พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
เมื่อบริษัทจดทะเบียนแล้วถือว่าเป็น บุคคลมีสิทธิหน้าที่ต่างหากจาก ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้นโจทก์ซึ่งเป็นเพียง ผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงมิได้อยู่ในฐานะ เจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องล้มละลายของผู้ถือหุ้น: ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือเพื่อประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหายบริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169วรรคแรกต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องและเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก. นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก. ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก. และต้องรับผิดต่อบริษัท ก. มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายหาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก. ไม่โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก. จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา9ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังไม่ถูกเพิกถอน มีผลบังคับใช้ได้ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเพิกถอน
แม้ ส. กรรมการของโจทก์เรียกประชุมใหญ่โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการด้วยจะไม่ได้มีมติให้นัดเรียกประชุมใหญ่ การนัดเรียกประชุมใหญ่จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 แต่หาทำให้การประชุมใหญ่และมติที่เกิดขึ้นเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นถึงแม้การเรียกประชุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังผูกพันได้หากศาลยังไม่ได้เพิกถอน
ส. กรรมการของโจทก์ได้เรียกประชุมใหญ่โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการด้วยไม่ได้มีมติให้นัดเรียกประชุมใหญ่ การนัดเรียกประชุมใหญ่จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท แต่หาทำให้การประชุมใหญ่และมติที่เกิดขึ้นเสียไปหรือตกเป็นโมฆะไม่ จนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ต้องถือว่าการนัดเรียกประชุมและการประชุมใหญ่ที่ได้ลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีซึ่งศาลยังไม่ได้พิพากษาเพิกถอน มีผลเป็นการนัดเรียกประชุมและประชุมใหญ่ตามกฎหมายแล้ว มติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชีจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์โดยผู้ชำระบัญชีจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองหยุดประกอบกิจการในนามของโจทก์และส่งมอบเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์ให้แก่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: ผู้ถือหุ้นอื่นมีอำนาจร้องทุกข์ ทำให้คดีขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของบริษัท โดยโจทก์มิได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยไว้ก่อน ดังนี้ เมื่อได้ความว่าก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต. ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์เช่นเดียวกับโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน3 เดือนนับแต่วันที่ ด. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระหลังขายทอดตลาด และการประมูลที่ไม่ขัดกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1125 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขายทอดตลาดหุ้นที่ริบแล้วได้เงินมากกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นต้องรับผิด ก็ให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ถ้ายังมีเงินเหลือเท่าใด ต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนกรณีที่ขายได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้จองซื้อเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106ที่บัญญัติว่า การเข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัทดังนี้ เมื่อจำเลยจองซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และต้องชำระเงินเต็มมูลค่าหุ้นแก่บริษัทโจทก์ แต่ไม่ชำระย่อมเป็นหนี้บริษัทโจทก์ซึ่งมีผลให้บริษัทโจทก์เรียกให้จำเลยชำระได้ดังหนี้ทั่วไป การที่บริษัทโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นที่จำเลยจองซื้อได้เงินเท่าใดก็นำมาหักชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระเงินมูลค่าหุ้นได้ เมื่อยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดอยู่แก่โจทก์ ผู้เข้าสู้ราคาและซื้อหุ้นได้จากการขายทอดตลาดที่บริษัทโจทก์เป็นผู้ขายนั้นเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์เท่านั้นถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 511,512 ที่บัญญัติห้ามผู้ขายทอดตลาด หรือผู้ขายเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงจะมีผลทางกฎหมาย ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งไม่มีสิทธิออกเสียง
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อจำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมดังกล่าว การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญที่กฎหมายกำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกระยะเวลาสิบสองเดือน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติดังเช่นในกรณีเพิ่มทุนและลดทุนของจำเลยนี้ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยจึงมีมติให้ปิดสมุดพักการโอนหุ้นได้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นและการพักการโอนหุ้น: การฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องอาศัยสถานะผู้ถือหุ้นที่ถูกต้อง
ในวันประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 จำเลยยังไม่ได้จดแจ้งการรับโอนหุ้นของโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม โดยจำเลยปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อจะเรียกประชุมวิสามัย* โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเข้าประชุมในฐานะผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1176 และไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ การประชุมวิสามัญครั้งที่ 3/2529 เป็นเพียงการลงมติรับรองมติของที่ประชุมวิสามัญครั้งที่ 2/2529 เป็นมติพิเศษ ซึ่งโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างว่ามีการนัดเรียกหรือประชุมหรือลงมติฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทอย่างไร โจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทำงบดุลและงบกำไรขาดทุนไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นเรื่องที่ได้พิจารณากันในการประชุมครั้งก่อนมาขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมครั้งนี้ไม่ได้ การประชุมวิสามัญเป็นการประชุมใหญ่ครั้งอื่นนอกจากการประชุมสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1171 ซึ่งการประชุมวิสามัญโดยปกติจะเป็นเรื่องรีบด่วนสำคัญที่ต้องให้ที่ประชุมใหญ่วินิจฉัย ไม่อาจรอจนกว่าจะมีการประชุมสามัญได้ และผู้ถือหุ้นอาจต้องออกเสียงลงมติ หากไม่มีการพักการโอนหุ้นก็อาจมีปัญหาในการตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าประชุมและผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ที่ประชุมกรรมการจำเลยมีมติให้ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันใช้แทนจำเลยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์ทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นต้องใช้คะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ การลงคะแนนใหม่หลังทักท้วงเป็นไปตามกฎหมาย
การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเรื่องการเพิ่มทุนของบริษัทซึ่งต้องใช้มติพิเศษ เมื่อที่ประชุมครั้งแรกลงคะแนนเสียงโดยวิธีชูมือผู้ถือหุ้นบางคนทักท้วงการลงคะแนนเสียงและขอให้ลงคะแนนลับประธานที่ประชุมไม่ได้แสดงว่าการลงคะแนนเสียงดังกล่าวเป็นมติที่ผ่านไปแล้วตามข้อบังคับของบริษัท จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมเป็นเด็ดขาด การที่ประธานที่ประชุมให้มีการลงคะแนนเสียงด้วยวิธีชูมืออีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการถอนคำขอให้ลงคะแนนลับแล้วผลการประชุมปรากฏว่า มีผู้ถือหุ้นในที่ประชุมทั้งหมด 78 คนออกเสียงอนุมัติการเพิ่มทุน 63 เสียง จึงเป็นการลงมติในที่ประชุมครั้งแรกด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดแล้ว