คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทโดยผลของกฎหมายและการตั้งผู้ชำระบัญชี
นายทะเบียนบริษัทขีดชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเสียจากทะเบียน และออกแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่โฆษณาแจ้งความดังกล่าว ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1246 (5) ซึ่งเป็นกรณีที่บริษัทเลิกโดยผลของกฎหมาย ไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานถึงเหตุที่จะให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1246(6) บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกลับคืนขึ้นทะเบียนได้
เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทเลิกโดยผลของกฎหมาย: การตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อไม่มีผู้ชำระบัญชีเดิม
นายทะเบียนบริษัทขีดชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเสียจากทะเบียน และออกแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่โฆษณาแจ้งความดังกล่าวตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1246(5)ซึ่งเป็นกรณีที่บริษัทเลิกโดยผลของกฎหมายไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานถึงเหตุที่จะให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1246(6)บริษัทจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจกลับคืนขึ้นทะเบียนได้
เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 วรรคสอง ถ้าศาลเห็นสมควร ศาลย่อมมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ชำระบัญชีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนบริษัทหลังล้มละลาย: ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
นิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ถูกทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีไว้แล้ว ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และมาตรา 1259 ถือว่าเป็นผู้กระทำแทนบริษัทดังกล่าวอยู่แล้ว เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่สภาพการเป็นผู้แทนของบริษัทอย่างเช่นแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 45 ยังมีอยู่ หาได้ขาดผู้เแทนแสดงความประสงค์ขอประนอมหนี้แต่อย่างใดไม่กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 79,80แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งคำขอของผู้ร้องเป็นการขอเป็นผู้แทนเฉพาะการของบริษัทโดยห้ามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำการขัดขวางอำนาจจัดการบริษัทดังกล่าวซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ไม่มีกฎหมายสนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้อง: สัญญาจ้างทำของ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องได้ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจดำเนินคดีแทน
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในฟ้องว่า ซื้อขาย เช็ค แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นเรื่องจ้างทำของก็ต้องถือว่าคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องสัญญาจ้างทำของ เช็คที่โจทก์อ้างมาในฟ้องเป็นเพียงการอ้างถึงหลักฐานแห่งการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของจำเลยที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเท่านั้น
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้แนบสัญญาจ้างทำของหรือบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับเช็คมาในฟ้อง หรือบรรยายรายละเอียดว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำตั้งแต่วันใด กี่คราวบ้าง ก็เป็นเรื่องรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงหาเคลือบคลุมไม่
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่โดยมีช.เป็นผู้จัดการเมื่อจดทะเบียนเลิกห้างแล้วช. เป็นผู้ชำระบัญชีของโจทก์ต่อมาช. จึงมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์เพื่อชำระสะสางการงานของห้างโจทก์ให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249,1250 และ 1252 โดยผู้ชำระบัญชีไม่จำต้องแต่งทนายความให้มาดำเนินคดีใหม่หรือยื่นคำร้องต่อศาลขอเข้าดำเนินคดีแทนห้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเลยการชำระหนี้ก่อนเฉลี่ยคืนเงินให้ผู้ถือหุ้น มีความรับผิดต่อเจ้าหนี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้รู้อยู่แล้วว่าบริษัทลูกหนี้เป็นหนี้บริษัทเจ้าหนี้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้จัดการใช้หนี้ให้บริษัทเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 หรือวางเงินแทนชำระหนี้ตามมาตรา 1264 กลับเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือแก่บรรดาผู้ถือหุ้นไปจนหมด จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1269 แสดงว่าผู้ร้องจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อบริษัทเจ้าหนี้ตาม มาตรา 422
เมื่อหนี้สินระหว่างบริษัทเจ้าหนี้ และบริษัทลูกหนี้ยังไม่ได้รับการชำระสะสางให้เสร็จสิ้นไป การชำระบัญชีของบริษัทลูกหนี้ก็ยังไม่สำเร็จลง และผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทลูกหนี้มิได้วางเงินที่เหลือตามบทบัญญัติว่าด้วยวางทรัพย์สินแทนชำระหนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติเฉลี่ยคืนเงินที่เหลือ การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1270 ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าได้กระทำไปโดยสุจริตตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล การประเมินภาษีจากรายรับเมื่อผู้ชำระบัญชีไม่นำเอกสารมาแสดง และอำนาจกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการไปไต่สวน และสั่งให้นำบัญชีหรือพยานหลักฐานไปแสดงได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ยื่นรายการแสดงรายการแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ แต่หาได้บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินต้องแสดงเหตุอันควรเชื่อดังกล่าวในหมายเรียกด้วยไม่ ส่วนการออกหมายจับหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เจ้าพนักงานผู้ออกหมายต้องระบุเหตุที่ให้จับให้ค้นในหมายด้วยนั้น เป็นคนละกรณีและกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกัน ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินมีหตุควรเชื่อว่าบริษัท ส. จำกัดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องตามความเจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินย่อมหมายเรียกโจทก์ไปไต่สวนและให้ส่งบัญชีกับเอกสารได้ตามบทกฎหมายข้างต้น (โดยมิต้องแสดงเหตุดังกล่าวในหมายเรียก)
เจ้าพนักงานประเมินเรียกให้โจทก์นำบัญชีและเอกสารของบริษัท ส. จำกัดไปทำการไต่สวน โจท์อ้างว่าบัญชีและเอกสารดังกล่าวถูกคนร้ายลักไปพร้อมรถยนต์ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าบัญชีและเอกสารได้หายไปจริง การที่โจทก์ไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงเจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 ของรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตามมาตรา 71(1) จากโจทก์ได้
บริษัท ส. จำกัด ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2518 และโจทก์ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2518 ต่อมาต้นเดือนสิงหาคม 2519 โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้รับหมายเรียกของจำเลยที่ 2 (เจ้าพนักงานประเมิน) ให้ไปยังที่ทำการสรรพากรเขต 4 เพื่อรับการไต่สวนและให้นำบัญชีกับเอกสารประกอบการลงบัญชีของบริษัท ส. จำกัด สำหรับปี 2517 ไปมอบให้ด้วย โจทก์ไม่นำบัญชีและเอกสารดังกล่าวไปมอบให้ ครั้นวันที่ 29 ตุลาคม 2519 จำเลยที่ 2 จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ส.จำกัด สำหรับปี 2517 เพิ่มเติมจากที่ชำระไปแล้วอีกจำนวน 706,527.40 บาท ดังนี้ เมื่อบริษัท ส.จำกัด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 และต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมกับชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวต่ออำเภอภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65, 68 มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ส.จำกัด ปี 2517 จึงเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ก่อนเลิกบริษัท การที่จำเลยที่ 2 อาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 ย่อมทำให้บริษัท ส.จำกัด ไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 คำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 2 จำนวนเงินค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสียตามที่จำเลยที่ 2 ประเมินเรียกเก็บเพิ่มจึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2517 ซึ่งบริษัท ส.จำกัดชำระไว้ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 2 ย่อมประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ผู้ชำระบัญชีภายใน 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดการชำระภาษีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ได้
จำเลยที่ 2 ดำรงตำแหน่งสรรพากรเขต 4 เป็นเจ้าพนักงานประเมินสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 4 ตามมาตรา 16 ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 25 ตุลาคม 2523 มีอำนาจประเมินภาษีรายนี้ และจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สำหรับการประเมินรายนี้ซึ่งกระทำในท้องที่สรรพากรเขต 4 ตามมาตรา 30 (1)(ข) ด้วย ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 หัวหน้าที่ประเมินภาษีรายนี้แล้วก็มีอำนาจเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีกได้ หามีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้หรือให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11 มาใช้ในกรณีไม่
คำสั่งประเมินภาษีจำเลยที่ 2 ทำการประเมินในฐานะสรรพากรเขต 4 จังหวัดอุดรธานี การที่คำสั่งฉบับนี้ลงเลขที่ออกที่จังหวัดขอนแก่นเป็นเพียงวิธีปฏิบัติในทางธุรการ ไม่พอถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการประเมินในฐานะเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่น ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีและอัยการจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและอัยการจังหวัดแห่งท้องที่ซึ่งสำนักงานเจ้าพนักงานประเมินตั้งอยู่ในเขตจึงมีอำนาจเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสมาคมและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี: ผลของโยกย้ายผู้ถูกแต่งตั้ง
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและพิพากษาให้เลิกสมาคมและตั้งผู้ชำระบัญชีตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้ว ผู้คัดค้านจะฎีกาคัดค้านว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีต่างก็ถูกย้ายไปรับตำแหน่งใหม่และมีบุคคลอื่นย้ายมาแทนในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยไม่ปรากฏตามหลักฐานที่ผู้ร้อง และผู้คัดค้านนำสืบในสำนวนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสมาคมและการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคำนึงถึงการโยกย้ายข้าราชการ
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและคำพิพากษาให้เลิกสมาคมและตั้งผู้ชำระบัญชีตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วผู้คัดค้านจะฎีกาคัดค้านว่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีต่างก็ถูกย้ายไปรับตำแหน่งใหม่และมีบุคคลอื่นย้ายมาแทนในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยไม่ปรากฏตามหลักฐานที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านนำสืบในสำนวนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนแบ่งกำไร: สัญญาซื้อขายที่ดิน+หุ้นส่วน, การแบ่งกำไรตามสัดส่วนเงินลงทุน, ผู้ชำระบัญชีที่เป็นกลาง
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยกล่าวไว้ในฟ้องว่า ในการเข้าหุ้นส่วนค้าที่ดินและตึกแถวกันนี้จำเลยตกลงแบ่งกำไรให้โจทก์ร้อยละ 60 จำเลยขายที่ดินและตึกแถวไปหลายห้องไม่แบ่งกำไรให้โจทก์ ขอให้พิพากษาเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนและตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่หุ้นส่วน ศาลได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ ตกลงแบ่งผลกำไรกันเท่าใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกหุ้นส่วนกันหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะแบ่งปันกำไรกันอย่างไรจึงเป็นประเด็นวินิจฉัย ศาลพิพากษาให้แบ่งกำไรกันตามที่พิจารณาได้ความได้
ในชั้นแรก โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยมาดำเนินการตามโครงการของโจทก์นั้น โจทก์ต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยร้อยละ 40 ครั้นเมื่อโจทก์ดำเนินการต่อไปไม่ได้ เพราะขาดทุนหมุนเวียน จนจำเลยต้องเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วยสัญญาเข้าหุ้นส่วนระบุว่าการแบ่งผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับให้เป็นไปตามแนวข้อตกลงของสัญญาซื้อที่ดิน "แนวข้อตกลง"จึงมีความหมายว่าจะต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินร้อยละ 40 อย่างเดิมเสียก่อน กำไรที่เหลืออีกร้อยละ 60 จึงแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนกันตามส่วนของเงินที่ลงหุ้น
โจทก์ขอให้ศาลตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี ถึงแม้จำเลยจะมิได้คัดค้านเกี่ยวกับตัวผู้ชำระบัญชีไว้ แต่จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์จำเลยมิได้เป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธในเรื่องหุ้นส่วนเสียแล้ว ก็ไม่จำต้องกล่าวถึงตัวผู้ชำระบัญชี จะถือว่าจำเลยเห็นชอบให้ ค.เป็นผู้ชำระบัญชีหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยก็ได้อุทธรณ์ฎีกาต่อมาคัดค้านว่าไม่ควรตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี และเป็นทนายโจทก์มีส่วนได้เสียโดยตรงกับโจทก์และไม่มีความรู้ความสามารถในการชำระบัญชี ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้และเห็นว่า เมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจร่วมกันตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ศาลฎีกาจึงตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีต่อไป การชำระบัญชีจะได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่ติดขัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
of 16