัญญาดังกล่าวแม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 118 แห่งประมวลรัษฎากร
บรรยายฟ้องว่า จำเลยคืนสิ่งของแก่โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 5,790 บาทต่อมาได้นำเงินมาชำระค่าสิ่งของแก่โจทก์ ยังคงเหลือสิ่งของรวมเป็นเงิน 48,480 บาท แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยคืนสิ่งของรวม 81,870 บาท เมื่อหนังสือบอกกล่าวท้ายฟ้องได้แสดงรายละเอียดของทรัพย์ที่จำเลยยืมโจทก์ไปเป็นเงิน 48,480 บาท ตรงตามคำฟ้อง โดยไม่รวมค่ากรรมกรขนของ คำฟ้องจึงไม่ขัดกันและจำเลยก็เข้าใจข้อหาต่อสู้คดีได้ถูกต้อง คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม