พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอันตรายของวัตถุอันตราย และความระมัดระวังของผู้ประกอบการ
น้ำมันเบนซินเป็นวัตถุเกิดอันตรายได้โดยสภาพเช่าตึกเขาขายน้ำมันเบนซินและตั้งเตาเชื่อมของรถ มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ให้เกิดอันตรายในเวลาถ่ายน้ำมันไม่ใช่หน้าที่ความระวังเป็นพิเศษในเวลานำน้ำมันที่ขายมาถ่ายให้ผู้ซื้อที่ร้าน ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง พะยานจักวินิจฉัย การแก้ไขทรัพย์เพื่อป้องกันอันตรายให้ดีขึ้นภายหลังเกิดเหตุ ไม่เป็นเหตุถือว่าเลิ่นเล่อในเวลาเกินเหตุ ศาลอุทธรณ์สัญญาทางพระราชไมตรีอเมริกันบังคับอเมริกันเป็นคู่ความ+ได้ฉะเพาะข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนน้ำมันระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขา ไม่ถือเป็นการขาย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการต่างสถานะ
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรกำหนดให้ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการคำนวณภาษีซื้อและภาษีขายตามมาตรา 82/3 ต้องมีสถานะเป็นบุคคลตามมาตรา 77/1 (1) ซึ่งภาษีซื้อและภาษีขายย่อมต้องเกิดขึ้นจากการขายระหว่างผู้ประกอบการกับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (17) และ (18) เมื่อสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาต่างเป็นสถานประกอบกิจการของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อันอยู่ในฐานะเป็นบุคคลเดียวกัน การโอนน้ำมันจากสำนักงานใหญ่ไปยังสำนักงานสาขาจึงเป็นเพียงการจัดการกิจการภายในของโจทก์เอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่สำนักงานใหญ่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้แก่สำนักงานสาขา และไม่อาจถือได้ว่าเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเรือชนท่าเทียบเรือ: ความรับผิดชอบของผู้กระทำละเมิดและผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ
เมื่อจำเลยที่ 4 ผู้ควบคุมเรือเพ็นนินซูล่าซึ่งมีหน้าที่ตรวจนับสินค้าและผูกโยงเชือกเรือไม่สามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของเรือดังกล่าวได้เองต้องแล่นไปตามที่เรือยนต์จินดา 95 ลากจูงไปที่มี น. เป็นผู้ควบคุม จำเลยที่ 4 จึงไม่ใช่ผู้ควบคุมเรืออันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 437 ผู้ควบคุมเรืออันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลขณะเกิดเหตุคือ น. ซึ่งขับเรือยนต์จินดา 95 ลากเรือลำเลียงเพ็นนินซูล่า เข้าไปในระยะกระชั้นชิดใกล้กับสะพานของท่าเทียบเรือ และเลี้ยวกลับเป็นเหตุให้เรือลำเลียงเพ็นนินซูล่ากระแทกเสาและคานของท่าเรือ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของ น. โดยตรง และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที จำเลยที่ 4 ไม่อาจช่วยเหลือหรือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุได้ จำเลยที่ 4 มิได้มีส่วนประมาท จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีสินค้าไม่ปลอดภัย ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่ากระบวนการผลิตปกติ
พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 4 บัญญัติว่า สินค้าไม่ปลอดภัย หมายความว่า สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือการออกแบบหรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารหอมมะลิบรรจุถุงของจำเลยที่โจทก์ผู้บริโภคซื้อมาจากร้านค้ามีเชื้อราปนเปื้อน จำเลยในฐานะผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ประกอบการจึงมีภาระการพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าหรือการดำเนินการใด ๆ ซึ่งอยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลยตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 29 เมื่อพยานบุคคลฝ่ายจำเลยเบิกความประกอบพยานเอกสารแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนและวิธีการผลิตข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยจนกระทั่งขนส่งให้แก่ลูกค้า จำเลยมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่ตลอดเวลา โดยดำเนินการจัดทำระบบตามหลักการผลิตที่ดีเพื่อเป็นหลักในการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร และระบบควบคุมอันตรายไม่ให้ไปสู่ผู้บริโภคเพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุมการผลิต โดยโรงงานบรรจุข้าวถุงของจำเลยเป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองทั้งสองระบบ ระบบคุณภาพและมาตรฐานต่าง ๆ ได้รับการประเมินตรวจสอบและได้ใบรับรองจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนว่า ผลิตภัณฑ์สินค้าตรามาบุญครองของจำเลยมีความสะอาดและถูกสุขอนามัยโดยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยเพื่อตอบสนองความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ทั้งข้อเท็จจริงยังได้ความอีกว่าข้าวสารบรรจุถุงที่ผลิตในวันเดียวกันกับข้าวสารบรรจุถุงปัญหาที่โจทก์ซื้อไปไม่ปรากฏว่ามีข้าวสารบรรจุถุงที่มีเชื้อราปนเปื้อนอีก แสดงว่าเชื้อราที่ปนเปื้อนไม่ได้เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าหรือการขนส่งของจำเลย
การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีภาระการพิสูจน์ว่า ข้าวสารถุงบรรจุของจำเลยในคดีนี้เสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย นั้น โจทก์ไม่อาจผลักภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวให้แก่จำเลย เนื่องจากการมีเชื้อราปนเปื้อนในข้าวถุงของจำเลยไม่อยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย แต่กลับอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์เท่านั้น ซึ่งเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นในข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่จำเลยไม่อาจทราบได้และไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความเสียหายว่าเกิดจากผู้ประกอบการคนใดอันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 6 เนื่องจากจำเลยสามารถปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าและการขนส่งได้แล้ว ทั้งหากให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับข้าวสารบรรจุถุงเสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย ย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยและอาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันในทางการค้าได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยมิได้เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่ต้องรับผิด พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 7 (1)
การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีภาระการพิสูจน์ว่า ข้าวสารถุงบรรจุของจำเลยในคดีนี้เสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย นั้น โจทก์ไม่อาจผลักภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าวให้แก่จำเลย เนื่องจากการมีเชื้อราปนเปื้อนในข้าวถุงของจำเลยไม่อยู่ในความรู้เห็นเฉพาะของจำเลย แต่กลับอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์เท่านั้น ซึ่งเชื้อราหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นในข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ที่จำเลยไม่อาจทราบได้และไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความเสียหายว่าเกิดจากผู้ประกอบการคนใดอันเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 6 เนื่องจากจำเลยสามารถปลดเปลื้องภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับการผลิตหรือส่วนผสมของสินค้าและการขนส่งได้แล้ว ทั้งหากให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับข้าวสารบรรจุถุงเสียหายเพราะอะไรและใครเป็นผู้ทำให้เสียหาย ย่อมไม่เป็นธรรมแก่จำเลยและอาจนำไปสู่การกลั่นแกล้งกันในทางการค้าได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ข้าวสารบรรจุถุงของจำเลยมิได้เป็นสินค้าไม่ปลอดภัย จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงไม่ต้องรับผิด พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 มาตรา 7 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987-2026/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างเหมาบริการมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์เช่นลูกจ้างประจำ ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 เป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานเป็นพนักงานขับรถและพนักงานคลังสินค้าซึ่งเป็นธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 กรณีจึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11/1 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่าผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของผู้ประกอบกิจการโดยไม่เลือกว่าเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงหรือลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง อันเป็นการกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการให้สิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับตามมาตรา 11/1 วรรคสอง จึงเป็นสิทธิตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 บัญญัติไว้โดยตรง ผู้ประกอบกิจการก็ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงนั้นได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการเช่นเดียวกัน และการกำหนดวันเวลาทำงานอันมีผลกระทบต่อการได้รับเงินค่าตอบแทนถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบกิจการจะเลือกปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการจึงต้องดำเนินการให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 ซึ่งเป็นลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์ในเงินค่าตอบแทนดังกล่าวให้ถูกต้องตามที่จำเลยที่ 1 จัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 โดยต้องดำเนินการให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 ได้รับในส่วนที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างโดยตรงไม่จัดให้หรือจัดให้น้อยกว่าลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่จำเลยที่ 1 จัดให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงของจำเลยที่ 1 ซึ่งหากจำเลยที่ 1 มีหลักเกณฑ์การกำหนดวันเวลาทำงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกัน
สำหรับเงินโบนัสนั้น แม้เป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ แต่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามการประเมินผลงานซึ่งมีการแบ่งเกรด เอ บี ซี และดี และขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกิจการ ถือเป็นการวางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสที่เหมือนกัน ส่วนที่ปรากฏว่าในปี 2553 จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงมากกว่าที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 2 แต่ในปี 2554 จำเลยที่ 1 ก็จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงต่ำกว่าที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 2 จึงหาใช่ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับเงินโบนัสประจำปีในอัตราที่ต่ำกว่าลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงทุกปีไม่ แต่เป็นการได้รับตามหลักเกณฑ์การจ่ายที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้เหมือนกันโดยดูจากผลงานของลูกจ้างและจากฐานผลประกอบการของแต่ละบริษัท ดังนั้นที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึง ที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 ได้รับเงินโบนัสประจำปีในช่วงดังกล่าวตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปีที่เหมือนกันจากจำเลยที่ 2 ถือเป็นการได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
มาตรา 11/1 วรรคสอง บัญญัติให้เฉพาะผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น เฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 11/1 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 และเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้จัดหาโจทก์ดังกล่าวมาทำงานในธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
สำหรับเงินโบนัสนั้น แม้เป็นสิทธิประโยชน์และสวัสดิการ แต่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามการประเมินผลงานซึ่งมีการแบ่งเกรด เอ บี ซี และดี และขึ้นอยู่กับผลประกอบการของกิจการ ถือเป็นการวางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสที่เหมือนกัน ส่วนที่ปรากฏว่าในปี 2553 จำเลยที่ 1 จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงมากกว่าที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 2 แต่ในปี 2554 จำเลยที่ 1 ก็จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงต่ำกว่าที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับจากจำเลยที่ 2 จึงหาใช่ว่าลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้รับเงินโบนัสประจำปีในอัตราที่ต่ำกว่าลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงทุกปีไม่ แต่เป็นการได้รับตามหลักเกณฑ์การจ่ายที่จำเลยทั้งสองกำหนดไว้เหมือนกันโดยดูจากผลงานของลูกจ้างและจากฐานผลประกอบการของแต่ละบริษัท ดังนั้นที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึง ที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 ได้รับเงินโบนัสประจำปีในช่วงดังกล่าวตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปีที่เหมือนกันจากจำเลยที่ 2 ถือเป็นการได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ
มาตรา 11/1 วรรคสอง บัญญัติให้เฉพาะผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้น เฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเท่านั้นที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 11/1 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 12 ที่ 14 ถึงที่ 35 และที่ 37 ถึงที่ 42 และเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้จัดหาโจทก์ดังกล่าวมาทำงานในธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศไม่ใช่ผู้ขนส่งเองแต่เป็นการให้บริการจัดส่ง
ป.รัษฎากร มาตรา 80/1 บัญญัติว่า "ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้... (3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล" แม้สัญญาที่โจทก์ทำกับลูกค้า จะมีข้อกำหนดหน้าที่และความรับผิดระหว่างคู่สัญญาตามลักษณะของสัญญารับขน โดยโจทก์ออกเอกสารที่เรียกว่า Consignment note ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ก็ตาม แต่ลักษณะการประกอบกิจการที่แท้จริงของโจทก์มีลักษณะให้บริการตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เรียกว่า การขนส่งแบบ Door to door กับลักษณะขนส่งเฉพาะส่วนที่เป็นต้นทางเท่านั้นเรียกว่าการขนส่งแบบ Door to port ในส่วนขั้นตอนการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะเพียงผู้ว่าจ้างสายการบินหรือเป็นผู้ว่าจ้างขนส่งเท่านั้น มิได้เป็นผู้ขนส่งเสียเอง เมื่อบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าของโจทก์ประกอบด้วยค่าบริการไปรับ - ส่งสินค้าให้ลูกค้า การบรรจุหีบห่อ การดำเนินพิธีการศุลกากร และค่าระวางพาหนะที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ผู้ขนส่ง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในส่วนการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์มิใช่ผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตนด้วยตนเอง ดังนั้น ลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12873/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริการยึดรถเข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้จ่ายค่าตอบแทนเมื่อยึดรถได้
ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (10) บัญญัติว่า "บริการ" หมายความว่า "การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า..." โจทก์รับจ้างยึดรถที่ผิดสัญญาเช่าซื้อจากบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ กำหนดอัตราค่าจ้างไม่เกินคันละ 200,000 บาท จึงเป็นการกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า ดังนั้น การรับจ้างยึดรถของโจทก์ จึงเป็นบริการอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 77/1 (10) และมาตรา 77/1 (5) บัญญัติว่า "ผู้ประกอบการ" หมายความว่า "บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่" แม้การกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ ผู้ประกอบการก็อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อโจทก์ได้ให้บริการในทางธุรกิจแล้ว การประกอบกิจการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นในการทำสัญญาจ้าง รับเงินค่าจ้างตามสัญญาทั้งหมด แสดงว่าโจทก์กับคณะเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (3) และ (5) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82 (1) โจทก์เป็นผู้จัดการ จึงต้องนำเงินที่ได้รับชำระค่าบริการมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามคณะบุคคล
มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ..." เมื่อค่าจ้างยึดรถตามสัญญาเป็นเงินที่ได้รับจากการให้บริการ จึงเป็นมูลค่าที่ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 โจทก์ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลมีหน้าที่จะต้องจัดการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนที่จะแบ่งส่วนแก่บุคคลอื่นในคณะบุคคล ส่วนที่โจทก์จะนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่บุคคลอื่นในคณะบุคคลและบุคคลอื่นที่ร่วมงานกับโจทก์ก็เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งวิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่นำค่าใช้จ่ายมาหักแต่อย่างใด เพราะเป็นการคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลอื่นในการทำสัญญาจ้าง รับเงินค่าจ้างตามสัญญาทั้งหมด แสดงว่าโจทก์กับคณะเป็นผู้ประกอบการตามมาตรา 77/1 (3) และ (5) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82 (1) โจทก์เป็นผู้จัดการ จึงต้องนำเงินที่ได้รับชำระค่าบริการมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในนามคณะบุคคล
มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ..." เมื่อค่าจ้างยึดรถตามสัญญาเป็นเงินที่ได้รับจากการให้บริการ จึงเป็นมูลค่าที่ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 โจทก์ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลมีหน้าที่จะต้องจัดการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนที่จะแบ่งส่วนแก่บุคคลอื่นในคณะบุคคล ส่วนที่โจทก์จะนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นให้แก่บุคคลอื่นในคณะบุคคลและบุคคลอื่นที่ร่วมงานกับโจทก์ก็เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ซึ่งวิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่นำค่าใช้จ่ายมาหักแต่อย่างใด เพราะเป็นการคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งแร่ต่อการกระทำความผิดของลูกจ้าง กรณีมิได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ
แม้ผู้ร้องที่ 1 เคยรับจ้างขนแร่ให้แก่บริษัท จ. มาก่อน และไม่เคยถูกจับกุม แต่ก็มิใช่ว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับการขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจะไม่เกิดขึ้น การที่ผู้ร้องที่ 1 กำชับให้จำเลยตรวจสอบใบอนุญาตให้ถูกต้องแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องที่ 1 ทราบว่าอาจมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นได้ และการกำชับดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการควบคุมเบื้องต้นซึ่งเป็นเรื่องภายในระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องที่ 1 ยังมีหน้าที่ต้องคอยควบคุมดูแลมิให้จำเลยขนแร่โดยไม่มีใบอนุญาตขนแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย การที่ผู้ร้องที่ 1 ปล่อยปละละเลยให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้องที่ 1 นำรถพ่วงของกลางไปบรรทุกแร่ โดยเป็นผู้ตรวจสอบใบอนุญาตขนแร่เองทั้ง ๆ ที่จำเลยไม่รู้ว่าใบอนุญาตขนแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมายมีลักษณะอย่างไร ถือได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดขนแร่โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเกิดขึ้นอีกด้วย จึงให้ริบรถพ่วงของกลางและยกคำร้องของผู้ร้องที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10906/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มในสัญญาจ้าง: การตีความเจตนาคู่สัญญาและหน้าที่ทางภาษีของผู้ประกอบการ
ตามสัญญาจ้างไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าภาษีมูลค่าเพิ่มรวมไว้กับราคาค่าจ้าง ทั้งจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาก็ตรงกับใบเสนอราคา โดยใบเสนอราคามีข้อสังเกตระบุว่า ราคานี้ไม่รวมภาษี จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ามีข้อตกลงให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในจำนวนเงินค่าจ้างด้วย
ในส่วนงานว่าจ้างตกแต่งเพิ่มเติมอาคารสำนักงานใหญ่ งานติดตั้งโคมไฟฟ้า และตกแต่งอาคารสำนักงานที่จังหวัดเชียงใหม่ จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเลยหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ร้อยละ 3 หากมีข้อตกลงให้ภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในค่าจ้างด้วย จำเลยก็น่าจะแยกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มออกต่างหากจากจำนวนเงินที่จะนำมาคำนวณเพื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังกล่าว ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่จัดทำและออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีขาย ส่วนจำเลยก็มิได้เรียกเอาใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นหลักฐานนำไปใช้เป็นภาษีซื้อ แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 82 บัญญัติให้ผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย
ในส่วนงานว่าจ้างตกแต่งเพิ่มเติมอาคารสำนักงานใหญ่ งานติดตั้งโคมไฟฟ้า และตกแต่งอาคารสำนักงานที่จังหวัดเชียงใหม่ จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเลยหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ร้อยละ 3 หากมีข้อตกลงให้ภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในค่าจ้างด้วย จำเลยก็น่าจะแยกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มออกต่างหากจากจำนวนเงินที่จะนำมาคำนวณเพื่อหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังกล่าว ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่จัดทำและออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีขาย ส่วนจำเลยก็มิได้เรียกเอาใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นหลักฐานนำไปใช้เป็นภาษีซื้อ แม้ ป.รัษฎากร มาตรา 82 บัญญัติให้ผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยต้องเป็นผู้ประกอบการตู้เพลงคาราโอเกะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหาย ด้วยการนำตู้เพลงคาราโอเกะเพลงซึ่งบรรจุแผ่นเพลง แผลเป็นวันวาเลนไทน์ อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่มารับประทานอาหารในร้าน อันเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณะชนเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย เมื่อจำเลยปฏิเสธว่า ตู้เพลงคาราโอเกะดังกล่าวเป็นของนาย ธ. บุคคลอื่นที่เช่าพื้นที่ในร้านอาหารจากจำเลยเพื่อประกอบกิจการโดยจำเลยได้ค่าเช่าเป็นรายเดือน และคดีได้ความเพียงว่ามีการเปิดเพลงซึ่งเป็นงานดนตรีกรรมของผู้เสียหายจากตู้เพลงในร้านของจำเลยให้ลูกค้าฟังและร้องตาม โดยที่โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ข้อเท็จจริงว่า นาย ธ. เป็นเจ้าของตู้เพลงคาราโอเกะและเป็นผู้บรรจุเพลงที่ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเพลงของผู้เสียหายหรือไม่ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการตู้เพลงคาราโอเกะที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตามฟ้องโจทก์