คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ให้เช่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 208 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิของผู้เช่าเดิม
โจทก์ทำสัญญารับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จากผู้เช่าเดิมโดยผู้ให้เช่ามิได้ตกลงยินยอมด้วย เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทแม้ศาลจะพิพากษาให้ผู้เช่าเดิมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี หาผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ให้เช่าไม่
กรณีผู้เช่าหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันโดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 543 ได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ให้ศาลวินิจฉัยไว้ซึ่งแสดงว่าถ้าต่างคนต่างแย่งการเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างรายกันแล้ว คู่กรณีย่อมจะมาฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าตนมีสิทธิการเช่าดีกว่าคนอื่นได้แต่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่ถูกต้อง และยังมิได้เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากผู้ให้เช่า ย่อมไม่มีทางที่จะฟ้องขอให้แสดงว่า โจทก์มีสิทธิการเช่าได้ ดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543 บัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิได้รับโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทจากผู้เช่าเดิมดีกว่าจำเลย โจทก์มีสิทธิจะทำสัญญาเช่าตึกพิพาทกับผู้ให้เช่าได้ก่อนจำเลยและขอให้บังคับจำเลยถอนคำร้องโต้แย้งคัดค้าน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ให้เช่าได้อนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยและสิทธิการเช่าตึกพิพาทได้โอนไปยังจำเลยโดยถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้อง
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานในวันพุธที่ 12 และนัดฟังคำพิพากษาวันศุกร์ที่ 14 เดือนเดียวกัน ถือว่ามีเวลาพอที่คู่ความจะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้มีการพิจารณาสืบพยานต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถเช่าซื้อ: แม้ผู้เช่าใช้รถในธุรกิจ แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
เมื่อทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทแล้ว จำเลยเอารถมาใช้รับส่งเด็กนักเรียนของจำเลยได้เขียนเครื่องหมายอักษรย่อชื่อโรงเรียนไว้ที่กระจกท้ายรถตลอดมา จนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปยึดเอามา แต่ที่กระจกหน้ารถมีกระดาษวงกลมของนายทะเบียนยานพาหนะระบุชื่อผู้เป็นเจ้าของรถและทะเบียนรถมีอยู่ที่กองทะเบียนยานพาหนะก็ลงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถดังนี้ แม้รถจะอยู่ในความครอบครองหรืออำนาจสั่งการในธุรกิจของจำเลยด้วยความยินยอมของผู้ร้อง ตามพฤติการณ์ยังไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถ เพราะป้ายทะเบียนวงกลมของนายทะเบียนยานพาหนะยังแสดงให้ประจักษ์แก่คนทั้งหลายว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถส่วนตราอักษรชื่อย่อของโรงเรียนเขียนไว้ที่กระจกด้านหลังรถก็เป็นเพียงแสดงให้รู้ว่าเป็นรถรับส่งนักเรียนโรงเรียนใดเท่านั้นไม่ได้ระบุว่าโรงเรียนเป็นเจ้าของรถ แม้ที่รถมีทั้งป้ายวงกลมของกองทะเบียนและตราอักษรย่อชื่อโรงเรียนดังกล่าวอยู่ด้วยผู้เห็นจะต้องเข้าใจว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถมากกว่าจะคิดว่าโรงเรียนเป็นเจ้าของและที่ผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของรถอันแท้จริงยอมให้รถอยู่ในความครอบครองใช้สอยของจำเลย ก็เกิดจากสัญญาเช่าซื้อพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยผู้ล้มละลายเป็นเจ้าของรถพิพาทอันจะทำให้รถพิพาทตกเป็นทรัพย์สินในกองล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ: แม้ผู้เช่าใช้รถในธุรกิจ แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ
เมื่อทำสัญญาเช่าซื้อรถพิพาทแล้ว. จำเลยเอารถมาใช้รับส่งเด็กนักเรียนของจำเลย. ได้เขียนเครื่องหมายอักษรย่อชื่อโรงเรียนไว้ที่กระจกท้ายรถตลอดมา จนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปยึดเอามา. แต่ที่กระจกหน้ารถมีกระดาษวงกลมของนายทะเบียนยานพาหนะระบุชื่อผู้เป็นเจ้าของรถ. และทะเบียนรถมีอยู่ที่กองทะเบียนยานพาหนะก็ลงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถ.ดังนี้ แม้รถจะอยู่ในความครอบครองหรืออำนาจสั่งการในธุรกิจของจำเลยด้วยความยินยอมของผู้ร้อง ตามพฤติการณ์ยังไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถ เพราะป้ายทะเบียนวงกลมของนายทะเบียนยานพาหนะยังแสดงให้ประจักษ์แก่คนทั้งหลายว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถ. ส่วนตราอักษรชื่อย่อของโรงเรียนเขียนไว้ที่กระจกด้านหลังรถก็เป็นเพียงแสดงให้รู้ว่าเป็นรถรับส่งนักเรียนโรงเรียนใดเท่านั้น. ไม่ได้ระบุว่าโรงเรียนเป็นเจ้าของรถ. แม้ที่รถมีทั้งป้ายวงกลมของกองทะเบียนและตราอักษรย่อชื่อโรงเรียนดังกล่าวอยู่ด้วย. ผู้เห็นจะต้องเข้าใจว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถมากกว่าจะคิดว่าโรงเรียนเป็นเจ้าของ. และที่ผู้ร้องผู้เป็นเจ้าของรถอันแท้จริงยอมให้รถอยู่ในความครอบครองใช้สอยของจำเลย ก็เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ. พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมไม่ทำให้เห็นว่าจำเลยผู้ล้มละลายเป็นเจ้าของรถพิพาท. อันจะทำให้รถพิพาทตกเป็นทรัพย์สินในกองล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927-1957/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้ให้เช่าไม่ผูกพันต่ออายุสัญญา แม้ผู้เช่าแสดงเจตนาขอเช่าต่อ สัญญาต่างตอบแทนมีกำหนดเวลา 3 ปี
ข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า เมื่อหมดอายุสัญญาเช่านี้ผู้เช่ามีความประสงค์เช่าต่อต้องทำหนังสือสัญญาเช่ากันใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันหมดอายุสัญญาเช่า หากพ้นกำหนดผู้เช่าไม่ไปทำสัญญาเช่าต่อ ถือว่าผู้เช่าสละสิทธินั้น หาได้มีความหมายว่า โจทก์จะต้องยินยอมให้จำเลยทำสัญญาต่ออายุการเช่าใหม่ไม่ เพราะไม่มีข้อความแสดงว่าผู้ให้เช่าจำต้องยอมให้ผู้เช่าทำการเช่าตามกำหนดเวลาและเงื่อนไขของสัญญาเดิมแต่อย่างใด. ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อ แม้จำเลยจะได้แจ้งความประสงค์ต่อโจทก์แล้วก็ตาม
แม้สัญญานี้จะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยมิได้แสดงให้ศาลเห็นว่าสัญญาต่างตอบแทนรายนี้มีกำหนดเวลาการเช่าเกินกว่า 3 ปี สัญญาต่างตอบแทนนี้จึงมีกำหนดเวลาเพียง 3 ปี เท่าที่ปรากฏในสัญญาเช่านั้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงและผลกระทบจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเดิม สิทธิในการเรียกร้องค่าเช่าของผู้ให้เช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ. โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง. ก่อนคดีนี้จำเลยที่2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น.ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่. คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา. โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด. การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท. โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา. โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่. จึงไม่เป็นการนอกประเด็น. และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน.
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญา. แม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ.ครบกำหนดแล้วซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์. ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน. และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน. เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ. ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์. แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น. นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน. คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย. ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย.ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247,243.
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ. ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2,3. อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์. สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน. เพราะเป็นหนี้คนละราย. แม้จำเลยที่ 2,3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2502.อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม. แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่. เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย. แม้สัญญาสิ้นกำหนด. แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง. ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา. ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว. จำเลยที่ 1ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์.
เมื่อจำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก. จำเลยที่ 2,3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม. อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด. แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่. ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง. ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท. ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา. โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเดิม. จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา. คือเดือนละ 37.50บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า.
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท. นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า. เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง. ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย. ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้.
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น. ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด. โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1. แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่.คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วันโจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป. เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว. คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น. ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998-1000/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าและการฟ้องขับไล่: การส่งค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าเดิมไม่ถือเป็นการชำระหนี้ที่ถูกต้องต่อผู้รับโอนสิทธิ
ตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้ให้เช่าเดิม จำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องนำเงินค่าเช่าไปชำระให้แก่โจทก์ ฉะนั้น การที่จำเลยส่งค่าเช่าไปชำระแก่โจทก์และทนายโจทก์ทางธนาณัติโจทก์และทนายโจทก์ไม่ยอมรับ ถือได้ว่าจำเลยยังมิได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบ
เมื่อจำเลยตกเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 คราวติดกัน เมื่อโจทก์ได้ให้ผู้แทนบอกกล่าวเลิกการเช่า จำเลยไม่ออกไป โจทก์จึงฟ้องขับไล่ได้
ในคดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การเช่าของจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ เห็นได้ว่าศาลในคดีนั้นมิได้วินิจฉัยหรือชี้ขาดในเรื่องค่าเช่า โจทก์จึงฟ้องคดีนี้เรียกค่าเช่าที่ค้างได้
จำเลยมีหน้าที่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิในค่าเช่าไป การที่จำเลยชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม จึงจะยกเป็นข้อต่อสู้ไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์หาได้ไม่
ข้อที่ว่าสัญญาเช่าได้เปลี่ยนแปลงแล้วเพราะที่ปฏิบัติมา เจ้าของผู้ให้เช่าเป็นผู้มาเก็บค่าเช่าเองโดยมิได้ถือเอาตามสัญญา จำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงอันนี้ขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และฟ้องก็ไม่ได้บรรยายว่าผู้ให้เช่าเป็นผู้ไปเก็บค่าเช่าเองจริง จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์พ้นระยะเวลา 3 ปี สัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่ามีสิทธิขายได้
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปี โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า(จำเลย)โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า (โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษ ผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไป จึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่ คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไป แต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้ว จึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กัน ฉะนั้น การที่จำเลย(ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าไม่ยอมออก ไม่ถือเป็นการต่อสัญญาใหม่
เมื่อสัญญาเช่าครบอายุแล้ว ผู้ให้เช่าได้เตือนให้ผู้เช่าออกจากที่ดินที่ให้เช่าหลายครั้ง ผู้เช่าไม่ยอมปฏิบัติตาม ถือไม่ได้ว่าได้มีการทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จำเลยที่เข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าโดยไม่สุจริต และอำนาจโจทก์ในการขอให้ผู้ให้เช่าเข้าร่วมเป็นโจทก์
ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องพิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้อื่นซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ร่วม จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่โจทก์เช่าห้องรายพิพาทจากผู้ให้เช่าแล้วเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าไม่ได้โดยมีผู้ขัดขวาง โจทก์หามีสิทธิจะฟ้องขับไล่โดยลำพังตนเองไม่ แต่ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 และเมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้โดยได้ขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 676 ถึง 689/2498)
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวแต่ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
ในชั้นแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้อ้างเหตุความจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ขึ้นมาศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างเหตุว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าห้องรายพิพาทมาจากผู้ให้เช่า แต่โจทก์เข้าครอบครองห้องพิพาทไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หากศาลไม่เรียกเจ้าของห้องเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย หากโจทก์แพ้คดีโจทก์จะไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากใครได้ ดังนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งใหม่และสั่งอนุญาตให้หมายเรียกเจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสินสมรส การโอนสิทธิเช่าต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสและผู้ให้เช่า
สิทธิการเช่าซึ่งได้แก่สิทธิที่จะได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งหญิงมีสามีได้มาระหว่างสมรส ย่อมเป็นสินบริคณห์ ซึ่งภรรยาถ้าทำการผูกพันสิทธิการเช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีแล้ว สามีอาจบอกล้างเสียได้ แต่จะต้องไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ให้เช่าด้วย เพราะสิทธิการเช่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย และสัญญาเช่า
การที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าได้สิทธิการเช่ามาในระหว่างสมรส และโอนสิทธิการเช่าให้บุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่ายินยอมด้วย ในเมื่อการเช่าทรัพย์เป็นสิทธิเฉพาะตัว ถ้าภรรยาซึ่งเป็นผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าต่อผู้ให้เช่าแล้ว สามีย่อมบอกล้างการบอกเลิกสัญญานั้นไม่ได้ ฉะนั้น สามีย่อมจะบอกล้างการโอนการเช่าดังกล่าวเพื่อให้กลับมีสภาพคงคืนตามสัญญาเช่าเดิมก็ไม่ได้ดุจกัน
of 21